"ทำไมเราจึงต้องเป็นไมเกรนด้วยนะ? แย่จังเลย"
เป็นคำถามที่คนไข้ทุกรายที่พอปวดจี๊ด ตึงหัว เมื่อยามปวดไมเกรนจะถามตัวเอง
ก่อนมาถามเภสัชกรที่ร้านยา
มาฟังคำตอบกันว่า ในมุมของนักค้นคว้าวิจัย สาเหตุที่ทำให้เราต้องมีอาการดังกล่าว ทำไมนะ เกิดจากอะไร เพื่อที่ว่า เราจะได้ไปหาวิธีป้องกันและรักษากันต่อไป ให้หายขาด ไม่กลับมาปวดได้อีก
กลไกการเกิดโรคไมเกรน
เชื่อไหมครับว่า โลกหมุนไปไปไกลจนข้ามจักรวาล
แต่พื้นที่เล็กๆในหัวเรายามปวดไมเกรนขึ้นมา เรามีการศึกษาวิจัยมากมาย
แต่มีเป็นเพียงทฤษฎีและสมมุติฐานของอาการปวดเท่านั้น ซึ่งได้แก่
กลไกการเกิดโรคไมเกรน รูปประกอบจาก http://www.headaches.org/press/NHF_Press_Kits/Press_Kits_-_The_Pathways_Of_Migraine_Illustration
ไมเกรนเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในศรีษะ
ในยามปกติ
สมองเราจะมีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่
พอเส้นเลือดในสมองมีการหดตัว และเมื่อหลอดเลือดที่หดตัวขยายตัวออกไป จะทำให้มีอาการปวดศีรษะตามมา
จะพบได้ในกรณีคนไข้ปวดไมเกรนแบบออร่า เรามักจะปวดร้าวไปจนรู้สึกว่า
พบหลอดเลือดนอกกะโหลกศีรษะ มีการขยายตัวและเต้นตุ้บๆ จากความรุ้นี้เราก้อไปสรรหายาที่มีผลต่อการขยายและหดตัวของเส้นเลือดในสมอง
ถ้ากินไปแล้วไปลดการหดตัวของเส้นเลือดในสมอง ก้อน่าจะบรรเทาอาการปวดไมเกรน
ได้ซิน่า
แต่ทว่าก้อมีคนสงสัยอีกว่า ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายอาการนำก่อนปวดศีรษะชนิดไม่มีออรา
รวมทั้งอาการร่วมที่เกิดระหว่างไมเกรนว่าเกิดได้อย่างไร รวมทั้งการตรวจภาพหลอดเลือดสมอง
ก่อนเกิดอาการและระหว่างเกิดอาการ ก็ไม่สนับสนุนทฤษฎีนี้ และยาหลายตัวที่ใชรักษาไมเกนได้
ก้อไม่เกี่ยวกับเส้นเลือดแต่อย่างใด ลองมาฟังแนวคิดที่สองที่ยอมรับกันมากกว่า
ไมเกรนเกิดจากเซลล์ประสาท หลอดเลือด และสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติไป
ในสมองเราจะมีเซลล์ประสาทเรียงตัวกันเสมือนรางรถไฟยาวๆ
ยึกยักไปมา ในเซลล์สมองแต่ละเซลหรือหนึ่งโบกี้ ก้อจะมีการปล่อยสารสื่อประสาท ที่เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งในร่างกายเรานี่แหละ
ที่มีหน้าที่ส่งต่อสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทไปเรื่อยๆ เพื่อควบคุมร่างกายเราแต่ละส่วนต่อไป
หากมีสารสื่อประสาทบางตัวหลั่งออกมา
ก้อจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากเซลล์ประสาทในสมองเรานี่แหละ ถูกกระตุ้นไปเรื่อยๆ
จนไปกระตุ้นกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า Trigerminal nucleus พอคลิ้กปุ้บ ก้อจะปล่อยสารเคมีที่เป็นสื่อประสาทหลายชนิดออกมา
ก่อให้เกิดอาการปวดเข้าสู่หลอดเลือด นอกจากสารเคมีกลุ่มนี้ก่อให้เกิดอาการปวดแล้ว
ยังมีผลทำให้ หลอดเลือดขยายตัวอีกด้วย (Neurovascular theory)
จากจุดนี้เอง ยังได้มีการค้นพบว่าสารสื่อประสาทบางตัว
เช่น Dopamine และ Serotonin ที่มีบทบาทในการทำให้เกิดอาการต่างๆในไมเกรน ดังนั้นถ้าเราไปค้นยาที่หยุดการทำงานของสารสื่อประสาทต่างๆได้
ก้อน่าจะนำมา ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้นี่นา ทำให้ยาใหม่ๆที่ใช้ในการรักษาและค้นไปถึงว่าจะป้องกันได้มั้ย
จึงมาในทิศทางที่สนับสนุนแนวคิดสารสื่อประสาทนี้
ตอนหน้า
เรามาดูว่ายาอะไรที่ใช้รักษาโรคไมเกรนได้บ้าง?
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
สงวนลิขสิทธิ์ 11 มีค. 2556
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์
ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address
ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง
ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข
รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·
รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
ไมเกรน: สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน?โดย เภสัชกร
อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
ไมเกรน: โรคปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร โดย
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
ช่วยด้วย ปวดหัวไมเกรน ตามมารับประทาน โดย
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน
เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine หรือ
Cafergot ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย
ฟลูนาริซีน Flunarizine
สำหรับป้องกันการเกิดไมเกรนและวิงเวียน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
Practice parameter: Evidence-based guidelines for migraine headache (an evidence-based review) Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology
Stephen D. Silberstein, MD, FACP and for
the US Headache Consortium, http://www.neurology.org/content/55/6/754.long
The 2012 AHS/AAN Guidelines for Prevention of Episodic Migraine: A Summary and Comparison With Other Recent Clinical Practice Guidelineshead_2185 930..945 Elizabeth Loder, MD, MPH; Rebecca Burch, MD; Paul Rizzoli, MD,
Guidelines for the diagnosis and management of migraine in clinical practice
William E.M. Pryse-Phillips, MD; David W.
Dodick, MD;
John G. Edmeads, MD; Marek J. Gawel, MD;
Robert F. Nelson, MD; R. Allan Purdy, MD; Gordon Robinson, MD; Denise Stirling,
MD; Irene Worthington, BScPhm, http://www.cmaj.ca/content/156/9/1273.full.pdf
Migraine headache in adults, http://bestpractice.bmj.com/best-practice/monograph/10/treatment/step-by-step.html
ผศ.นพ.รังสรรค์ เสวิกุล, โรคไมเกรน,
ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine
Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,
ผศ.นพ.รังสรรค์ เสวิกุล, โอ๊ย! ไมเกรน
,ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine
Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=499
ไมเกรน,
http://haamor.com/th/ไมเกรน/
นิสิตเภสัชศาสตร์ นันท์ปกรณ์ ดีประดิษฐ์, ไมเกรน, http://sirinpharmacy.wordpress.com/2011/05/16/ไมเกรน-migraine/
Shaygannejad V, Janghorbani M, Ghorbani A,
et al. Comparison of the effect of topiramate and sodium valporate in migraine
prevention: A randomized blinded crossover study. Headache 2006; 46: 642-648.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น