วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


"คุณเภสัช มียาอะไรดีๆ ทาแล้ว แผลเป็นน่าเกลียดๆเนี่ย หายแว้บเลยมั้ยอ่ะ"ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ทุกคนต้องเคยประสบการณ์การมีแผลมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าต้นเหตุจะเป็นแผลจากอุบัติเหตุ แผลผ่าตัด แผลไฟไหม้ แผลสิว แผลจากโรคอีกสุกอีใส เป็นต้น ปัญหานี้ส่งกังวลใจคุณทั้งในระยะที่ยังเป็นอยากให้หายเร็วๆ และถ้าหายแล้วก้อยังเกรงว่าจะกลายเป็นปัญหาผิวได้อีก ที่ร้านยาเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อจึงมีคนไข้เด็ก สาวหนุ่มมาถามหาตัวช่วยไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือยาที่จะช่วยให้แผลหายเร็วๆและช่วยให้ไม่เป็นรอยแผลนูนแดงน่าเกลียด เรามารู้จักกลไกการเกิดรอยแผลดูก่อนไหมว่า ทำอย่างไรจะหายได้ทันใจ เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดแผลเป็นต่อไป


แผลทั้งหลาย มีอะไรมั่ง
คุณเคยเคยวิ่งหกล้มบ้างไหม พอเราล้มกระแทก อาจเกิดบาดแผลหรือแค่รอยถลอกที่เข่าและมือ เราจึงสามารถแบ่งลักษณะของแผลได้ตามการหายของเราได้ดังนี้
1. แผลที่มีกระบวนการหายของแผลตามปกติ (Acute wound)
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณลุกขึ้นมาจากการหกล้มได้ อาจมีแผลไม่ว่าจะเล็กจนไม่ต้องเย็บ หรือใหญ่มากจนต้องกินยาปฏิชีวนะหรือพบแพทย์ ถ้าหายเองได้ คุณก้อกลับมาเหมือนเดิม
2. Chronic wound แผลที่มีกระบวนการหายของแผลถูกรบกวนมาก
และแผลเหล่านี้จะไม่หายได้เองหรือหายช้ามาก การรบกวนที่ว่านี้ยกตัวอย่างเช่นหากเราล้มไปในถนนที่มีกรวดทรายที่ปะปนไปบนบาดแผลหรือรอยถลอก แล้วไม่มีการทำความสะอาดเพื่อชำระสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล ทำให้กระบวนการสมานรักษาแผลถูกรบกวนมากทำให้หายช้าลงหรือเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนเข้าไปอีก  
รูปประกอบ: ขบวนการหายของแผลตามธรรมชาติ จาก aip.org
ขบวนการซ่อมแซมร่างกาย การหายของแผลสด
ถ้าเราล้มลงไปแล้ว ผิวหนังเกิดการฉีกขาดเป็นแผลเล็กๆบนผิว ร่างกายเราจะมีขบวนการซ่อมแซม” ตรงรอยถลอกหรือแผล ดังมีขบวนการดังต่อไปนี้
1. Hemostasis phase เกิดขึ้นทันทีที่ร่างกายหรือผิวหนังได้รับการบาดเจ็บ หลอดเลือดที่มีการฉีกขาดจะมีการหดตัวเกิดการห้ามเลือดโดยธรรมชาติ โดยมีน้ำเหลืองซึ่งเป็นของเหลวจากเลือดที่มีสารเพิ่มภูมิคุ้มกัน (antibody) ของเราซึมเข้ามาในบริเวณแผลเพื่อปกป้องไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเช่นกรวดหินดินทรายรวมไปถึงเชื้อโรคต่างๆ
2. Inflammatory phase เกิดขึ้นภายใน 24 ชม. แรกหลังเกิดบาดแผลและอาจดําเนินต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ จะเกิดอาการร้อนบวมแดงรอบแผลมากขึ้นซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่มีเลือดมายังบริเวณแผลมากขึ้น เพื่อนำเอาเม็ดเลือดขาวและอาหารมาซ่อมแซม ยิ่งไปกว่านั้นต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอาจบวมโตขึ้น เป็นการตอบสนองต่อการช่วยตนเองในขณะที่ร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อที่อาจเล็ดลอดเข้ามาได้
3. Proliferation phase เริ่มประมาณวันที่ 3-5 มีการสร้างเนื้อเยื่อและเส้นเลือดและเส้นใยคอลลาเจนจํานวนมากระยะนี้แผลที่หายแลวจะดูบวม นูนและแดง
4. Remodelling Phase หลังจากที่แผลสมานปิดแล้ว อาจเกิดเป็นสะเก็ดซึ่งเป็น พลาสเตอร์ธรรมชาติ” เพื่อปกป้องบาดแผลในขณะที่กำลังจะหายตามมา เนื้อเยื่อข้างใต้แผลยังไม่หยุดนิ่ง ยังคงสานต่อขบวนการประสานเนื้อเยื่อเรื่อยๆกันจนกว่ารอยแผลที่โดนทำลายหรือฉีกขาดกลับมาเป็นเป็นเนื้อเยื่อปกติให้ได้มากที่สุด
รอยแผลเป็นที่เห็นกันทั่วไปจะเป็นรอยแผลเป็นที่ผิวหนังภายนอกเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงรอยแผลเป็นเกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในได้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่นถ้าหากมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ร่างกายเราจะมีการสมานสร้างเนื้อเยื่อใหม่ซึ่งเป็นคอลลาเจน (collagen) ขึ้นมาทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกฉีกขาดหรือถูกทำลายไป แล้วเข้าสุ่กระบวนการสมานรักษาแผลตามธรรมชาติต่อไป

สาเหตุของการเกิดบาดเจ็บหรือแผลเป็น
เมื่อใดที่ยามร้ายมาเยือนที่ทำให้เกิดแผลซึ่งได้แก่ แผลผ่าตัด แผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ แผลสิว แผลจากโรคสุกใส เหล่านี้เป็นต้น

รูปประกอบ: ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของแผลจาก http://www.worldwidewounds.com

ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของแผล
มีหลายเหตุเหลือเกินที่ทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ อันได้แก่
1. การอักเสบเรื้อรัง โรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคที่เกี่ยวของกับภูมิคุ้มกัน
2. การได้รับยาหรือสารบางชนิด
3. การขาดเลือดไปเลี้ยงที่บาดแผล เนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลมีปัญหา
4. การเคลื่อนไหวมากเกินไปของบาดแผล
5. การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ
6. การสูบบุหรี่
7. แรงกดทับต่างๆ
8. การทําแผลและการรักษาที่ผิดวิธี
9. อายุ

ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีใหม่ๆในการดูแลบาดแผลที่ดีมากขึ้นทั้งวัสดุทําแผลและขบวนการักษาและยาใหม่ๆ ตอนหน้าเรามาตามติดว่าทำไมจึงเกิดแผลเป็นและทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นน่าเกลียดต่อไป
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 17 พค. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและCopy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
สามารถติดต่อเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล ได้ที่ E-mail: utaisuk@gmail.com 
Face book: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “37C PHARMACY”
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://cosmetic-candy.com/wp-content/uploads/2010/07/Beauty-Mauve-Palty-Hair-Dye.jpg
โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3
  • Medscape wound management center,http://www.medscape.com/resource/wound-management
  • