วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผู้ชายวัยทอง ร่างกายเหี่ยว ใจหดหู่ sex หมด คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า???




ที่เรียกกันว่าผู้ชายวัยทอง ถึงแม้นว่าอัณฑะไม่ได้หยุดสร้างฮอร์โมนเพศชาย เพียงแต่สร้างในปริมาณน้อยลงนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านความเป็นชาย ที่เรียกกันว่า Andrologist ใช้คำเรียกผู้ชายวัยทองว่า PADAM  ย่อมาจากคำว่า Partial Androgen Deficiency of the Aging Male ซึ่งหมายถึง ภาวะที่มีการขาดฮอร์โมนเพศชายไปบ้าง ซึ่งในวัยทองเช่นนี้ คุณภาพชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจจะเปลี่ยนไปมาก ทั้งความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ พลังในการทำงานรวมไปถึงกิจกรรมเซ็กส์ และจิตใจก้อจะเปลี่ยไปเย้อะมาก  เรามาดูว่าหากคุณอยู่ในกลุ่มผู้ชายสูงอายุ กำลังเป็นโรคชายชราวัยทองกันหรือเปล่า?  

ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงเร็วกว่าปกติ

นอกจากอายุซึ่งเป็นปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ปัจจุบันยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ผู้ชายเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ นั่นคือ
1. เรื่องของกรรมพันธุ์
2. การทำงานหนัก และพักผ่อนน้อย
3. มีความเครียดตลอดเวลา
4. ความอ้วน
5. การขาดสารอาหารบางชนิด (เช่น แร่ธาตุสังกะสี เบต้าแคโรทีน)
6. การดื่มเหล้า สูบบุหรี่
7. มีโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไตวาย ฯลฯ)
8. การกินยาบางชนิด (เช่น ยารักษาไทรอยด์)
9. การออกกำลังกายที่มากเกินไป เป็นต้น
สรุปได้ว่า อะไรก็ตามที่ทำให้ร่างกายเสื่อมถอยเร็ว จะทำให้มีการหมดฮอร์โมนเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของชายวัยทอง มีอะไรบ้างนะ? 


เมื่อย่างเข้าสู่วัย 40 ปี การผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนจากอัณฑะจะลดลงเรื่อยๆ 
แม้ว่าฮอร์โมนเพศชายโดยรวมจะไม่ลดลงมากนัก แต่ส่วนใหญ่จะโดนจับโดยโปรตีนชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Sex Hormone Binding Globulin โปรตีนชนิดนี้จะไปจับกับฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นอิสระและสามารถจะออกฤทธิ์ได้นั้นลดลงตามอายุที่มากขึ้น 


หลังจากอายุ 40 ปีแล้ว ทุกๆ 1 ปีที่อายุมากขึ้น ฮอร์โมนเพศชายที่สามารถออกฤทธิ์ได้จะลดลง 1% ทุกปี และเมื่อฮอร์โมนเพศชายลดลงจนถึงระดับหนึ่งจากระดับสูงสุด ซึ่งแต่ละคนจะมีระดับฮอร์โมนเพศไม่เท่ากัน เมื่อลดลงไปประมาณ 20% ของค่าดั้งเดิม จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่แสดงออกถึงภาวะการพร่องฮอร์โมนเพศชาย เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ชายจะไม่ขาดฮอร์โมนเพศไปเลยเหมือนผู้หญิง แต่ฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆ ลดลงไปบางส่วน โดยอาการที่แสดงออกก็จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป 


อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ชายเริ่มขาดฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนนั้น จะแสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตใจ คล้ายกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยทอง



ฮอร์โมนเพศชายมีผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจ
รูปประกอบมาจาก  http://bodystream.ca/bhrt/bhrt-for-men/


ผลทางด้านร่างกาย

อวัยวะต่างๆ ที่ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเพศชายจะเริ่มทำงานลดลง

โดยเฉพาะระบบสืบพันธุ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุด 
1 - อวัยวะเพศมีขนาดเล็กลง เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายจะเป็นตัวควบคุมการเผาผลาญไขมันในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง การเผาผลาญไขมันจึงลดลงเป็นเงาตามตัว ไขมันในเลือดที่เหลือใช้จึงไปเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือด ทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางภายในของผนังหลอดเลือดแคบลง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศตีบตัน จึงทำให้อวัยวะเพศมีเลือดมาคั่งน้อยลง อวัยวะเพศชายจึงแข็งตัวได้น้อยหรือไม่แข็งตัวได้นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้

2 - มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตามมือและเท้า รวมทั้งมีอาการมือเท้าเย็นเวลากลางคืน เป็นต้น

3 - ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตามร่างกายโดยไม่มีสาเหตุ

4 - ผิวหนังบางลง ไม่ยืดหยุ่น เริ่มมีไขมันมาเกาะพอกที่บริเวณหน้าท้องและสะโพกทำให้ลงพุง เพราะไม่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปช่วยเผาผลาญไขมัน

5 - ผมจะร่วง โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ

6 - กล้ามเนื้อเล็กลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง เป็นตะคริวง่าย

7 - ความจำลดลง สมาธิลดลง โดยเฉพาะความจำระยะสั้น เนื่องจากการทำงานของอัณฑะลดลง

8 - กระดูกจะบางลงและหักง่าย แม้ว่าผู้ชายจะเกิดภาวะกระดูกหักน้อยกว่าผู้หญิง แต่ผลการวิจัยพบว่า เมื่อผู้ชายขาดฮอร์โมนเพศชาย กระดูกก็จะบางลงเช่นกัน และเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เมื่อย่างเข้าวัยชรา

