คุณแม่ตั้งครรภ์ที่รอการกำเนิดของสายใยรักในท้องที่โตวันโตขึ้น
มักจะมีปัญหา แน่นท้อง ปวดท้อง การแสบท้อง เรอบ่อยๆ หรือลมขึ้นเกิดอาการแน่นตีขึ้นอก
แรงๆเข้าก้อการหายใจไม่ออก ก้อมี
หรือทีอาจพบไม่บ่อยแต่ก้อเกิดได้เย้อะคืออากรเจ็บคอ หลอดคออักเสบ่อยๆ
พอไปหาหมอให้ตรวจดู ก้อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะชนิดกรดในกระเพาะไหลย้อนสู่หลอดอาหาร
หรือ GERD นั่นเอง
เรามาดูคำตอบที่ว่า ทำไมจึงเป็นและควรดูแลรักษาอย่างไร
ใช้ยาตัวไหนจึงจะปลอดภัย เพื่อให้คุณแม่สบายตัวหายจากอาการที่ว่าและสบายใจ
ว่าจะไม่มีผลต่อลูกน้อยในครรภ์กันดีกว่า
โรคนี้มีโอกาสเกิดกับคุณแม่ทุกคนหรือไม่?
อย่าได้กังวลใจไปเลยครับ เป็นกันเย้อะ
อาการเช่นนี้ของโรคนี้ เราพบได้ 30 ถึง 50 % ของผู้หญิงตั้งครรภ์ทีเดียวครับ
·
โดยมักจะเป็นในช่วง 3
เดือนแรกของการตั้งครรภ์ (first trimester) พบได้ถึง 50 %
·
ในช่วง 3 เดือนกลางของการตั้งครรภ์ (the
second trimester) พบได้ถึง 25 % และ
·
ใน ในช่วง 3 เดือนท้ายของการตั้งครรภ์ (the
third trimester) พบได้ถึง 10 % โดยเป็นได้พอ ๆ กันทั้งในท้องแรก หรือ
ในคนที่ตั้งครรภ์หลัง ๆ ก็ตาม
ทำไมจึงเป็นโรคนี้ได้หล่ะ
พอคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีการการเปลี่ยนแปลงของทางเดินอาหารโดยรวมมากมาย
หลายปัจจัยที่ส่งผลทำให้กรดเกิดการไหลย้อนขึ้นไป อันมีสาเหตุมาจาก
·
เกิดจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นที่เรียกว่า
Estrogen ระหว่างการตั้งครรภ์
·
นอกจากมีปัญหาการเปลี่ยนแปลงในตัวของคุณแม่เพื่อเตรียมตัวรับลูกน้อย
ทำให้ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวผิดปกติ ทำให้หูรูดกันกรดวิ่งย้อนขึ้นไปด้านบน
ตัวลิ้นปิดเองก้อจะ หย่อนเปิดทำให้กรดย้อนขึ้นง่าย (lower esophageal sphincter
tone) ตัวคุณแม่เองก็มีท้องที่โตขึ้น ทำให้เกิดความดันในท้องเพิ่ม
·
สุดท้ายความวิตกกังวลต่างๆ ทั้งห่วงลูกน้อย
ร่างกายตนเอง ครอบครัวในอนาคตมากมายๆ ก้อจะทำให้คุณแม่หลั่งกรดมากเกินไปกว่าเดิม
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ ?
คุณแม่ควรหมั่นสังเกตุอาการของเราเอง ได้แก่อาการทางเดินอาหารที่ไม่สบาย
ดังต่อไปนี้
·
ปวดท้องแบบปวดแสบ ปวดร้อน หรือปวดจุกเสียด โดยเฉพาะตำแหน่งลิ้นปี่
·
กลืนลำบาก กลืนเจ็บ บางครั้งอาจจะสำลักอาหารที่เพิ่งกินเข้าไป
อาจมีอาการอึดเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว ในลำคอ
·
แน่นทรวงอก จนอึดอัด หายใจไม่สะดวก
คล้ายโรคหัวใจ หวิว หรือ ปวดร้อนแสบอก
แต่บางครั้งคุณแม่อาจพบว่า เอ๊ะทำไม
ช่วงนี้จึงมีอาการ คอเจ็บ ไอ หรือ เสียงแหบเรื้อรัง บ่อยๆได้นะ อาจตามมาด้วย
·
ไอเรื้อรัง ไอจนหอบหืด ไอรุนแรงจนต้องลุกขึ้นมานั่งหอบกลางดึกๆ
บางคนอาการของโรคติดเชื้อจนปอดบวมเรื้อรัง หรืออาจเป็นโรคไซนัสเรื้อรัง (
sinusitis ) ทั้งก่อนหน้านี้และแย่ลงเรื่อยๆระหว่างตั้งครรภ์
·
รวมไปถึงการมีปัญหา ฟันผุหรือ โรคฟันเรื้อรัง
ไปหาหมอ เค้าตรวจอะไรบ้าง วินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร ?
