วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 3 : จะรู้ไง ว่าเรากำลังเป็นเบาหวาน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


“ทำไมนะ ช่วงนี้เป็นแผลทีไร หายช้าจัง น้ำตาลในเลือดเราน่าจะเย้อะ แน่เลย เราเป็นเบาหวาน เข้าให้แล้ว” เราบางคนเคยมีอาการเช่นนี้แล้วกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ระทมทุกข์จนกินมากจนอ้วนเผละจากที่ไม่ได้เป็น ก้อกลับมาเป็นและอาการก้อแย่ลงไปอีก
เบาหวานทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้อย่างไร?
จากตอนที่ผ่านมา เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ส่วนอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากร่างกายเรา ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง อย่างเช่นในภาวะปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายกลับไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาก้อคือทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ครานี้หล่ะครับจะเกิดอาการทั้งหลายที่จะเล่าให้ฟังต่อไปตามมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ทำไมหล่ะ น้ำตาลสูงๆในเลือดก้อดีแล้วไม่ใช่เหรอ พลังงานเยอะดี
ไม่หยั่งงั้นซิครับ เพราะถ้าเปรียบร่างกายเราเป็นรถยนต์ เรากินอาหารเข้าไป เปรียบเสมือนเติมน้ำมันเต็มถัง พอรถวิ่ง น้ำมันก้อถูกนำไปเผาไหม้อย่างมีประสิทธิภาพให้รถวิ่ง แต่ทว่าน้ำมันที่เคยใส กลับข้นหนืดขึ้น เปรียบได้กับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเกินพอดี น้ำมันในระบบเครื่องยนต์ก็จะมีความหนืดขึ้น ระบบสูบฉีดก้อจะยิ่งทำงานหนัก ปั๊มหัวใจที่เคยเบาสบาย กลับต้องทำงานหนักขึ้น ท่อน้ำมัน ที่เปรียบได้กับหลอดเลือดก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น  ครานี้หล่ะน้ำตาลไปหวานเชื่อมตรงไหน อุดตรงไหน อาการผิดปกติต่างๆ ก้อจะโผล่ออกมาให้เราได้รับรสของโรคเบาหวานตรงอวัยวะนั้นๆที่ทำงานผิดปกติไป
งั้นบอกทีซิว่า อาการเบื้องต้นของเบาหวานมีอะไรบ้าง?
จากต้นเหตุที่เล่ามา โรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นให้เราได้สังเกตุ ดังนี้
1.           ปวดปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น ไปห้องน้ำบ่อยมากๆ แต่ทำไม ไม่สุดซักที ทำให้ต้องไปมาหลายรอบ ยิ่งเป็นตอนดึกนะ แทบไม่ได้หลับนอนเลย หลับไปได้นิดนึง เดี๋ยวลุกขึ้นมาฉี่ เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆ มีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
2.           ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น ที่ตามมาน่ากังวลกว่า คือทำให้เราพักผ่อนน้อย นอนไม่เต็มที่ ภูมิต้านทานลดลง ความวิตกกังวลเรื่องการนอนไม่หลับ ยิ่งมาซ้ำเติมใหญ่
3.           กระหายน้ำอย่างมาก และต้องดื่มน้ำในปริมาณมากๆ ต่อครั้ง เนื่องมาจากความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก ทำให้ร้างกายทนไม่ไหว ต้องการน้ำลงไปเจือจาง
4.           อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ทั้งๆที่มีน้ำตาลอยู่มาก แต่ไม่สามารถเอามาใช้ได้ หลายรายจะงวงเผลอหลับไประหว่างทำงานบ่อยๆ
5.           เบื่ออาหาร โดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากน้ำตาลที่มีเยอะแล้วในกระแสเลือด ทำให้ไม่หิวเลย
6.           น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักที่เคยมาก มาก่อนจะลดฮวบฮาบอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่ไม่ได้ไปฟิตเนท หรือออกกำลังกายใดๆ ฟังแล้วดูดีใช่ไหม แต่สาเหตุที่ลดลงมันมาจากร่างกายเรา ไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่ แล้วจะไปหาพลังงานจากไหนหล่ะ จึงต้องไปละลายไขมันและโปรตีนที่เราสะสมไว้ก่อนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน จึงทำให้น้ำหนักลดลง
7.           ติดเชื้อได้บ่อยมากกว่าปรกติ ทั้งโรคทางเดินหายใจ หรือพอไปพลาดเป็นแผลนิดหน่อย พอเป็นแผลเข้าให้แล้วแผลจะหายยากและหายช้ามากๆ เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันและระบบซ่อมแซมของร่างกายทำงานได้ช้าลง
8.           สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน รวมไปถึงอาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานที่คั่งเนิ่นนาน จะไปมีผลทำลายเส้นประสาทตรงอวัยวะนั้นๆ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ ถ้าที่ตาก้อมีอาการมองมัวลง ถ้าไปที่ปลายมือปลายเท้าก้อจะเหน็บชากิน
9.           สุดท้าย หากคนไข้มีอาการของโรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจและความดัน ระดับไขมันในเลือดสูง และโรคไต ระหว่างนี้มีโรคเบาหวานมาแจม ก้อจะกลายเป็นโรคอื่นๆอีกมากมายซึ่งจะเล่าให้ฟังต่อในตอนต่อไป
ยังไม่จบ อาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานนี้ ยังมีอีกเยอะ ยาว และใหญ่ งั้นตอนหน้ามาดูว่าโรคนี้ปล่อยให้เป็นไปเลย จะกลัวไปทำไม พอรู้ว่าโรคแทรกซ้อนมันมีผลอย่างไรต่อความสุขในชีวิตแล้ว คุณอาจจะเปลี่ยนใจ
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องเบาหวาน กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 23 มค. 2555  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·      รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://www.healthytimesblog.com/2011/02/diabetes-your-food-plan/
