วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แผลกดทับ ดูแลอย่างไร ไม่ให้แผลเน่า



ใครมีญาติผู้ใหญ่ที่อาจจะมีอาการบาดเจ็ดมีแผลมาก่อน เช่นเกิดจากอุบัติเหตุ หรือไม่มีแผลก้อจริง แต่ท่านเหล่านี้ ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ หรือเป็นอัมพฤต อัมพาตมาก่อน มีอาการโรคหนึ่งที่มักจะเกิดได้ นั่นคือ "แผลกดทับ" ซึ่งหากดูแลไม่ดี ไม่เข้าใจธรรมชาติของการดูแลแผล ก้อมักจะลุกลามไปเป็นมากขึ้นๆ ถ้าเกิดอาการแผลลามเน่าขึ้นมาถึงกับต้องตัดอวัยวะหรือเสียชีวิตจากการที่ติดเชื้อลุกลามไปทั่วร่างก้อมี เพื่อการดูแลแผลกดทับของญาติผู้ใหญ่เรา มาพบกับคำแนะนำ วิธีการดูแลป้องกัน และการรักษาไม่ให้ลุกลามและหายดีขึ้น

ทำไมจึงเกิดแผลได้หล่ะ ??
แผล เป็นธรรมดาที่ทุกคนก็คงจะรู้ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คงจะได้รับกันอย่างทั่วหน้าแล้วแต่การชนหรืออุบัติเหตุ แต่จะมีผลอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่า แผลกดทับ ทำไมถึงต้องเรียกอย่างนี้ เพราะว่าบริเวณที่มีการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ จากการขาดเลือดอันเป็นผลจากการถูกกดทับเป็นเวลานานๆ แผลกดทับ ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่เหนือปุ่มกระดูกเช่น บริเวณก้นกบ ปุ่มกระดูกตรงบริเวณด้านข้างของสะโพก ส้นเท้า ตาตุ่ม (โดยเฉพาะด้านนอก)

รูปประกอบ: ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับได้ง่าย 
รูปมาจาก http://www.spinal-injury.net/pressure-sore-prevention.htm

แผลกดทับเกิดจากอะไร??
การที่เกิดแผลกดทับ จะเกิดขึ้นได้ในรายที่มีการบาดเจ็บสาหัส หรือในคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ในเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ ของสมอง กระดูกสันหลังบริเวณต้นคอ หรือบริเวณหลังต่ำกว่าคอ ก็จะทำให้ไม่สามารถส่งกระแสประสาท มาให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปกติ หรือในรายของผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในเรื่องสมอง หรือมีปัญหาในเรื่อง อัมพาตของกล้ามเนื้อ ในรายที่มีปัญหาของกระดูกหัก ที่ต้องดึงขาหรือใส่เฝือกอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ในรายหลังผ่าตัด จะพูดอย่างเข้าใจง่ายๆ คือ จะเกิดในผู้ที่ไม่สามารถขยับตัว หรือช่วยเหลือตนเองได้ หรือผู้ป่วยที่เสียการรับรู้ความรู้สึก

รูปประกอบ: กลไกการเกิดแผลกดทับ
รูปมาจาก http://www.spinal-injury.net/pressure-sores-sci.htm


โดยปกติแล้วเส้นเลือดจะมีแรงดันของหลอดเลือดฝอย เหมือนท่อน้ำประปา ถ้ามีอะไรพับไว้น้ำก็จะไหลได้เพียงเล็กน้อย ลักษณะเดียวกันกับเส้นเลือดเมื่อถูกทับจนเลือดไม่สามารถ ไหลมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้จะทำให้บริเวณที่ถูกกดทับ มีการตายของเนื้อเยื่อซึ่งแรงกดมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท เป็นเวลา 2-4 ชม.ทำให้เกิดแผลกดทับ

ในบริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก จะทนต่อแรงกดทับได้ดี กรณีของแรงกดที่มากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตราย ต่อเนื้อเยื่อได้เท่ากับแรงกดบ่อยๆ แต่เป็นระยะเวลานาน

