วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรค GBS แค่เป็นหวัด เกือบตายจริงหรือ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


เมื่อคืนใครได้ดูรายการตีสิบคงได้ยินชื่อโรค GBS หรือ Guillain - Barré syndrome ที่ฟังๆแล้วดูเหมือนน่ากลัว เพราะในรายการมีการบอกว่าใครเป็นหวัด หรือมีอาการติดเชื้อแล้วไม่รักษาให้หายดีจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ตามมา ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพฤต์ อัมพาตและอาจถึงตายได้อีกด้วย เพื่อความกระจ่างแจ้งของเรา เรามาลองรู้จักโรคนี้จากเภสัชกรกันดีไหม?

โรคชื่อแปลกๆนี้มาจากไหน?
GBS จริงๆแล้วเป็นชื่อเรียกกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร จากภาษาอังกฤษที่ว่า Guillain–Barré syndrome แต่หากออกเสียงตามฝรั่งเศสจะเรียกว่ากลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศสสามท่านที่ชื่อว่าค Guillain,  Barré และ Strohl ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการนี้ไว้ในปี ค.ศ. 1961 บางครั้งเรียกว่า อาการชาแบบแลนดรี (Landry's paralysis) ตามชื่อของนายแพทย์ชาวฝรั่งเศสที่ได้อธิบายโรคคล้ายกันนี้ ไว้ในปี ค.ศ. 1859 ก่อนหน้านั้น


รูปประกอบ: ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราเกิดทำหน้าที่ผิดปกติไป แทนที่จะไปทำลายสิ่งแปลกปลอม กลับหันมาทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทของเราแทน มาจาก http://www.panrc.com/princess_pa_foundation

โรค Guillain - Barré syndrome (GBS) คืออะไร?
Guillain–Barré syndrome เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) อย่างหนึ่งซึ่งเกิดกับระบบประสาทส่วนปลาย ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นโดยการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีการอักเสบของปลอกหุ้มของเส้นประสาทหลายเส้น อย่างเฉียบพลัน acute inflammatory demyelinating polyneuropathy (AIDP) โดยสาเหตุจริงๆแล้วเกิดจากที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราเกิดทำหน้าที่ผิดปกติไป แทนที่จะไปทำลายสิ่งแปลกปลอม กลับหันมาทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทของเราแทน ผลที่ได้คืออวัยวะไหนที่เส้นประสาทเหล่านั้นไปเลี้ยงอยู่ จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไป

ดังนั้นเราจึงเรียกจำแนกหรือเรียกว่ากลุ่มของโรค ซึ่งจำแนกออกได้เป็น
Acute inflammatory demyelinating polyneuropathy (AIDP) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดของ GBS
Miller Fisher syndrome (MFS) มักจะมีผลต่อกล้ามเนื้อตา โดยมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง,เดินเซ
Acute motor axonal neuropathy โรคชนิดนี้อาจจะเกิดตามฤดูกาลและฟื้นตัวได้รวดเร็ว
Acute motor sensory axonal neuropathy (AMSAN) ฟื้นตัวช้าและมักจะไม่สมบูรณ์
Acute neuropathy panautonomic มีอัตราการตายสูง
Bickerstaff’s brainstem encephalitis (BBE) ความผิดปกติส่วนใหญ่อยู่ใน brainstem โดยเฉพาะในไขสันหลัง

โรค Guillain - Barré syndrome (GBS) เกิดได้ง่ายๆจริงหรือ?
ไม่ใช่ว่าทุกคนเป็นหวัดแล้วรักษาไม่หายดีจะเป็นอย่างในรายการ แต่ความจริงแล้วโรค GBS กลับพบได้น้อยมากๆ เพราะมีโอกาสเกิดได้แค่ 1 หรือ 2 คน ในบรรดา 100, 000 คน ก้อเท่านั้นเอง

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ ตามที่เกริ่นไว้ อาการของโรคนี้จะมีอาการตามเส้นประสาทที่ไปเลี้ยง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อย่างไรก้อตามเราไม่อยากให้ทุกท่านเกรงกลัวจนมากเกินไป ดังนั้นอาการที่จะเล่าต่อไปนี้ ไม่ต้องการให้ตื่นเต้นตกใจ หากเราสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ขอความกรุณาไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยต่อไปจะแม่นยำกว่า  

