วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปวดหัวไมเกรน ปัจจัยกระตุ้นให้เกิด เลี่ยงได้ ก้อไม่ปวด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะตุบๆ อย่างรุนแรงโดยเริ่มจากบริเวณใกล้ดวงตา หรือบริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำๆ มักพบร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นอกเหนือจากอาการโรคทางกายแล้ว เพราะเวลาปวดจะรุนแรงและเกิดยาวนาน กว่าจะหายก้อต้องกินยาหรือพักผ่อนยาวนาน ทำให้มีอาการทางใจที่หวั่นวิตกว่าอาการปวดไมเกรนจะมาแวะเวียนเมื่อใด บางคนกลัวมากเสียจนเป็นอีกโรคหนึ่งตามมาคือโรคกลัวไมเกรน (Migraine phobia)

เอ!!! แล้วจะรู้ได้อย่างไรหล่ะ?”
 ตามมาฟังคำตอบจากเภสัชกรร้านยากันดีกว่าครับ ว่า
คำแนะนำในการรักษาโรคนี้ที่ดีที่สุด คือค้นหาและหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้ปวด

วิธีการรักษาปวดหัวที่ดีที่สุด
วิธีการรักษาในขั้นต้นก็คือ ค้นหาว่าอะไรคือปัจจัยใดที่กระตุ้นให้เรา เกิดอาการแล้วหลีกเลี่ยงเสีย เพื่อลดอาการปวดให้น้อยที่สุดเสียก่อนจะดีกว่า ไปวิ่งหาวิธีบำบัดรักษาหรือต้องมารับประทานยา อาหารเสริมร้อยแปด
 เอ!!! แล้วจะรู้ได้อย่างไรหล่ะ? ตามมาฟังคำตอบจากเภสัชกรร้านยาดังต่อไปนี้

เป็นไมเกรนต้องเลี่ยงอะไรบ้าง ?  ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรนมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ที่ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงมีดังต่อไปนี้

1. อาหารที่มีสารกระตุ้นอาการเริ่มแรกของไมเกรน เช่น ไนไทรต์หรือที่เรียกว่าสารเร่งเนื้อแดงซึ่งพบในเบคอน เนื้อฮอตดอก และเนื้อหมัก ไทรามีน พบในไวน์แดง ตับไก่ อาหารที่ใช้ยีสต์ แทนนิน พบมากในถั่วเปลือกแข็ง น้ำแอปเปิล องุ่น เบอร์รี่ ชา กาแฟ และไวน์แดง ซัลไฟต์ ที่ใช้ในการหมักไวน์และผลไม้แห้ง โมโนโซเดียมกลูตาเมตหรือผงชูรส นอกจากนั้นแล้วยังมีช็อกโกแลต เนยแข็ง อาหารทอด และผลไม้จำพวกส้ม

2. กินข้าวไม่ตรงเวลา ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากหิวหรือกินอาหารคาร์โบไฮเดรตขัดขาวมากเกินไป

3. อยู่ในภาวะขาดน้ำ ดื่มน้ำน้อยเกินไป รวมทั้งออกกำลังกายมากจนเสียเหงื่อมากเกินไป

4. ความเครียด และความวิตกกังวล

5. นอนหลับน้อย อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

6. อยู่ในที่ที่แสงจ้า หรือได้รับแสงจ้าเกินไป รวมทั้งการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

7. อยู่ในสถานที่หรือได้รับฟังเสียงดัง

8. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศแห้งหรือลมร้อนแห้ง อากาศร้อน หรือการอยู่กลางแดดนานๆ

9. กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์

10. การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายหรือการกินยาคุม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการเกิดไมเกรน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นไมเกรนมักจะมีอาการปวดในช่วงที่มีประจำเดือน ความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดมักจะมากกว่าในช่วงอื่น นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ ก็มักจะทำให้ปวดไมเกรนได้มากขึ้น

ทำอย่างไร จะหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นไมเกรน ?
หาสมุดมาเล่มนึง ครองสติทุกครั้งที่ปวดไมเกรน แล้วบันทึกเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

1. ให้จดบันทึกอาการของโรคไมเกรน

* วันและเวลาที่ปวด

* ระยะเวลาที่ปวด

* อาการอื่นๆที่พบร่วม เช่น คลื่นไส้อาเจียน สิ่งกระตุ้นเช่น แสง เสียง กลิ่น

* ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ คุณผู้หญิงอย่าลืมบันทึกเกี่ยวกับรอบเดือนด้วยครับ

2. บางอาการเราก็อาจจะไม่สังเกตเห็นหรือจำไม่ได้ ให้คนใกล้ชิดคอยสังเกตถึงอาการก่อนปวดศีรษะเช่น หิวข้าว หิวน้ำ หาวนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า แสง เสียง หนาวสั่น ปัสสาวะ แล้วบันทึกเอาไว้ด้วย

3. ไปหาหมอทุกครั้งให้นำบันทึกดังกล่าวไปด้วย เพื่อจะได้วิเคราะห์ได้แน่ชัดว่าปัจจัยใดแน่ที่เป็นสัญญาณนำกระตุ้นอาการปวดไมเกรน

4. ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าว เพื่อลดอาการ แต่ถ้ายังมีอาการปวดแย่ลงไปอีก ต่อไป ก้อถึงเวลาพบแพทย์เพื่อหาเลือกวิธีบำบัดได้แล้วครับ   

ตอนต่อไปพบกับความรู้ในการรักษา ยาที่ใช้อย่างไรให้หายปวดหัวไมเกรน

แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 12 มีค. 2556

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจาก http://www.understandmigraines.org/migraine-articles/what-causes-migraines-10-worst-offenders

ไมเกรน: สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน?โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ไมเกรน: โรคปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ช่วยด้วย ปวดหัวไมเกรน ตามมารับประทาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine หรือ Cafergot ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย


ฟลูนาริซีน Flunarizine สำหรับป้องกันการเกิดไมเกรนและวิงเวียน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Practice parameter: Evidence-based guidelines for migraine headache (an evidence-based review) Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology
Stephen D. Silberstein, MD, FACP and for the US Headache Consortium, http://www.neurology.org/content/55/6/754.long

The 2012 AHS/AAN Guidelines for Prevention of Episodic Migraine: A Summary and Comparison With Other Recent Clinical Practice Guidelineshead_2185 930..945 Elizabeth Loder, MD, MPH; Rebecca Burch, MD; Paul Rizzoli, MD,

Guidelines for the diagnosis and management of migraine in clinical practice
William E.M. Pryse-Phillips, MD; David W. Dodick, MD;
John G. Edmeads, MD; Marek J. Gawel, MD; Robert F. Nelson, MD; R. Allan Purdy, MD; Gordon Robinson, MD; Denise Stirling, MD; Irene Worthington, BScPhm, http://www.cmaj.ca/content/156/9/1273.full.pdf


ผศ.นพ.รังสรรค์  เสวิกุล, โรคไมเกรน,
ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,

ผศ.นพ.รังสรรค์  เสวิกุล, โอ๊ย! ไมเกรน
,ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=499

ไมเกรน,  http://haamor.com/th/ไมเกรน/

นิสิตเภสัชศาสตร์ นันท์ปกรณ์ ดีประดิษฐ์,  ไมเกรน, http://sirinpharmacy.wordpress.com/2011/05/16/ไมเกรน-migraine/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น