วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผมร่วงบางและศีรษะล้าน: ผมร่วงของเราเป็นแบบไหนนะ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



จากตอนที่แล้ว ถ้าคุณลองนับเส้นผมแล้วพบว่าหลุดร่วงมากกว่าวันละร้อยเส้นแล้วละก้อ คุณกำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการหลุดร่วงของเส้นผมมากกว่าปกติ หากปล่อยทิ้งไว้ ผมที่ปรกก้อจะค่อยหล่นร่วงไป แถมถ้าผมใหม่ไม่งอกมาทดแทน อีกไม่นานคุณอาจจะเหมือนดาราคนดังjohn statham ที่เราเอารูปมาแปะให้เห็นว่าจะมีอนาคตของผมร่วงเป็นอย่างไร อีกไม่นานๆ

อย่างนี้ เราลองมาดูกันก่อนว่าลักษณะของผมร่วงที่คุณประสบพบอยู่ ว่าเป็นแบบไหนกันน้า??? เพื่อจะได้เข้าใจถึงต้นเหตุกันก่อน เพื่อจะได้นำไปสู่การรักษาที่ทำให้ผมกลับมาดกเงางามเหมือนเดิม


รูปแบบผมร่วงของคุณเป็นแบบไหนนะ? 

ครั้งนี้เรามาดูผมร่วงตามตำแหน่งก่อนดีไหมครับ เริ่มต้นด้วยอาการผมร่วงเป็นหย่อม และ ผมร่วงทั้งศีรษะ

 ผมร่วงเป็นหย่อมๆ


ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
รูปประกอบมาจาก http://visitdrsant.blogspot.com/2011/03/blog-post_7166.html

คุณจะพบว่าผมมักจะไม่ค่อยร่วงทั้งหมดศีรษะ แต่จะร่วงเป็นหย่อมๆคล้ายกับผมแหว่ง อาจจะพบได้หย่อมหนึ่งหรือหลายหย่อมกระจายกันไป เวลาส่องด้วยกระจกแล้วคุณจะพบว่ามีช่องว่างบนหนังศีรษะ อันมีหลายแบบอันเนื่องมาจาก

1. ผมร่วงที่เกิดจากเชื้อราของหนังศีรษะ

 

ผมร่วงจากเชื้อรากลาก ที่เกิดขึ้นบนหนังศีรษะ
รูปประกอบมาจาก http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/tinea_capitis.htm#.UcgTvaVlzy8


ผมร่วงแบบนี้เกิดจากเชื้อราไปเกาะกินบนหนังศีรษะหรือที่ภาษาบ้านๆ เรียกว่ากลากบนหนังศีรษะ หรือชันนะตุ อาการที่ตรวจพบได้คือแรกเริ่มหนังศีรษะที่มีการติดเชื้อราจะเป็นขุย ระหว่างนี้เชื้อราอาจไปแทรกในเส้นผมทำให้ผมหักหลุดร่วงได้บ้าง ถ้าเป็นมากไม่รีบรักษา เชื้อราจะลามไปทำลายผิวหนังให้เกิดการอักเสบเกิดเป็นวงใหญ่มากขึ้นๆ ระหว่างนี้คนไข้จะคันอย่างมากทำให้ต้องใช้มือเกาอย่างรุนแรงจนหนังศรีษะฉีกขาดไปก็มี หากมีการซ้ำเติมของเชื้อแบคที่เรียที่อาจติดมาจากเล็บที่เกาไปซ้ำเติมที่รอยแผลจากกการเกา ทำให้เกิดการติดเชื้ออักเสบรุนแรงกลายเป็นแผลมีหนองหรือน้ำเหลืองซึมออกมาได้ ถึงขั้นนี้แล้วโคนรากผมมันจะถูกทำลาย ผมจะหลุดร่วงจากรากผมอย่างมาก ทำให้เกิดเป็นรอยแหว่งสังเกตุได้ชัด

กลุ่มหลักที่เป็นมากพบได้ในเด็ก ซึ่งอาจติดมาจากเพื่อนที่โรงเรียนหรือเด็กแถวบ้าน เกิดจากการคลุกคลีกัน หรือใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น หวี แปรงผม ผ้าเช็ดตัว

การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อราทั้งรูปแบบยาทา แชมพูหรือยากินอย่างต่อเนื่องเพื่อออกฤทธิ์ทำลายเชื้อราให้หมดไปก่อน หากรากผมยังไม่ถูกทำลายมากนักยังมีโอกาสที่เส้นผมใหม่จะผุดเติบโตได้ ส่วนการป้องกันเชื้อราทำได้โดยรักษาความสะอาด สระผมสม่ำเสมอ และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน

2. ผมร่วงลักษณะเป็นวง ALOPECIA AREATA

 
ผมร่วงแบบเป็นหย่อม ALOPECIA AREATA
รูปประกอบมาจาก http://www.leimo.com/hair-loss-articles/the-ugly-truth-about-alopecia-areata.html
คนไข้จะสังเกตพบว่าผมร่วงเป็นหย่อมขนาดประมาณเท่ากับเหรียญบาทอาจเป็นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม บางคนถ้าพบมากๆหลายวงถึงกับทำให้ผมบางไปทั้งศีรษะ สาเหตุของผมร่วงมักเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เมื่อตรวจดูหนังศีรษะจะปกติ ไม่พบอาการอักเสบแต่อย่างใด ลักษณะที่ผมจะหลุดมาเองจากรากผม พบได้ค่อนข้างบ่อย ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องผมก็จะกลับขึ้นได้เป็นปกติ


3. ผมร่วงที่เกิดจากการถอนผม

อาการที่ตรวจพบมักเกิดในเด็กที่ดึงผม หนังศีรษะมักจะนูนขึ้นมาเป็นตุ่ม ๆ คล้ายเวลามีอาการขนลุก หรือเหมือนหนังไก่ที่ถูกถอนขนออกไปแล้ว มักพบเส้นผมสั้นๆเล็กเพราะรูขุมขนยังดีอยู่

ผมร่วงแบบนี้มักเกิดขึ้นในเด็กที่ขาดความอบอุ่น และได้รับการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างเข้มงวด การดึงผม จึงเป็นลักษณะการหาทางออก เป็นการระบายอารมณ์ของเด็กอย่างหนึ่ง เพราะเด็กเกิดความรู้สึกเก็บกด ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงทำร้ายตัวเองด้วยการดึงผม ส่วนใหญ่มักพบในเด็กอายุประมาณ5-8 ขวบ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่มีทางออกอย่างอื่น ต่างกับเด็กวัยรุ่นซึ่งมีทางออกอย่างอื่น เช่น หนีออกจากบ้าน คบเพื่อน ติดยาเสพติด เป็นต้น การรักษาแพทย์มักเชิญพ่อแม่ผู้ปกครองมาพบปะ หาทางดูแลลูกรักอย่างถูกต้อง ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กมากขึ้น ถ้าแก้ไขพฤติกรรมได้ผมก็จะขึ้นใหม่ตามปกติ

ผมร่วงทั้งศีรษะ
 คนไข้กลุ่มนี้จะทราบได้ใช้หลักการนับปริมาณผมที่หล่นร่วงที่เกิดกระจายทั้งศีรษะ ถ้าร่วงเกินวันละ 100 เส้นก็ถือว่ามีอาการผมร่วง แต่ถ้าต่ำกว่า 100 เส้นจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงทั้งศีรษะ มีหลายอย่างที่จะทราบได้ต่อเมื่อคุณไปพบแพทย์ผู้ชำนาญที่จะทำการการซักประวัติ การตรวจร่างกายรวมทั้งสภาพหนังศีรษะและเส้นผมอย่างละเอียด สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมร่วงทั่วไปมีดังนี้

1. ผมร่วงจากโรคซิฟิลิส

 
ผมร่วงจากซิฟิลิส
รูปมาจาก http://anagen.ucdavis.edu/1510/case_reports/alopecia/cohen.html


ผู้ที่ติดโรคนี้มาจะแสดงอาการได้หลายระยะ ระยะแรกจะเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ระยะที่ 2 อาจจะมีลักษณะเป็นผื่นออกดอกในช่วงที่เชื้อแพร่กระจายไปทั้งตัว บางคนไม่มีผื่น แต่แสดงออกโดยการมีผมร่วงอย่างเดียว หรือบางคนอาจจะมีผมร่วงร่วมกับมีผื่นของซิฟิลิสเกิดขึ้นก็ได้

การตรวจพบสาเหตุในกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ค่อนข้างแข็งแรงดี ถ้าหมอตรวจไม่พบอะไร แต่มีอาการผมร่วงมาก มักจะได้รับการตรวจเลือด เพื่อพิสูจน์ยันโรคซิฟิลิส โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็หายไปทำให้ผมจะงอกกลับมาสู่สภาพเดิมได้

2. ผมร่วงเกิดจากความเครียดทางจิตใจหรือร่างกายอย่างรุนแรง

ที่พบได้บ่อย ได้แก่มีไข้สูง เช่น ไทฟอยด์ มาลาเรีย ประสบอุบัติเหตุรุนแรง หรือมีการกระทบกระเทือนจิตใจและอารมณ์อย่างแรง เส้นผมที่อยู่ในระยะช่วงที่จะหลุดได้หรืออยู่ในระยะพัก (วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมตามไปอ่านได้จากตอนแรกครับ) และหลังจากที่เกิดเหตุการณ์จับไข้ขึ้นสูงอย่างรุนแรงดังกล่าวแล้ว ประมาณ 2-3 เดือน คนไข้จะมีผมร่วงอย่างมาก หรือที่ภาษาชาวบ้านที่เรียกว่า “จับไข้หัวโกร๋น” หลังจากผ่านเหตุการณ์อย่างนี่สักครั้งในชีวิตจนเกิดผมร่วงตามหลังมา จากนั้นรูขุมขนก็จะกลับเจริญขึ้นมาใหม่เป็นปกติ

3. ผมร่วงระยะหลังคลอด 

 
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ก้อมีโอกาสผมร่วงได้
รูปจาก http://www.medexpressrx.com/blog/causes-and-cures-of-hair-loss-during-pregnancy.aspx


คุณผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มานาน 8-9 เดือน ระหว่างช่วงที่คลอดและระยะหลังคลอดนี้ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างจะเฉียบพลัน จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรากผมได้ ผลที่ตามมาหลังคลอดมักจะมีผมร่วง มักจะเป็นระยะ 2-3 เดือนหลังจากคลอด คุณแม่ที่มีผมร่วงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องมาหาหมอ ผมจะค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพปกติได้เอง

4. ผมร่วงจากโรคทางกาย 
 มีหลายสาเหตุ เช่น เอสแอลอี (ลูปัส) โรคของต่อมธัยรอยด์ การกินยาบางชนิดที่ทำให้ผมร่วงเกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่นยารักษามะเร็ง เพราะมีผลไปทำลายเซลล์และการสร้างผม คุณสามารถขอคำปรึกษาซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องมาหาหมอโดยตรงเพื่อค้นหาสาเหตุ เพราะถ้ารู้สาเหตุก็สามารถรักษาให้หายได้สาเหตุของผมร่วงและแนวทางการรักษา

ตอนต่อไป เรามาดูถึงต้นเหตุที่ทำให้ผมร่วงจริง บางจัง กันนะครับ จะได้ป้องกันผมร่วงกันต่อไป


แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 24 มิย. 2556  ,E-mail: utaisuk@gmail.com

 ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

 การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

  บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ผมร่วง แล้วฉันจะหัวล้านไหม? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผมร่วง มีกี่แบบ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

สาเหตุของผมร่วง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผมร่วง สาเหตุและวิธีสังเกตุอาการด้วยตัวคุณเอง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

 ผมร่วง รักษาอย่างไรให้เส้นผมกลับคืนมา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผมร่วง ดูแลสุขภาพเส้นผมอย่างไรไม่ให้ร่วงอีก โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ยารักษาผมร่วง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ทำไมผู้ชายจึงหัวล้าน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ฮอร์โมนเพศชายทำให้ศีรษะล้านได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Minoxidil Lotion ยาทารักษาผมร่วง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

PROPECIA และ PROSCAR ยารักษาผมร่วง ผมบาง ศรีษะล้าน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Hair Science,