กลับมาที่อาการของโรคที่เราจะพบได้ โดยทั่วไปอาการเปลี้ยของกล้ามเนื้อมักมีการกระจายไม่เท่ากันทั้งสองข้าง และอาการอ่อนแรงเป็นที่แขนขา มักจะมีอาการส่วนปลายมากกว่าส่วนต้น อันได้แก่
dysesthesias ชาหรือรู้สึกซ่า อาการชาปลายมือปลายเท้า ลักษณะอาการชามือบางครั้งลามมาถึงข้อมือคล้ายสวมถุงมือถุงเท้า โดยการกระจายของอาการชามักเป็นที่เท้า ก่อนกระจายมาที่ปลายมือ 2 ข้าง
oropharyngeal dysphagia คนไข้จะมีอาการน้ำลายยืด กลืนลำบาก หรือเคี้ยวอาหารไม่ได้
areflexia สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิ ที่จริงแล้วอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยใน GBS
orthostatic hypotention ภาวะความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ
arrhythmia หัวใจเต้นผิดจังหวะผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง อาจมีอาการหายใจลำบาก เนื่องจากเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจผิดปกติไป  ดังนั้นผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเนื่องจากการหายใจล้มเหลวได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคนี้
ทุกรูปแบบของโรคนี้เป็นเพราะภูมิคุ้มกันของเราหันมาทำร้ายตัวเอง ดังนั้นจึงมักพบการติดเชื้อมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือโดยปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ พอภูมิต้านทานเนื้อเยื่อ โจมตีเส้นประสาท ก่อให้เกิดความเสียหายที่ปลอกหุ้มเส้นประสาทซึ่งเป็น ไขมันชั้นฉนวนของเส้นประสาทเกิดการขัดขวางการนำกระแสประสาท สุดท้ายคือจะนำไปสู่การเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจจะมาพร้อมกับประสาทสัมผัสหรือประสาทอัตโนมัติถูกรบกวน

อีกสาเหตุหนึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือวัคซีนที่เราฉีดเข้าสู่ร่างกายเราอาจหันมาต่อต้านร่างกายเราเอง แต่อัตราการเกิด จะมีเพียง 1 ต่อล้านของวัคซีน เมื่อเทียบกับความเสี่ยงปกติ แต่ ตั้งแต่ปี 1976 ยังไม่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ไปเชื่อมโยงกับโรค GBS

ไปหาหมอ เขาจะตรวจอะไร
การวินิจฉัยที่รู้ว่าเป็นโรคนี้ ก้อคือแพทย์จะวิเคราะห์จาก ของเหลวจากน้ำไขสันหลัง โดยพบโปรตีนสูง แต่เซลล์เม็ดเลือดไม่สูงตาม แพทย์อาจเรียกให้มีการทดสอบ Electro diagnostic ของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อพบมี demyelization

ส่วนการรักษานั้น ควรรักษาโรคหรือการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ เพื่อให้อาการคนไข้พ้นภาวะวิกฤติโดยเร็วที่สุด ร่วมด้วย พร้อมๆกันนั้น เราจะได้รับการดูแลฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะสำคัญทั้งหมด เช่นต้องป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวทางเดินหายใจ

หลังจากนั้นการรักษา เราจะได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นกล้ามเนื้อส่วนที่สูญเสียการทำงานไป รวมไปถึงฟื้นฟูการพูดจาและการใช้ภาษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมให้มากที่สุด

แหล่งข้อมูล

Guillain-Barré Syndrome, Medicinenet.com,
http://www.medicinenet.com/guillain-barre_syndrome/article.htm

Guillain-Barré Syndrome Fact Sheet ,  Office of Communications and Public Liaison
National Institute of Neurological Disorders and Stroke

Michael T Andary, MD , Guillain-Barre Syndrome Treatment & Management

Guillain-Barré Syndrome , Treatments and drugs , Mayo Clinic, http://www.mayoclinic.com/health/guillain-barre-syndrome/DS00413/DSECTION=treatments-and-drugs

Guillain-Barré Syndrome , มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
, http://www.panrc.com/princess_pa_foundation/index_article_detail.asp?MID=1&CID=2

นพ.พาวฒิ เมฆวิชัย, ลักษณะทางคลนิ ิกของกลุ่มอาการ Guillain Barre ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา,
สาขาประสาทวทิ ยา กลมุ่ งานอายุกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสมี า จังหวัดนครราชสมี า, http://home.kku.ac.th/medicine/I-San/10.2/files2/04-Original.pdf

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา , คุณรู้จักโรค GBS หรือยัง?, กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด., http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20090921/77972/คุณรู้จักโรค-GBS-หรือยัง-.html

นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร, โรคของระบบประสาทส่วนปลายในผู้ป่วยวิกฤต Neuromuscular failure
,วารสารคลินิก เล่ม : 286 เดือน-ปี : 10/2551, http://www.doctor.or.th/node/7162

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น