โลกนี้มันก็แปลก ไอ้คู่ที่แอบประสงค์จะได้เสียกัน แต่ไม่ประสงค์จะได้ลูก แต่ก็มามีลูกให้อุ้มไปออกทีวีตามหาพ่อเด็กท้าทายให้ตรวจสอบ dna กันวุ่นวายว่าไผเป็นพ่อ
ส่วนคู่สมรสที่พรั่งพร้อมทุกๆอย่างแล้วประสงค์จะได้ลูกไว้เป็นโซ่ทองคล้องใจ เพื่อยืนยันเป็นว่าเป็นผลผลิตแห่งความรักและสืบทอดวงศ์ตระกูลต่อไป ไม่ว่าจะลงแรงลงทุนอย่างไรก็ตาม กลับไม่ได้โอกาสในการได้มีบุตรรักไว้เชยชมแต่อย่างใด ปัญหาการมีบุตรยากนี้อาจจะเกิดขึ้นที่ตัวคุณพ่อหรือคุณแม่หรือทั้งสองก็ได้ วันนี้เภสัชกรหนุ่มรูปหล่อจะมาเล่าให้ฟังถึง “ภาวะการมีบุตรยาก” และแหล่งคำตอบการมีลูกได้สมใจ
อย่างไรจึงเรียกว่าผู้มีบุตรยาก
คุณผู้หญิงที่อายุน้อยๆ ก้อจะยิ่งมีโอกาสตั้งครรภ์จะมีสูง โดยเฉลี่ยภายใน 1 ปีควรจะตั้งครรภ์ได้ประมาณ 85% แต่ถ้าอายุมากขึ้น การทำงานของรังไข่ลดลง และอาจจะมีโรคบางอย่างที่ทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นไปอีก ดังนั้นในทางการแพทย์นั้นเราจัดว่าหากคู่สมรสใดที่เข้าหออยู่ด้วยกันนานเกิน 1 ปี โดยมีกิจกรรมปั่มปั้มโดยการมีเพศสัมพันธ์ตามปรกติอย่างสม่ำเสมอมาตลอดอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง แล้วภายในระยะเวลา 1 ปีแล้ว ยังไม่มีวี่แววมาคุณภรรยาจะมีสัญญานว่าได้บุตรเลยจัดว่าอยุ่ในกลุ่ม “ภาวะการมีบุตรยาก” ควรที่จะมาพบแพทย์ได้แล้ว หลายคนคิดว่าทำไมต้องเป็นคู่ของเราด้วย อย่าได้แปลกใจไปเลยครับ จากข้อมูลทางสถิติว่าเราพบว่าโดยทั่วไปอัตราของคู่สมรสที่มีบุตรยากจะอยู่ประมาณ 15 %
ทำไมจึงมีบุตรยาก หรือคู่ของเราทำบุญมาไม่พอ
ก่อนจะอ้างว่า “บุญทำกรรมแต่ง” มามั้ง เราจึงไม่มีลูก ขอบอกเสียก่อนว่าทุกรายที่มีปัญหามีลูกยากนั้นพอเข้ารับการรักษาแล้ว เราพบว่าคำตอบไม่ต้องไปแสกนกรรมที่ไหนหรอกครับ ความจริงแล้วเกิดจากการกระทำหรือกรรมที่มีเกิดขึ้นจากทั้งฝ่ายคุณพ่อหรือคุณแม่หรือทั้ง 2ฝ่ายร่วมกัน เริ่มได้ตั้งแต่เรื่องอายุ สุขภาพและการใช้ชีวิต ความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ในร่างกายทั้งหมด
ทำไมคู่เราถึงมีปัญหาไม่มีลูกหล่ะ หรือว่าเราทำบุญมาน้อย หลายรายไม่เริ่มต้นด้วยความรู้ทางพุทธแท้เพื่อหาเหตุของกรรมนี้ ก้อไม่แก้กรรมที่ถูก มัวแต่ ”พุดโธ่” โดยไปเชื่อมิจฉาชีพที่ชอบหลอกไปอ้างว่าต้องทำบุญสร้างเจดีย์มหาวิหารอย่างใหญ่โต สร้างให้เพื่อกุลบุตรกุลธิดามาจุติในครรภ์ ถ้าไปหลงเชื่อเสียตังค์เสียรู้เขาไปแล้ว กลับมาแล้วก้อไม่เกิดอะไรขึ้นมาเป็นอานิสงค์ได้หรอกครับนอกจากเสียรุ้ไปแล้ว
