วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ไมเกรน: สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน?โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

โรคปวดหัวข้างเดียว หรือโรคไมเกรน (Migraine) ในหน้าร้อนนี้อาการไมเกรนกิน (Migraine attack) ตามมารบกวนคนไข้หลายคนได้ทุกวัน ตอนนี้เราจะมาดูว่าสาเหตุของอาการปวดศีรษะขึ้นมาบ้าง เพื่อที่เราจะได้คอยสังเกตุอาการ และนำไปต่อด้วยการรักษาที่ไม่ให้ไมเกรนมากำเริบให้เราปวดหัวรำคาญขึ้นมาได้

สาเหตุที่แท้จริงของปวดศีรษะไมเกรนยังไม่มีใครทราบ
จริงๆนะครับ แต่จากการรวบรวมข้อมูลเราพบว่าสมองของผู้ป่วยเราที่เป็นไมเกรนจะมีอาการไวในการตอบสนองต่อทั้งสิ่งแวดล้อมนอกร่างกายมากเกินไป แล้วส่งผลต่อเนื่องให้ภายในร่างกายเรา ทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบขยายตัว จึงทำให้ปวดศีรษะตามมาในที่สุด
กลไกการเกิดโรคไมเกรน?
กลไกการเกิดโรคนี้ยังไม่แน่ชัด ปัจจุบันกำลังค้นพบข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ มีหลายทฤษฎีอันได้แก่
ภาพประกอบ: เชื่อว่าไมเกรนเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด 
มาจาก http://www.nytimes.com
ทฤษฎีเกี่ยวกับหลอดเลือด (Vascular theory)
ช่วงปี พ.ศ. 2483 แพทย์ Wolff ชาวอเมริกันอธิบายว่า อาการนำก่อนปวดศีรษะชนิด ออรา เกิดจากหลอดเลือดในสมองมีการหดตัว และเมื่อหลอดเลือดที่หดตัวขยายตัวออก จะทำให้มีอาการปวดศีรษะตามมา โดยพบว่าหลอดเลือดนอกกะโหลกศีรษะมีการขยายตัวและเต้นตุ้บๆ
จากความรู้เช่นนี้ทำให้เกิดแนวทางรักษาโดยการให้ยาช่วยให้หลอดเลือดหดตัว พอเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ก้อทำให้อาการปวดศีรษะลดลง ส่วนการให้ยาที่ขยายหลอดเลือด ทำให้อาการปวดศีรษะรุนแรงจะตรงกันข้ามไปทำให้ปวดหัวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายอาการนำก่อนปวดศีรษะชนิดไม่มีออรา รวมทั้งอาการร่วมที่เกิดระหว่างไมเกรนว่าเกิดได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นยาบางตัวซึ่งไม่มีผลในการหดตัวของหลอดเลือด แต่ก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ รวมทั้งการตรวจภาพหลอดเลือดสมองก่อนเกิดอาการ และระหว่างเกิดอาการ ก็ไม่สนับสนุนทฤษฎีนี้ ดังนั้นปัจจุบัน ทฤษฎีนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่ยอบรับกันเท่าไหร่แล้ว
        
ภาพประกอบ: ไมเกรนอาจเกิดเซลล์ประสาท ส่งสัญญานไปต่อๆกัน 
มาจาก medicalook.com
ทฤษฎีเกี่ยวกับเซลล์ประสาท หลอดเลือด 
และสารสื่อประสาทร่วมกัน (Neurovascular theory)
Leao ชาวบราซิล เป็นผู้เสนอในปี พ.ศ. 2487 ซึ่งอธิบายว่า เซลล์ประสาทในสมองบางตัวเกิดการตื่นตัว และปล่อยสารเคมีที่มีหน้าที่ส่งต่อสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทไปกระตุ้นเซลล์ประสาทใกล้เคียงให้ตื่นตัว และส่งต่อสัญญาณไปเรื่อยๆ
การที่เซลล์ประสาทถูกกระตุ้นนี้ นำมาอธิบายการเกิดอาการนำก่อนการปวดศีรษะของผู้ป่วยได้ เมื่อเซลล์ประสาทถูกกระตุ้นไปเรื่อยๆ จนไปกระตุ้นถึงกลุ่มเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Trigerminal nucleus ซึ่งจะปล่อยสารเคมีหลายชนิดที่มีผลก่อให้เกิดอาการปวดเข้าสู่หลอดเลือด นอกจากสารเคมีกลุ่มนี้ก่อให้เกิดอาการปวดแล้ว ยังมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัวอีกด้วย
จากทฤษฎีนี้ ยังมีผู้ต่อยอดค้นพบต่อไปอีก เช่นจุดเริ่มต้นของการเกิดไมเกรน น่าจะมาจากเซลล์ประสาทในก้านสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การทำ งานของหัวใจ หลอดเลือด และความเจ็บปวด และในสมองส่วนธาลามัส คือสมองส่วนกลางที่ควบคุมสมดุลการรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย เช่น ด้านเสียง แสง และการได้ยินดังนั้นเวลาปวดเราถึงมีอาการพ่วงตามมาหลายอย่างมากกว่าปวดหัวเพียงอย่างเดียวนั่นเอง
สุดท้ายนักวิจัยยังไปค้นพบว่า มีสารสื่อประสาทบางตัว เช่น โดปามีน (
Dopamine) และซีโรโทนิน (Serotonin) ที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดอาการต่างๆในไมเกรน ดังนั้นเราจึงคิดค้นยาใหม่ๆที่ไปสกัดห้ามการทำงานของสารสื่อประสาทตัวนี้ ก้อจะไปช่วยรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ในที่สุด 
อาจจะยุ่งยากไปหน่อย สำหรับกลไกของโรค แต่ก้อควรเข้าใจรู้ไว้ เพื่อไปต่อยอดในตอนหน้าว่าโรคไมเกรนมีอาการอย่างไร? เวลาเราเกิดอาการเตือนต่างๆขึ้นมาจะได้เตรียมตัวป้องกันและรักษาต่อไป ได้อย่างแน่นอนหายไวๆ