ขณะที่มีการนอนบนเตียงหรือนั่งบนรถเข็น ก็จะต้องมีการ เคลื่อนตัวของคนไข้ไม่ว่าจะเคลื่อนตัวเพื่อเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือทำความสะอาด เมื่อมีการถ่ายออกมาไม่ว่าจะเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ หรือแม้แต่เรื่องการอาบน้ำ การลุกจากรถเข็นมานั่งบนเตียง เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดการเสียดสีกับที่นอนหรือที่นั่ง ซึ่งการเสียดสี หรือการไถไปกับพื้น (ที่นอน, รถเข็น ฯลฯ) การไถหรือถู ทำให้เกิดแรงกระทำโดยตรงต่อชั้นหนังกำพร้า จะทำให้เกิด การปริแตกของเนื้อเยื่อได้เร็วขึ้น

แผลกดทับดูแลอย่างไร??
ในสภาพอากาศเมืองไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เกือบจะมีแต่หน้าร้อนกับฝนเท่านั้น แล้วเดี๋ยวนี้ ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนนี้จะทำให้เกิดขบวนการเมตาบอลิซึ่มของเซลล์ ทำให้เซลล์ขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะตายได้ในภาวะที่ร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส คุณรู้ไหมว่าเมตาบอลิซึ่มของร่างกายเรา จะเพิ่มมากขึ้นถึง 10% ทีเดียว รถเข็นที่คนไข้ใช้นั่งนั้น ทำให้เกิดการเพิ่มของอุณหภูมิบริเวณกระดูกที่ก้น ที่เราใช้ลงน้ำหนัก เวลานั่งหรือบริเวณต้นขามีอุณหภูมิมากได้ 0-10 องศาเซลเซียส น่าตกใจไม่ใช่เล่นเลย

ถ้าบ้านของท่านมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ท่านจะพบว่า ผู้สูงอายุเหล่านั้นจะเคลื่อนไหวช้าและน้อยลง ไม่คล่องแคล่วเหมือนก่อน การทานจะน้อยลง บางท่านก็มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ทำให้เกิด การเสริมสร้างเนื้อเยื่อได้น้อยลง ซึ่งเราจะพบว่าผู้ที่มีวัยสูงขึ้นเรื่อยๆ เวลาเป็นแผลแล้วจะหายได้ค่อนข้างช้ามาก นอกจากนั้น ความยืดหยุ่นของผิวหนังในผู้สูงอายุก็มีน้อย ซึ่งเราจะพบว่า ในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีการลดลงของความยืดหยุ่นของผิวหนัง ถ้าอายุมากกว่า 40 ปีไปแล้ว จะมีการลดลงอย่างรวดเร็วของเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนัง ถ้าในรายที่มีการกินอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ โดยเฉพาะพวกแคลเซียม ไนโตรเจนก็จะยิ่งทำให้การหายของแผลช้าลง

ส่วนรายที่มีการบวมน้ำ จะทำให้เกิดการขัดขวางทางเดินอาหาร และออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิดแผลกดทับ ง่ายมากขึ้นไปอีก

ในคนที่เป็นโลหิตจางการขาดเลือดไปเลี้ยงแผล เนื่องจากขาดฮีโมโกลบินที่จะเป็นตัวพาออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์น้อยลงไปอีก แผลจะหายช้า

ในภาวะที่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์ ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดแผลกดทับอีกด้วย

อาการของแผลกดทับ??
อาการของการเกิดแผลกดทับ คือ ผิวหนังบริเวณนั้น เป็นสีแดงขึ้น ต่อมามีการบวมอันเกิดจากสภาวะขาดเลือด ทำให้มีการปล่อยสาร ฮีสตามีน (Hisramine) ออกมา และสารนี้ ทำให้หลอดเลือดขยายตัวมีเลือดมาคั่ง ถ้าสังเกตให้ดีในช่วงนี้ เรายังพอรักษาให้หายขาดได้ ต่อมาจะมีการพองและการเน่าของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเป็นสีคล้ำ

แผลกดทับที่ผิวหนังที่เราเห็นเป็นเพียงเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วลึกลงไปใต้ผิวหนังจะมีการทำลายมากกว่าที่เห็นเสมอ เพราะผิวหนังมีความทนทานต่อการขาดเลือดได้ดีกว่าชั้นไขมันและกล้ามเนื้อ
การรู้จักสังเกตแผลกดทับมีความสำคัญมาก ถ้าเป็นในระยะแรกแล้วมีการรักษาแผลให้สะอาด หลีกเลี่ยงการกดทับซ้ำอีก แผลจะหายเป็นปกติได้ภายใน 5-10 วัน ถ้าเป็นมากจะทำให้ถึงตายได้ จากการติดเชื้ออย่างรุนแรง และการเสียโปรตีนและน้ำจะต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะ และการผ่าตัดเข้าช่วยเพื่อตัดเอาเนื้อส่วนที่ตายออก