เราชาวพุทธต้องรู้ว่าแท้เหตุของการมีบุตรยากนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคนในอดีตกาล ไม่งั้นเขาจะมีนิทานรับลูกบุตรธรรมมาเลี้ยงมากมายหรือคำพังเพยที่เปรียบยเทียบการเอาลูกเขามาเลี้ยงเยอะแยะไปหมดเช่น “เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม” หรือครับ แต่ในทุกวันนี้ เราได้ทราบกระจ่างแล้วว่าทำไมคนเราจึงมีลูกได้ยาก สาเหตุหลักก้อเนื่องมาจากวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปแต่เดิมมาก ทั้งชายและหญิงใช้ชีวิตในวัยเจริญพันธุ์นานกว่าเดิมทั้งในด้านการเรียน และชีวิตการทำงานที่ใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น รูปแบบการเลือกคู่สมรสให้ดั่งใจช้าลงเพราะเศรษฐานะส่งผลให้แต่งงานช้าลง หรือพอตกร่องปล่องใจร่วมมุ้งกันได้ แต่สภาวะแวดล้อมทั้งที่ทำงานและที่บ้าน ปัญหาด้านจิตใจรวมไปถึงความเครียดของชีวิตคู่และที่ทำงาน ทุกอย่างเป็นรวมกันเป็นกระแสกรรมที่เกิดจากการกระทำของเราเองที่จะตอบคำถามให้คุณตาสว่างได้ว่า ทั้งหมดเป็นต้นเหตุว่าทำไมภาวะการมีบุตรยากจึงเกิดขึ้นได้กับเราเองและคู่อื่นๆเช่นกันมากขึ้นๆ
คำตอบของการแก้ปัญหา ทำไมจึงมีบุตรยาก
แต่เดิมการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากนั้น จะไปอยู่ที่แผนกสูตินารีเวชของแต่ละโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ทุกวันนี้เพื่อตอบสนองต่อคนไข้เฉพาะกลุ่มนี้มีมากขึ้น ปัจจุบันนี้จึงมีศูนย์ให้บริการคู่สมรสที่มีบุตรยากแบบครบวงจรมากขึ้นทั้งของรัฐบาลและเอกชน ซึ่งจะช่วยคุณให้ได้รับการตรวจหาสาเหตุ ให้การรักษาและแนะนำเบื้องต้น รวมไปถึง ”ตัวช่วย” ทางการแพทย์สมัยใหม่ที่มีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่าง ๆ เช่น เด็กหลอดแก้ว ICSI การแช่แข็งตัวอ่อน การทำกิ๊ฟ (Gift) ซิฟท์ (Zift) IVF มากมายที่จะเพิ่มโอกาสให้คุณมีลูกได้ง่ายขึ้น
ไปหาหมอแล้ว จะมีบุตรได้เลยใช่ไหม
การไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคือการไปแก้กรรมของสภาวะร่างกายที่ไม่สมดุลย์ให้กลับมาพร้อมรับการปฎิสนธิได้อีก รวมไปถึงแนวทางการชีวิตทั้งคู่ของคุณเองไม่ให้เคร่งเครียดเกินไป เพราะความเป็นจริงแล้ว คุณผู้หญิงที่อายุน้อยๆทั้งหลายในวัยเจริญพันธุ์ก็มีโอกาสจะตั้งครรภ์ตามธรรมชาติสูงอยู่แล้ว แต่หากอายุมากขึ้นตามสังขารที่ร่วงโรยไป เช่นการทำงานของรังไข่ลดลง และอาจจะมีโรคบางอย่างมาซ้ำเติมทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก เช่น เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ อุ้งเชิงกรานอักเสบหรือเคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน การมาพบแพทย์ไม่ได้มาเสี่ยงทายแต่มาเพื่อค้นหาคำตอบให้ทราบปัญหาและการแก้ไขเรื่องการมีบุตรยาก ซึ่งอาจจะเริ่มต้นอย่าง่ายๆ เช่นการตรวจร่างกายเพื่อสร้างความสมบูรณ์ทั้งสองฝ่ายให้พอดีกันจนเกิดการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้ ไปจนถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีช่วยเร่งการเจริญพันธุ์สมัยใหม่ๆที่ช่วยทำให้คู่รักเหล่านี้สามารถมีลูกได้สมใจมากมายตามที่ได้เกริ่นนำมาแล้ว
แพงไหม เจ็บตัวไหม รอคิวนานไหม ???