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับโรคไมเกรนนี้ สามารถสอบถามมาได้ที่
utaisuk@gmail.com หรือ facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL”  


แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 2 MAY 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·        ช่วยด้วย ปวดหัวไมเกรน ตามมารับประทาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล www.oknation.net/blog/print.php?id=316379
·        ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ www.oknation.net/blog/print.php?id=316983
·        ฟลูนาริซีน Flunarizine โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/01/14/entry-1
·        Migraine Management Guideline, http://drdavidson.ucsd.edu/Portals/0/migraine_flowchart.pdf
·        S.D. Silberstein et al., Evidence-based guideline update: Pharmacologic treatment for episodic migraine prevention in adults, Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology and the American Headache Society, http://www.neurology.org/content/78/17/1337.full
·        Headache, Diagnosis and Treatment of (Guideline), Institute for Clinical Systems Improvement http://www.icsi.org/guidelines_and_more/gl_os_prot/other_health_care_conditions/headache/headache__diagnosis_and_treatment_of__guideline_.html
·        S. Evers et al., EFNS guideline on the drug treatment of migraine – revised report, https://www.efns.org/fileadmin/user_upload/guidline_papers/EFNS_guideline_2009_drug_treatment_of_migraine.pdf
·        Vincenza Snow, MD , Acute Migraine Treatment Guideline, http://www.annals.org/content/139/7/603.3.full
·        PREVENTING MIGRAINES: NEW GUIDELINES, http://www.sportsconcussions.org/ibaseline/preventing-migraines-new-guidelines2.html
·        Migraine treatments and drugs, Mayo clinic, http://www.mayoclinic.com/health/migraine-headache/ds00120/dsection=treatments-and-drugs
·        Migraine Drug Information, http://www.healthcentral.com/migraine/find-drug.html
·        Medicines to Prevent Migraine Attacks , http://www.patient.co.uk/health/Migraine-Medicines-to-Prevent-Attacks.htm
·        กัมมันต์ พันธุมจินดา. แนวทางการรักษาไมเกรน. . Evidence-Based Clinical practice guideline ทางอายุรกรรม 2548. หน้า 208-219.
·        จุฑามณี สุทธิสีสังข์. พยาธิกำเนิดและยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน. Advances in Pharmacotherapeutics and Pharmacy practice 2006. หน้า 67-75
·        Constance Grauds, Treating Migraine and arthritis with Feverfew Pharmacy Times, July 1995 : 32-34
·        British Herbal Pharmacopocia, British Herbal Medicine Asscociation Printed by Megaron Press Ltd. UK. 1990;1:46-47
·        J.J. Musphy et al, Randonised double - blind placebo controlled Trial of feverfew in migraine prevention. The Lancet, July 23 1988:189-192
·        Feverfew - A new drug or an old wifes' remedy? The Lancet , May 11,1985:1084
·        Feverfew – Tanacetum parthenium, http://www.hsis.org/AZhealthsupplements/PDFs/Feverfew.pdf
·        Herbal migraine relief: feverfew (Tanacetum parthenium), Examiner.com , http://www.examiner.com/article/herbal-migraine-relief-feverfew-tanacetum-parthenium
·        Blackmores Migraine Aid product information, Blackmore, http://www.blackmores.com.au/products/migraine-aid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น