วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปวดหูจากการดำน้ำ แค่ไหน? ต้องไปหาไปหาหมอ




ทำไมเวลาดำน้ำลึกๆ จึงรู้สึกเจ็บจี้ดตรงช่องหูหรือปวดหน้าผาก มาถึงตอนต่อว่า หากเราเข้าใจหลักแห่งการปรับความดัน รักษาร่างกายให้แข็งแรง และเวลาไปดำน้ำก้อหมั่นฝึกการ "ป๊อบหู" ให้ความดันภายในโพรงจมูก ช่องหู ก้อจะลดความเสี่ยงของอาการปวดที่ว่านี่ไปได้ แต่สำหรับนักดำน้ำมือใหม่ มันไม่ง่ายเลยใช่ไหม เรามาตามติดว่าหากเราฝืนไปดำน้ำทั้งๆที่มีอาการดังต่อไปนี้ ความเสี่ยงต่อทั้งร่างกายและการดำน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?



ทำไมไปดำน้ำ แล้วปวดหู
ภาพประกอบ: อธิบายว่า ถ้าเราเรียนรุ้เทคนิคการปรับความดัน ก้อจะลดความเสี่ยงของการปวดหูได้อย่างไร
ภาพมาจาก http://www.merckmanuals.com/media/home/figures/ENT_eustachian_tube.gif

ถามแบบนี้ สงสัยตอนเรียนดำน้ำคงหลับ งั้นมาทบทวนซ้ำอีกทีนะ เป็นเพราะเมื่อเราดำน้ำลึกลงไปเรื่อยๆ ความดันภายนอกหูมาจากแรงอัดความดันน้ำน่านแหละ มากกว่าความดันภายในกระโหลกเราทั้งในส่วนของช่องหูและโพรงจมูกที่เรียกว่า โพรงไซนัสนั่นไง ลามไปถึงช่องโพรงตรงหน้าผาก ทำให้อวัยวะภายใน โดยเฉพาะแก้วหูถูกดัน ดันขึ้นๆๆ มากๆเข้า แล้วเราไม่รุ้จักวิธีปรับความดัน แรงกดอัดจึงทำให้รู้สึกเจ็บจี้ดๆ ไปจนถึงเจ็บอื้อๆ หลายรายเป็นมากๆ อวัยวะภายในเกิดการฉีกขาด ทำให้เลือดทะลักออกมาทั้งช่องจมูกและช่องหูก้อมีมาแล้ว ไม่ต้องไปนับใคร ดูผมเป็นตัวอย่างก้อได้  

อาการที่เราจะเป็นมีอะไรบ้าง ร้ายแรงแค่ไหน?
ภาวะที่มีอาการแน่นจมูก แน่นบริเวณใบหน้า หน้าผาก หรือมีเลือดออกหลังจากการดำน้ำทางการแพทย์เราเรียก เรียกว่า Sinus Barotrauma หรือ Sinus Squessze น่านเอง ตำแหน่งที่ปวดหรือตำแหน่งที่เป็นมักจะมักเกิดกับโพรงไซนัส หรือช่องโพรงในกระโหลกเรา ตรงจมูกหรือหน้าผากนั่นเอง ที่ปวดลามไปก้อคือช่องหูและอวัยวะต่างๆในช่องหูน่านไง

อาการมักมีตั้งแต่ แน่น ปวด จนถึงมีเลือดออกมา สีแดงสดๆ ทั้งช่องหูหรือช่องจมูก บางครั้งถ้าเลือดไหลลงไปทางด้านโพรงจมูกด้านหลังอาจจะทำให้มีเลือดปนออกมากับน้ำลาย หรือว่าไอออกมามีเลือดปนก้อมี แสดงว่าอวัยวะภายในบอบช้ำมากละ

ไปหาหมอ จะตรวจอะไรบ้าง?

ถ้าอยุ่บนเรือ divemaster ที่มีประสบการณ์ จะให้คำแนะนเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพของเรานักดำนำมือใหม่ ซึ่งจะแนะนำการใช้ยาเบื้องต้นในตอนต่อไปนะครับ

แต่หากเสร็จ trip แล้ว อยากแนะนำให้ไปหาหมอทันที เพื่อรับการตรวจรักษา การวินิจฉัยจะเริ่มจากอาจจากสอบถามประวัติและการตรวจร่างกายเบื้องต้น ทดสอบการได้ยิน ถ้าเป็นน้อยๆก้อจะได้รับยากลับไปกินและรักษาตัวที่บ้านระยะนึงแล้วกลับมาตรวจใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ก้อจะค่อยๆดีขึ้น  

แต่ในบางราย พบน้อยครับ เพราะนักดำน้ำมักจะได้รับการฝึกอบรมมาดีแล้ว แต่อาจจะเกิดได้ก้อคือจะมีภาวะโพรงไซนัสฉีกขาด ซึ่งกรณีนี้อาจจะทำให้มีอาการปวดมาก หรือเลือดออกมากหรือไหลซึมตลอดเวลา อย่างนี้หมอท่านจะขอให้รับการวินิจฉัยด้วยการ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าอวัยวะภายในมีการเสื่อมทำลายไปแค่ไหน ต้องได้รับการรักษาอย่างไรต่อไปครับ

ตอนหน้าเรามาดูว่า ยาที่ใช้ในการรักษามีอะไรบ้าง และข้อแนะนำให้นักดำน้ำมือใหม่ฟื้นตัวเร็วๆและไม่ไปปวดหูเป็นซ้ำ ได้อีกในการดำน้ำครั้งต่อไปครับ

แหล่งข้อมูล


Scuba Diving: Ear Pain, E medicine Health,
Barotrauma of the Ear (Barotitis Media or Aerotitis Media),

Sinus Barotrauma and Treatments,

Dr. R. Bageri, Barotrauma and Inhalation injuries,  

ใช้ยาหยอดหู ปลอดภัย หายจากโรค โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

นายแพทย์จรัล  กังสนารักษ์, การใช้ยาหยอดหู,

ยาสำหรับหู, ฝ่ายเภสัชกรรม  โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์  ,
http://www.samrong-hosp.com/2012-01-18-07-25-53/2012-01-18-07-23-58/1374-ear-drop

อาการปวดหูจากการดำน้ำ, ครูปุ๊ย,  http://www.siamscubadiving.com/content/view.php?id=25&cat=article

วิธีการที่ทำให้คุณเคลียร์หู(Equalizing) ได้ง่ายขึ้น , http://www.divedna.com/tech_EarEqualize.php

ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, หูชั้นนอกอักเสบ...ปวดหูจัง ทำไงดี, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=24

แพทย์หญิง วัชราภรณ์ บัวโฉม, น้ำเข้าหู (Swimmer’s ear), แพทย์ หู คอ จมูก,
http://haamor.com/th/น้ำเข้าหู/

หูอื้อหมายถึงอะไร? มีกี่ชนิด? วินิจฉัยและรักษาอย่างไร?, http://healthfood.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=57&id=19308

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น