แผลกดทับ ป้องกันอย่างไร??
วิธีดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ คือ 
  • ต้องหมั่นดูแลผู้ป่วย อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง สังเกตว่ามีลักษณะของการเกิดการอักเสบหรือไม่ ถ้าในรายที่จำเป็นต้องนั่งรถเข็น ต้องสอนให้รู้จักยกก้นหรือเอียงตัว ให้ด้านหนึ่งพ้นจากที่นั่งบ่อยๆ เช่นยก 30 วินาทีต่อทุกครึ่งชั่วโมง 
  • ต้องเลือกรถเข็นที่เหมาะสมด้วย ความกว้างของที่นั่ง ต้องไม่แคบควรจะกว้างพอจนไม่ทำให้เกิดมีการเสียดสีกับด้านข้างของขา ความสูงของที่นั่งต้องสูงพอที่จะร้องรับต้นขาได้ โดยความสูงวัดจากส้นเท้าถึงข้อพับที่เข่าบวกอีก 3 นิ้วฟุต ความลึกของที่นั่งต้องลึกพอที่จะพยุงต้นขาได้แต่ไม่ยาวจนชนข้อพับ ที่พิงหลังสูงเพียงพอ และเอียงทำมุมประมาณ 5-10 องศากับแนวดิ่ง และนอกจากนี้ต้องมีที่วางเท้า

มีผู้สนใจไม่น้อยว่าเตียงที่เป็นเตียงน้ำ (Water Bed) หรือเตียงลมมีประโยชน์แน่หรือ ?
คำตอบคือ มีประโยชน์เพราะเตียงเหล่านี้ลดการกดทับ ของแผลได้ เป็นการช่วยเฉลี่ยเวลาที่รับน้ำหนัก

แต่อะไรก็ตามไม่ดีเท่ากับการหมั่นสนใจดูแลผู้ป่วยที่ต้องนอนนานๆ หมั่นพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ สังเกตว่า เกิดการกดทับบริเวณที่มักจะเป็นบ่อยๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นหรือเปล่า ถ้าเกิดแผล ต้องรู้จักวิธีทำความสะอาดที่ดีและถูกต้อง โดยน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดแผล จะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ผสมกับน้ำเกลือในอัตรา 1:1 ถ้าในผู้ป่วยแผลใหญ่ มักจะใช้การแช่ผู้ป่วยในอ่างน้ำวน ซึ่งผสมยาฆ่าเชื้อโรคลงไป ถ้ามีการติดเชื้อต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะ (แพทย์จะแนะนำ) ร่วมด้วย ในด้านกายภาพบำบัดจะใช้อุลตร้าไวโอเลต อินฟาเรด ในการช่วยฆ่าเชื้อโรค

ในกรณีที่ต้องมีการผ่าตัดตกแต่งแผล (Flap) จะต้องเอาผิวหนัง (ส่วนใหญ่บริเวณหน้าขา) มาปิดแต่งบริเวณแผลที่เป็น ถ้าสุดวิสัย ที่จะรักษาได้วิธีสุดท้ายคือ การตัดอวัยวะที่เป็นแผลกดทับ ส่วนใหญ่จะเป็นแผลบริเวณขา เคยเห็นถุงมือเป็นยางสีครีมๆ ใช้ใส่น้ำแล้วรัดปากถุงมาวางใต้ตำแหน่งที่จะเกิดการกดทับ จะช่วยการกดทับโดยเฉพาะบริเวณตาตุ่ม เท่าที่ได้พูดถึง เรื่องการเกิดแผลกดทับมา คงจะพอเข้าใจได้บ้างไม่มากก็น้อย จะได้รู้วิธีการดูแลป้องกัน และการรักษา

 แหล่งข้อมูล
แผลกดทับ, ชลลดา คิดประเสริฐ
นิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 21 ฉบับที่ 312 กุมภาพันธ์ 2542

ภาพประกอบ :http://www.bapras.org.uk/guide.asp?id=320

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น