·      จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336494
·      เบาหวาน รักษาได้ดี ไม่ต้องตัดเท้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/27/entry-1
·      เบาหวาน ไม่รักษาให้ถูกต้อง มีสิทธิ์ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/22/entry-2
·      เบาหวาน หลักสำคัญในการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336728
·      เบาหวาน กับ อินซูลิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=337594
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, อาคาร เฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 10 โซน A เลขที่ 2 ซอยเพชรบุรี 47 (ศูนย์วิจัย) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ,http://www.diabassocthai.org
·      ตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ,http://www.happydm.org/html/question.php?question_ID=1
·      แนวทางเวชปฎิบัติเกี่ยวกับเบาหวาน พ.ศ. 2554, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, http://www.diabassocthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A-2551-&catid=2%3A2011-01-25-09-11-02&Itemid=6&lang=th
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, http://thaidiabetes.blogspot.com/
·      โรคเบาหวานและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเบาหวาน,  http://www.เบาหวาน.kudweb.com
·      ยารักษาโรคเบาหวาน 2, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 382                , เดือน/ปี: 01/2554
·      ยารักษาโรคเบาหวาน, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 381, เดือน/ปี: 12/2553
·      โรคเบาหวาน , หมอชาวบ้าน เล่มที่: 37 เดือน/ปี: 10/2553
·      การดูแลผู้ป่วยเบาหวานถ้วนหน้า,หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379                 เดือน/ปี: 10/2553
·      เบาหวานกับการออกกำลังกาย, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379 เดือน/ปี: 10/2553
·      ภก.จินตวี ไชยชุน,ภก.ธีระ ฤทธิรอด,ภก.สุภาพร น้อยเมล์,ภกญ.ญาณิน ขมะณะรงค์, Sitagliptin ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารคลินิก เล่ม : 284 เดือน-ปี : 08/2551, http://doctor.or.th/node/7131
·      โรคเบาหวาน, ห้องยา แผนกเภสัชกรรม รพ.รร.จปร, http://pharmacyjpr.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431014
·      All about Diabetes Mellitus, every thing about Diabetes Mellitus, http://diabetes2-mellitus.com/
·      Diabetic Care Management Guidelines, American Diabetes Association, Clinical Practice Recommendations, 2011, http://care.diabetesjournals.org/content/34/Supplement_1/S4.extract
·      American Association of Clinical Endocrinologists Medical Guidelines for Clinical Practice for the Management of Diabetes Mellitus, https://www.aace.com/publications/guidelines
·      American Diabetes Association. Pharmacologic intervention. In management of type 2 diabetes,4th edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72
·      American Diabetes Association, http://www.diabetes.org/diabetes-basics/symptoms/
·      Diabetes Treatment, http://www.diabetesdiettreatment.com
·      Diabetes Drugs, Diabetes.co.uk, http://www.diabetes.co.uk/Diabetes-drugs.html
·      Williams G, Pickup JC. Management of type 2 diabetes. In handbook of diabetes,2nd edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94.
·      Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202.
·      Diabetes Drug Information, Remedy Health Media, LLC,  http://www.healthcentral.com/diabetes/find-drug.html
·      Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:239-50..
·      Oral Diabetes Medications, webmd.com, http://diabetes.webmd.com/guide/oral-medicine-pills-treat-diabetes
·      Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In : Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes. Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83.
·      European diabetes policy group. A desktop guide to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus. Diabet Med 1999;16:253-6.
·      Complementary and  Alternatitve Treatment for Diabetes, National Diabetes Information Clearinghouse (NDIC), A service of the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), National Institutes of Health (NIH), http://diabetes.niddk.nih.gov/dm/pubs/alternativetherapies/
·      Alternative Treatments for Diabetes, WebMD.com, http://diabetes.webmd.com/guide/alternative-medicine
·      Cathy Wong, ND, CNS, a licensed naturopathic doctor and an American College of Nutrition-certified nutrition specialist, Natural Treatments for Type 2 Diabetes, http://altmedicine.about.com/cs/conditionsatod/a/Diabetes.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น