9 - ระบบหัวใจและหลอดเลือดเสื่อม นอกจากอัณฑะจะมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนแล้ว ยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนด้วย เพียงแต่สร้างมาในปริมาณที่น้อยมาก


ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกาะตัวของไขมันตามผนังหลอดเลือด เมื่อปริมาณของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนกับเอสโตรเจนลดลง โอกาสที่จะเกิดไขมันในเลือดสูง และไขมันไปเกาะหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตันได้ง่าย โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จึงมีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้สูง ซึ่งจะพบมากขึ้นในผู้ชายที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

ผลทางด้านจิตใจ 


1 - ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หดหู่ ซึมเศร้า โดยไม่มีสาเหตุ เฉื่อยชา นอนไม่หลับ วิตกกังวล กลัว และตกใจ โดยไม่มีสาเหตุ หงุดหงิดโมโหง่าย เบื่ออาหาร ใจสั่น เป็นต้น

2 - ความต้องการทางเพศลดลง ไม่มีความตื่นเต้นทางเพศ ขาดความกระตือรือร้นในการมีเพศสัมพันธ์ ความสุขในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง และกลัวจะล้มเหลวในการมีเพศสัมพันธ์ 
อย่างไรก็ตาม การสร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนที่ลดลงในผู้ชายวัยทองนั้น อาจจะลดลงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน เป็นต้น

การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองมีข้อควรระวังอย่างไร 




บทบาทของฮอร์โมน testosterone
รูปมาจาก http://socyberty.com/sexuality/the-main-male-hormone/

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีบทบาทต่อร่างกายหลายอย่างด้วยกันดังกล่าวแล้ว ชายวัยทองที่มีอาการของคนขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและได้รับการตรวจยืนยันแล้วว่าอาการเหล่านั้นเกิดจากการขาดฮอร์โมนจริง อาจได้รับการรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเสริม 

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีใช้ทั้งชนิดฉีด รับประทาน แปะผิวหนัง และฝังใต้ผิวหนัง แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ก่อนใช้ฮอร์โมนจึงต้องมีข้อบงชี้เสมอ และเมื่อใช้แล้วต้องมีการตวรจติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่อาจเกิดขึ้นได้ 


ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีผลที่ควรระวัง ได้แก่ ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม นมโต ผลต่อตับ การเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด จำนวนอสุจิน้อยลง ภาวะเลือดข้นและการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนทดแทนจึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากระดับฮอร์โมนสูงเกินไป อาจเกิดปัญหาดังกล่าวได้ และฮอร์โมนนเทสโทสเตอโรนชนิดรับประทานที่เป็น 17 alpha alkylated steroids เช่น methyl testosterone, fluoxy mesterone จะเป็นพิษต่อตับจึงไม่แนะนำให้ใช้ 



จะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเข้าสู่วัยทอง

 
เมื่ออายุมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงของร่างกายหลายอย่างด้วยกัน ทำอย่างไรจึงจะชะลอความเสื่อมเหล่านั้น หรือหากเกิดขึ้นแล้วทำอย่างไรจึงจะอยู่ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี การปฏิบัติตัวเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกข้อแนะนำการปฏิบัติตัวเริ่มตั้งแต่ชีวิตประจำวันได้แก้

1 ควรเลือกอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดไปด้วยมลพิษ


2 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละสามวันนานครั้งละ 30 นาทีติดต่อกัน เพื่อป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเสริมสร้างความเข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อ รวมทั้งป้องกันโรคกระดูกพรุน การออกกำลังกายควรมีทั้งแบบแอโรบิค และมีการต้านทางแรงโน้มถ่วงของโลก โดยเลือกออกกลำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่นผู้สูงอายุอาจใช้การเดินติดต่อกันนานอย่างน้อย 30 นาที หรือรำมวยจีนเป็นต้น


3 เลือกรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง รับประทานใยอาหารเพื่อป้องกันการท้องผูกและมะเร็งลำไล้ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 1,500 – 2,000 มิลลิลิตรต่อวัน ลดอาหารไขมัน ลดเหลือ งดสูบบุหรี่ สุรา และยาเสพติด เพราะทั้งบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทำให้กระดูกพรุนและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

4 ทำจิตใจให้แจ่มใส อารมณ์ดี และให้ความอบอุ่นกับครอบครัว

5 พักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนหลับสนิทช่วยเพิ่มฮอร์โมนได้เองตามธรรมชาติ ทำงานอดิเรกที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ทำให้ได้บริหารความคิด จิตใจสบาย


6 จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ให้หกล้มง่าย เพราะวัยสูงอายุจะมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง ร่วมกับกระดูกพรุน หากหกล้มจะเกิดกระดูกหักได้ง่าย ควรรับแสงแดดบ้างเพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ป้องกันกระดูกพรุน

ถ้าลองเช็คดูแล้ว คุณกำลังอยุ่ในวัยและอาการดังกล่าว หากเปลี่ยนแปลงปฏิบัติตัวดังกล่าวได้ดีแล้วท่านก็จะสามารถอยู่ในวัยนี้ได้อย่างมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามวันนี้เป็นวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมถอย การพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำปีจึงมีความสำคัญเพื่อตรวจหาโรคที่ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง หรือโรคหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายเกินไป

แหล่งข้อมูล

นิตยสารหมอชาวบ้าน 252, เมษายน 2000

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์, นพ.บัณฑิต ศรไพศาล, สุมาลี ทองแก้ว
http://doctor.or.th/article/detail/2498
รูปประกอบจาก http://drmarykashurba.com/services/male-hormone-replacement/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น