วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยาที่ใช้รักษา


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ คุณผู้หญิงส่วนใหญ่มักเป็นโรคนี้ได้ง้าย ง่าย  สาเหตุหลักมักเนื่องมาจาก เวลาปวดปัสสาวะมักจะกลั้นฉี่ไว้ อาจเนื่องจาก กำลังทำงานสำคัญ มีงานยุ่งอยู่ กำลังติดต่อกับลูกค้า หรือรถติดๆๆๆๆ ขณะเดินทางบนท้องถนน  การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะขัด ปวดเสียวท่อปัสสาวะและปัสสาวะบ่อย เรามีคำแนะนำการดูแลรักษามาแบ่งปันกัน
สาเหตุที่เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นได้ทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะคุณผู้หญิง มักเกิดจากการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ทำให้แบคทีเรียเอาชนะกลไกการป้องกันเชื้อโรคบริเวณเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ คือการปริแตกของสารที่ชื่อว่า Glycoaminoglycan (GAG ) และเชื้อส่วนใหญ่ คือเชื้อ E.coli ชนิดเดียวกับที่พบในระบบทางเดินอาหาร  เดินทางจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะในผู้หญิงมีความยาวเพียง 4 ซม. จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงไม่พบโรคนี้ในเพศชาย หรืออาจพบได้ในคนที่มีลักษณะนิสัยชอบดื่มน้ำน้อย ทำให้ระยะเวลาในการปวดปัสสาวะห่างขึ้น แบคทีเรียจึงมีเวลาในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น มีมากพอที่จะก่อโรคได้

อาการแสดงที่สังเกตได้ของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
หลังจากกลั้นปัสสาวะแล้วไม่นาน จะเริ่มมีอาการปัสสาวะขัด แสบท่อปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ต่อมาเริ่มมีอาการปวดท้องน้อยเหนือหัวเหน่า ปวดเหมือนปัสสาวะไม่สุดหรืออาจเสียวตอนสุด มีกลิ่นเหม็น  ถ้ายังไม่ได้รับการรักษา 2 – 3 วัน จะพบในปัสสาวะมีเลือดปนหรือเป็นเลือดสด และอาจพัฒนาไปเป็นกรวยไตอักเสบได้  โดยจะมีอาการไข้สูง 39 – 40 องศา หนาวสั่น ปวดเอวข้างใดข้างหนึ่ง เคาะหลังแล้วเจ็บ แสดงว่า มีอาการป่วยหนัก

การปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้เกิดโรคสาเหตุที่เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

1.ควรดื่มน้ำมากๆ วันละ 6 – 8 แก้ว
2.ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น ปัสสาวะก่อนออกเดินทางไกล และก่อนเข้านอน ให้เป็นกิจวัตร
3.เมื่อมีอาการ ควรได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมโดยทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
ดังนั้น ทุกครั้งที่เข้าห้องน่ำ ควรราดโถส้วมเพื่อล้างน้ำสกปรกที่ตกค้าง ไม่ให้กระเด็นใส่ร่างกายเรา
การรักษาด้วยยา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ไม่แนะนำให้หาซื้อยาเหล่านี้มากินเอง โดยไม่ไปขอรับคำแนะนำจากเภสัชกรหรือแพทย์เสียก่อนนะครับ เพราะยาเหล่านี้ ให้ผลการรักษาที่ได้ผลและปลอดภัย ก้อต่อเมื่อคุณได้รับการวินิจฉัย และคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องจากเภสัชกรเท่านั้น
  • ·     การรักษาด้วยตัวเองที่ดีที่สุด คือการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้หายเร็วขึ้นครับ
  • ·     ขณะที่มีอาการ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด อย่างเช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • ·     ไปหาหมอ และได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร อาจมีความจำเป็นต้องให้ยาฆ่าเชื้อ  ได้แก่ Norfloaxacin 400 mg. หรือ Ciprofloxacin 400 mg. วันละ 2 ครั้ง  นาน 3 วันขึ้นไป
  • ·     ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

รู้ได้ไงว่าตอนนี้กระเพาะปัสสาวะอักเสบหายแล้ว???
อาการต่างๆ ที่เป็นหายหมดแล้ว และกลับมาปัสสาวะปกติเหมือนเดิม โดยไม่ปวดแสบหรือควบคุมการฉี่ไม่ได้ และเมื่อหายแล้วจะไม่มีผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด เว้นแต่มีภาวะแทรกซ้อนที่จำต้องไปพบแพทย์ดังที่เภสัชกรได้ นำมาอธิบายมาแล้วนะครับ
แหล่งข้อมูล

 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำไมจึงเป็นได้บ่อยจังนะ???, http://utaisuk.blogspot.com/2013/06/blog-post_19.html

นายแพทย์วีระสิงห์ เมืองมั่น, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์, http://www.vichaiyut.co.th/jul/30_01-2548/30_01-2548_P44-46.pdf

การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบของสตรี, โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น., http://www.srinagarind-hph.kku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=158:2012-04-20-03-17-15&catid=45:2011-06-13-02-42-55&Itemid=64

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
, http://haamor.com/th/กระเพาะปัสสาวะอักเสบ/

นพ.อภิรักษ์ เลิศสุวรรณโรจน์ , กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  , ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลเมืองราช จังหวัดราชบุรี  ,GORATCHABURI.COM  ปีที่ 2 ฉบับที่ 17 เดือนสิงหาคม 2555  หน้า15 ,  http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=22358
นพ.สมชาญ เจียรนัยศิลป์, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 252 เมษายน 2000, http://www.doctor.or.th/article/detail/2493

รูปประกอบจาก http://women.sanook.com/928400/ผู้หญิงควรใส่ใจ-โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ-cystitis/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น