จะนอนก้อนอนม่ายหลับ"
เป็นอาการหนึ่งเริ่มต้นที่คนไข้มักตรงไปร้านยา เพื่อให้เภสัชกรรักษาและบรรเทา แต่จริงๆแล้วสาเหตุของการปวดและการรักษาที่ถูกต้อง เราอยากแนะนำให้ไปพบหมอฟันเสียมากว่า แต่ในขณะคุณที่มีอาการป้วด ปวดๆๆๆๆ ปวดฟัน ใครไม่เคยปวด ม่ายรุ้หรอก จะกินจะนอนก้อลำบาก
ดังนั้นในบทบาทเภสัชกรเราจึงควรให้คำแนะนำในการรักษาต่อไป แต่ควรช่วยเขาก่อน ด้วยการบรรเทาอาการปวดฟันให้เบาบางลงก่อนจึงไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้การรักษาทางทันตกรรมต่อไป
ทำไมจึงปวดฟันได้หละ?
ปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด มักเกิดจากคุรเองมีอาการฟันผุมานานแล้ว
หรือการสึกกร่อนของฟัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า แมงกินฟัน พอเนื้อฟันหลุดออกไป
ก้อไปเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย (ที่ค้างคาในช่องปาก) ร่วมด้วยคนไข้มักละเลยไม่ไปรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้ พอเป็นติดต่อกันนานๆ
ก็ลุกลามกินลึกลงไปในถึงรากฟัน ทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดฟันอย่างรุนแรง
ในบางรายอาจมีอาการเหงือกบวม เป็นหนอง หรือแก้มโย้บวมให้เห็นได้เลย
ก่อนไปพบทันตแพทย์ รักษาอาการปวดฟันให้ทุเลาเสียก่อนจะดีมั้ย
เมื่อคุณผู้ป่วยมีอาการปวดฟันมาพบเภสัชกรที่ร้านยา หลายรายมักจะมาด้วยอาการปวดรุนแรงแล้ว
ดังนั้นในขณะที่มีอาการปวดฟัน ผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาบรรเทาอาการปวดฟันให้เบาบางลงก่อน
จึงไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้การรักษาทางทันตกรรมต่อไป
ในทางปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้มาปรึกษาเภสัชกรชุมชน เราจึงแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาอาการปวด
และยาลดการอักเสบของเนื้อฟันและเหงือก ซึ่งใช้ยาอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ยาแก้ปวด ใช้ยาตัวไหนดีนะ?
ในการใช้แก้ปวดฟัน มีการปวดตั้งแต่ปวดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปวดมากขึ้นๆ จนถึงขั้นปวดรุนแรง
คุณอย่าไปเสียเวลาเลือกยากินเองเลย ไปหาเภสัชร้านยา เสียเวลาเล็กน้อยเพียงเพื่อซักถามอาการ
เพื่อให้เภสัชกรได้ทราบระดับความปวดของผู้ป่วยเอง เพื่อจะได้แนะนำยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไป
โดยเราจะเลือกชนิดของยาแก้ปวดฟันเพื่อรักษาบำบัดอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้
1.1 หากคุณเริ่มต้นปวดเล็กน้อยและไม่รุนแรง
อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล 500mg ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดฟัน ถ้าอาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติแล้ว ก็หยุดยาได้ ไม่จำเป็นต้องใช้
1.2 อาการปวดรุนแรง
หลายรายมักเร่มต้นจากการใช้ยาพาราเซตามอลแล้ว อาจได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ผลเลย
ซึ่งแสดงว่าระดับการปวดฟันมีระดับรุนแรงมากขึ้น เภสัชกรมักแนะนำให้หยุดตัวยาจากพาราเซตามอล
ไปเป็นชนิดอื่นที่ระงับอาการปวดได้ดีกว่าที่มีฤทธิ์แก้ปวดได้ในระดับปานกลาง ได้แก่
- IBUPROFEN ไอบูโพรเฟน ชนิดเม็ด 400mg วันละ 3 ครั้ง กินหลังข้าวทันที
เนื่องจากยาแก้ปวดกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ในการใช้จึงควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรหยุดยาและรีบไปหาหมอฟันต่อไป
- NSIADS และยาแก้ปวดตัวอื่นๆ ได้แก่ mefenamic, piroxicam, celecoxib, etoricoxib รวมไปถึง tramadol ซึ่งออกฤทธิ์แก้ปวดฟันชนิดรุนแรงหรือปวดมากๆ ได้ดีกว่า แต่ยากลุ่มนี้เวลาใช้ต้องดูแลทั้งวิธีการให้และระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดมาได้ ไปหาเภสัชกรจะปลอดภัยกว่าหาซื้อมากินเองนะครับ
2. ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
หรือยาแก้อักเสบในภาษาชาวบ้าน จริงๆแล้วเราจะจ่ายยานี้ในกรณีที่คาดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ฟัน
หรือในรายที่มีอาการเหงือกบวม เป็นหนองร่วมด้วย ยาที่นิยมใช้ amoxycillin 500mg
ครั้งละ 1-2 เม็ด 3 เวลา ควรใช้ให้ครบ dose คือติดต่อกัน 5 วันขึ้นไป
แต่ไม่ควรซื้อมากินเอง เพราะคุณๆอาจแพ้ได้
ถ้าคุณแพ้ยาตัวนี้มาก่อนเภสัชกรอาจเปลี่ยนกลุ่มยาไปยังกลุ่ม erythromycin หรือ cefalo ก้อได้ไปหาเภสัชกรง่ายกว่า ปลอดภัยกว่าครับ
3. ยากลุ่มเมโทรนิดาโซล (metronidazole
บางครั้งการที่ปวดฟันและเหงือกบวม อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobe bacteria) ซึ่งจะต้องใช้ยาต้านจุลชีพ ชื่อเมโทรนิดาโซล metronidazole 200-250mg ซึ่งเป็นยาที่ได้ผลดี ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันทีเพราะยานี้อาจระคายเคืองต่อทางเดินอาหารได้ ควรใช้ยานี้ติดต่อจน ครบเช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ
สุดท้ายเมื่อหายปวดหรือบรรเทาลงไปบ้างแล้ว เภสัชกรจะแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟันได้ดูแลและแก้ปัญหาปวดฟันให้กับผู้ป่วยทันที และเมื่อคุณไปพบหมอฟันใจดีแล้ว ทันตแพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยได้เข้าใจว่า ในขณะที่มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรงนั้น ไม่ควรทำการอุดหรือถอนฟันทันที จะต้องให้ยาบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ทุเลาลงก่อน แล้วจึงทำการรักษาดูแลทางทันตกรรมได้ต่อไป
แหล่งข้อมุล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
สงวนลิขสิทธิ์ 6 กพ. 2556
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์
ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียน
และจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและCopy url address ไปด้วย
เพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่แนะนำให้นำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง
ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข
รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
Toothaches & how to treat, medicinenet.com, http://www.medicinenet.com/toothache/article.htm
Toothaches & medications, drug.com http://www.drugs.com/enc/toothaches.html
Pain Killers Comparison Chart, Painkiller Summary Summaries, Vaughn Aubuchon
รู้ทันยาแก้ปวด ใช้ถูกอาการ ลดยาเหลือใช้
thairecent.com/Science/2010/675061/
รูปประกอบจาก
http://stuartcosmeticimplantdentist.com/wp-content/uploads/2012/12/Toothache-Woman.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น