Alfredo Rebora, MD
, Pathogenesis of androgenetic alopecia, Journal of the American Academy of Dermatology,Volume 50, Issue 5 , Pages 777-779, May 2004, http://www.jaad.org/article/S0190-9622(04)00006-4/abstract

Hair-raising. The latest news on male-pattern baldness.
,Proctor PH., Adv Nurse Pract. 1999 Apr;7(4):39-42, 83., http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10382384?dopt=Abstract

 Drug Induced Hair Loss, American Hair Loss Association. , http://www.americanhairloss.org/drug_induced_hair_loss/

 Androgenetic Alopecia, http://emedicine.medscape.com

British Association of Dermatologists’ guidelines for the
management of alopecia areata 2012
A.G. Messenger,  et al: http://www.bad.org.uk/Portals/_Bad/Guidelines/Clinical%20Guidelines/Alopecia%20areata%20guidelines%202012.pdf

 Androgen Therapy in Women: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline
Margaret E. Wierman, et al:, 2006 Archive |October 2006 |Wierman et al. 91 (10): 3697, http://jcem.endojournals.org/content/91/10/3697.short
Barnett S. Kramer, et al: ,Use of 5-α-Reductase Inhibitors for Prostate Cancer Chemoprevention: American Society of Clinical Oncology/American Urological Association 2008 Clinical Practice Guideline, http://jco.ascopubs.org/content/27/9/1502.long

 Olsen E, Hordinsky M., McDonald-Hull S.       et al: , Alopecia areata investigational assessment guidelines. J Am Acad Dermatol             1999; 242-6. http://www.jaad.org/article/S0190-9622(99)70195-7/abstract

 Antonella Tosti, et al:,
Alopecia areata: A long term follow-up study of 191 patients
From the Department of Dermatology, University of Bologna, Journal of the American Academy of Dermatology
Volume 55, Issue 3, September 2006, Pages 438–441,
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962206012886

 Shabnam Madani, Alopecia areata update ,Journal of the American Academy of Dermatology, Volume 42, Issue 4, April 2000, Pages 549–566, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962200901646

 Alopecia, Thaichinda S1. Division of Dermatology, Department of Medicine, Hat Yai Hospital, Songkhla, 90110, Thailand Songkla Med J 2008;26(6):587-599S. http://thailand.digitaljournals.org/index.php/SOMJ/article/view/1136

Vera H. Price, M.D. Alastair J.J. Wood, M.D., Editor, Treatment of Hair Loss
N Engl J Med 1999; 341:964-973September 23, 1999, http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJM199909233411307

 John D. McConnell, et al:, The Long-Term Effect of Doxazosin, Finasteride, and Combination Therapy on the Clinical Progression of Benign Prostatic Hyperplasia, N Engl J Med 2003; 349:2387-2398December 18, 2003, http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmoa030656

 A R Diani et al: , Hair growth effects of oral administration of finasteride, a steroid 5 alpha-reductase inhibitor, alone and in combination with topical minoxidil in the balding stumptail macaque., http://jcem.endojournals.org/content/74/2/345.short
James Leyden et al:, Finasteride in the treatment of men with frontal male pattern hair loss , Dermatology 19th World Congress, Australia, June 1997. Journal of the American Academy of Dermatology
Volume 40, Issue 6, June 1999, Pages 930–937, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962299700812

 L Rhodes et al:,The effects of finasteride (Proscar) on hair growth, hair cycle stage, and serum testosterone and dihydrotestosterone in adult male and female stumptail macaques (Macaca arctoides)., http://jcem.endojournals.org/content/79/4/991.short

 Kid Wan Shum et al:,
Hair loss in women with hyperandrogenism: Four cases responding to finasteride
Journal of the American Academy of Dermatology
Volume 47, Issue 5, November 2002, Pages 733–739, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S01909622020015

 Alopecia (Baldness), www.merck.com

Alopecia Areata, www.medicinenet.com

 นพ.สมยศ จารุวิจิตรรัตนา ผมร่วง หมอชาวบ้าน เล่มที่ 62 เดือน 6 ปี 1984

นพ.อภิชาติ ศิวยาธร ผมร่วง หมอชาวบ้าน เล่มที่ 112 เดือน 8 ปี 1988

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น