เภสัชกรหนุ่มหล่ออยู่หน้าร้านคอยตอบคำถามต่างๆเรื่องอยากมีลูกจะเจอคำถามเช่นนี้บ่อยมาก โดยทั่วไปถ้าเป็นหน่วยงานของภาครัฐมักจะไม่ค่อยสดวกในด้านสถานที่และเวลารับบริการส่วนราคาก็ประหยัดตามความเป็นจริง แต่ถ้าต้องการความสะดวกและคุณภาพการบริการก็แนะนำให้เลือกใช้บริการได้จากโรงพยาบาลหรือสถาบันของเอกชนที่คุณและคุ่รักของคุณพร้อม นั่นคือคำตอบครับ
แล้วจะเชื่อมั่นได้แค่ไหน เจ็บตัวมากมั้ย เมื่อไปพบผู้เชี่ยวชาญผู้ใจดีแล้ว แพทย์ พยาบาลและทุกคนๆในแต่ละหน่วยงานที่คุณไปขอคำปรึกษาพร้อมที่จะให้คำแนะนำและความใส่ใจช่วยให้คุณบรรลุสมหวังดังใจทุกคู่แหละครับ แต่เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เหล่านี้ก็ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะได้ลูกน้อยไว้อุ้มชูแบบ 100% เสมอไปนะครับ มีคำแนะนำต่างๆมากมายรอคุณเพื่อให้ทุกคู่สมรสบรรลุความฝันได้อุ้มลูกรักสมใจ แต่แน่นอนที่สุดที่คู่รักทุกคู่จะได้รับเสมอนั่นคือ ความรักและความเข้าใจระหว่างกันและกันในระหว่างเข้ารับคำปรึกษา
หากคุณๆ อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมในการแก้ปัญหามีลูกอยาก ขอความกรุณาติดตามไปหาอ่านข้อมูลที่คุณควรรู้เมื่อคุณพยายามที่จะตั้งครรภ์ เช่น อยากมีลูกทำไงดี สาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก รายชื่อโรงพยาบาลและคลีนิคต่างๆที่ให้บริการ คุณๆสามารถคลิ้กตามไปได้ที่แหล่งข้อมูลข้างล่างนะครับ หากอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ“37C PHARMACY” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 9 กพ. 2556
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
สามารถติดต่อได้ที่ E-mail: utaisuk@gmail.com
Face book: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “37C PHARMACY”
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง
ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· รูปประกอบจาก http://0.tqn.com/d/pediatrics/1/0/y/N/baby_family.jpg
· พรชัย พงษ์สุกิจวัฒน์ ,เทคโนโลยีสำหรับคู่รักมีบุตรยาก, www.homeandi.com,http://www.homeandi.com/content/c1764.html
· ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลเจตนิน , http://www.jetanin.com
· ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี,http://www.vibhavadi.com/fertility
· ศูนย์รักษาผู้ป่วย ภาวะมีบุตรยาก เจตบุตร, http://www.getabutra-ivf.com
· โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์นวบุตร ,www.nawabutr.com
· ศูนย์ ซูพีเรีย เออาร์ที, http://thaisuperiorart.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น