วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 5 : จะรู้ได้ไงว่าเป็นเบาหวาน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


จากตอนที่แล้ว คงรู้แล้วว่า ถ้าเป็นเบาหวานเข้าให้แล้ว ไม่รู้ตัวหรือไม่ได้รับการรักษา โรคแทรกร้ายแรงซ้ำซ้อน รุมเร้ามันน่ากลัวเพียงใด เภสัชกรหนุ่มหล่อไม่มีวัตถุประสงค์มาข่มขู่ให้เรากลัว เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ก้อคือไม่อยากให้ใครเป็นโรคนี้เลย หรือถ้าเป็นแล้วก้อรีบรักษาให้เร็วที่สุด ตอนนี้ จึงมาเล่าให้ฟังว่าถ้าสงสัยว่าเราจะเป็นโรคนี้ เวลาไปหาหมอจะได้รับการตรวจอะไรบ้าง?  อะไรคือดัชนีชี้วัดว่าเรากำลังเสี่ยงกับโรคนี้อยู่?
การรักษาเบาหวานที่ดีที่สุด รู้ก่อนคือการป้องกันก่อนที่จะเป็นเยอะ    
     หากคุณมีอาการต่างๆอย่างที่ได้เล่ามาแล้ว หากรู้สึกกลัวก็ไม่ต้องแปลกใจอะไรไป เพราะหากเรากลัว เราจะได้ไปไปหาการรักษาเบาหวานที่ดีที่สุด นั่นคือการป้องกันก่อนที่จะเป็น ดังนั้นถึงไม่ได้เป็นในวันนี้ หากรู้ตัวว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง  ก็ควรตรวจร่างกายตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อสกัดตรวจหาสัญญานที่แสดงว่า เรากำลังจะเป็น
รู้ไว้ ก่อนไปตรวจเบาหวาน
       ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็น แต่จากการวิจัยเราพบว่าเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในคนที่ มีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อลีบฝ่อ ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีรูปร่างอ้วน บางรายตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย หากสงสัยว่าเป็นเบาหวาน เมื่อนัดกับหมอได้แล้ว ในเช้าวันที่จะไปเขามักจะแนะนำให้ เตรียมพร้อมไปตรวจร่างกายและตรวจเลือดที่โรงพยาบาลโดย อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดในตอนเช้า
ไปหาหมอตรวจเบาหวาน เขาตรวจอะไรมั่ง ?
     เมื่อไปพบแพทย์ เราจะได้รับการวินิจฉัยโรคนี้โดยเริ่มต้นจากการ เล่าประวัติอาการ อดีตของการเจ็บป่วยต่างๆของตัวเราเอง ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมไปถึงตรวจสภาพร่างกายต่างๆ
    ที่สำคัญที่สุด คือการตรวจเลือดให้มันรู้ชัดๆไปเลยว่า ปริมาณน้ำตาลในเลือด เราสูงไปหรือไม่
ในคนปกติ ค่าของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar - FBS) คือ น้อยกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิ ลิตร (มก./ดล.) น่านคือเหตุผลว่าทำไมเขาถึงต้องขอให้เราไม่กินอาหารอะไร เลยก่อนไปตรวจซัก 6-8 ชั่วโมง
    ในบางครั้งแพทย์อาจต้องการทดสอบระบบควบคุมน้ำตาลในเลือดเรา เป็นการตรวจเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลัง จากที่แพทย์ให้กินน้ำตาลประมาณ 75 กรัม (ที่เรียกว่า Glucose tolerance Test - GTT) ค่าน้ำตาลในเลือด เราควรจะน้อยกว่า 140 มก./ดล
จะรู้ได้ไง ว่าเป็นเบาหวาน
     ผลจากการตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting plasma glucose/FPG) มักพบว่าในคนปกติที่ไม่ได้เป็นอะไรเลย จะมีค่าต่ำกว่า 110 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
    หากพบมีค่า เท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัม ในการตรวจอย่างน้อย 2ครั้ง และ/หรือ ค่าจีทีที สูงตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน และยิ่งมีค่าสูงเท่าใดก็แสดงว่ามีความรุนแรงของการเป็นเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น
     นอกเหนือจากนี้ อาจมีการตรวจอื่นๆประกอบด้วย เช่น การตรวจปัสสาวะดูน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งจะไม่พบในคนเรายามปกติ และการตรวจเลือดดูค่า สารที่เรียกว่า Glycated hemo globin หรือ ฮีโมโกลบินเอวันซี (Hb A1C) นอกจากนั้นถ้าเราเป็นมานานแล้ว แพทย์อาจส่งตัวไปตรวจดูความผิดปกติของระบบต่างๆ เช่นการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต เพราะเบาหวานมักส่งผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และไปตรวจสุขภาพดวงตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวัง ผลข้างเคียงของเบาหวานต่อจอตาหรือที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา

ตอนหน้าเราจะมาดูว่า หากเรากำลังเป็นโรคนี้เข้าให้แล้ว ใช่ว่าจะอยู่โลกนี้ต่อไปไม่ได้หรือไม่มีความสุขเลย เราจะมาดูแนวทางการรักษาโรคเบาหวาน ควบคู่กันไประหว่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยา และการรักษาควบคุมโรคร่วมต่างๆ ให้อยุ่ต่อไปอย่างมีความสุขครับ

อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องเบาหวาน กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 27 มค. 2555  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·      จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336494
·      เบาหวาน รักษาได้ดี ไม่ต้องตัดเท้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/27/entry-1
·      เบาหวาน ไม่รักษาให้ถูกต้อง มีสิทธิ์ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/22/entry-2
·      เบาหวาน หลักสำคัญในการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336728
·      เบาหวาน กับ อินซูลิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=337594
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,http://www.diabassocthai.org
·      ตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , http://www.happydm.org/html/question.php?question_ID=1
·      แนวทางเวชปฎิบัติเกี่ยวกับเบาหวาน พ.ศ. 2554, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, http://www.diabassocthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A-2551-&catid=2%3A2011-01-25-09-11-02&Itemid=6&lang=th
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, http://thaidiabetes.blogspot.com/
·      โรคเบาหวานและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเบาหวาน,  http://www.เบาหวาน.kudweb.com
·      ยารักษาโรคเบาหวาน 2, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 382                , เดือน/ปี: 01/2554
·      ยารักษาโรคเบาหวาน, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 381, เดือน/ปี: 12/2553
·      โรคเบาหวาน , หมอชาวบ้าน เล่มที่: 37 เดือน/ปี: 10/2553
·      การดูแลผู้ป่วยเบาหวานถ้วนหน้า,หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379                 เดือน/ปี: 10/2553
·      เบาหวานกับการออกกำลังกาย, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379 เดือน/ปี: 10/2553
·      ภก.จินตวี ไชยชุน,ภก.ธีระ ฤทธิรอด,ภก.สุภาพร น้อยเมล์,ภกญ.ญาณิน ขมะณะรงค์, Sitagliptin ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารคลินิก เล่ม : 284 เดือน-ปี : 08/2551, http://doctor.or.th/node/7131
·      โรคเบาหวาน, ห้องยา แผนกเภสัชกรรม รพ.รร.จปร, http://pharmacyjpr.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431014
·      All about Diabetes Mellitus, every thing about Diabetes Mellitus, http://diabetes2-mellitus.com/
·      Diabetic Care Management Guidelines, American Diabetes Association, Clinical Practice Recommendations, 2011, http://care.diabetesjournals.org/content/34/Supplement_1/S4.extract
·      American Association of Clinical Endocrinologists Medical Guidelines for Clinical Practice for the Management of Diabetes Mellitus, https://www.aace.com/publications/guidelines
·      American Diabetes Association. Pharmacologic intervention. In management of type 2 diabetes,4th edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72
·      American Diabetes Association, http://www.diabetes.org/diabetes-basics/symptoms/
·      Diabetes Treatment, http://www.diabetesdiettreatment.com
·      Diabetes in Asians Americans, Joslin Diabetes Center, 1 Joslin Place, Rm 382A, Boston, MA 02215, USA, http://aadi.joslin.org/content/healthcare-professional
·      Diabetes Drugs, Diabetes.co.uk, http://www.diabetes.co.uk/Diabetes-drugs.html
·      Williams G, Pickup JC. Management of type 2 diabetes. In handbook of diabetes,2nd edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94.
·      Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202.
·      Diabetes Drug Information, Remedy Health Media, LLC,  http://www.healthcentral.com/diabetes/find-drug.html
·      Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:239-50..
·      Oral Diabetes Medications, webmd.com, http://diabetes.webmd.com/guide/oral-medicine-pills-treat-diabetes
·      Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In : Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes. Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83.
·      European diabetes policy group. A desktop guide to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus. Diabet Med 1999;16:253-6.
·      Complementary and  Alternatitve Treatment for Diabetes, National Diabetes Information Clearinghouse (NDIC), A service of the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), National Institutes of Health (NIH), http://diabetes.niddk.nih.gov/dm/pubs/alternativetherapies/
·      Alternative Treatments for Diabetes, WebMD.com, http://diabetes.webmd.com/guide/alternative-medicine
·       Cathy Wong, ND, CNS, a licensed naturopathic doctor and an American College of Nutrition-certified nutrition specialist, Natural Treatments for Type 2 Diabetes, http://altmedicine.about.com/cs/conditionsatod/a/Diabetes.htm
·       Gary Culliton , New criteria for diabetes diagnosis,  Chief News Correspondent at IMT and specialises in consultant issues, the HSE, quality of care, health insurance, clinical research and global news, .http://www.imt.ie/clinical/2012/01/new-criteria-for-diabetes-diagnosis.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น