แพทย์จะทำการตรวจพิเศษให้ถ้า
อาการไม่ชัดเจนนัก หรือ มีอาการเตือนโรคมะเร็ง หรือ ภาวะแทรกซ้อน แต่โดยทั่วไปขณะตั้งครรภ์มักจะเลื่อนการตรวจออกไปถ้าทำได้
การตรวจในภาวะนี้มีหลาย ๆ อย่าง แต่พยายามหลีกเลี่ยงรังสีเอกซเรย์
เพราะอาจมีผลต่ดเด็กในครรภ์ได้
ตอนหน้า คุณแม่เป็นโรคนี้เข้าไปแล้ว จะรักษาอย่างไร
? ใช้ยาอะไร? ปลอดภัย ได้ผล และไม่มีผลต่อลูกน้อยที่จะเกิดมาในอนาคต
แหล่งข้อมูลห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียน และจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและCopy url address ไปด้วย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้นำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
ภาพประกอบ มาจาก https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgOof2bNylgVgSRU-3LZlwNKadWfDrY9ZHc6k2hIc5cyes6h9X6kARvaCv1C5yAICQCpvaRYJYdb4RJklwSkl8EpWDMgGZM25jukX8NjifrDudS9ZSMfgc99Y9SgvRr-w0TAgo-4U4av4k/s1600/GERD.jpg
และ
http://www.infant-acid-reflux-solutions.com/images/mommy-holding-baby-closely.jpg
“โรคกรดไหลย้อน ” คืออะไรกันนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2011/09/blog-post_30.html
โรคกรดไหลย้อน จะรู้ได้ไง ว่าเป็นโรคนี้ โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_05.html
“โรคกรดไหลย้อน ” รักษาด้วยยาอะไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/03/blog-post_28.html
“โรคกรดไหลย้อน ” ดูแลอย่างไร ให้หายขาด? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) During Pregnancy, WebMD, LLC., http://www.webmd.com/baby/tc/gastroesophageal-reflux-disease-gerd-during-pregnancy-topic-overview
J.E. Richter ,The Management of Heartburn in Pregnancy, Medical Treatment of GERD During Pregnancy, Aliment Pharmacol Ther. 2005;22(9):749-757. , http://www.medscape.com/viewarticle/515100_5
Gastroesophogeal Reflux (GERD) Medications in Pregnancy, Deborah Lilienthal, BS; Kelly Ormond, MS, CGC, Eugene Pergament, MD, PhD, Volume 7(5), June 1999, http://www.fetal-exposure.org/resources/index.php/1999/06/02/gastroesophogeal-reflux-gerd-medications-in-pregnancy/
Ranitidine Pregnancy and Breastfeeding Warnings, http://www.drugs.com/pregnancy/ranitidine.html
GERD in pregnancy เรื่องของท้อง ออกอาการแน่นหรือแสบตีขึ้นอก จุกลิ้นปีของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพระรามเก้า, http://www.praram9.com/th/article_detail.php?id=184
พัฒนาการของเด็กในท้องกับการตั้งครรภ์, Perfect Woman Institute,
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, หลักการใช้ยาในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
, สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
, faculty of Medicine Siriraj Hospital
, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=992
รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ, เกิร์ด (GERD) - โรคกรดไหลย้อน,
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=44
kamagra 100 mg opens the blocked blood vessels in the body. As well as stimulates circulation. sildenafil 100 mg smoothes the muscles in the penis. This medicine is accessible in the USA at a less expensive cost.
ตอบลบ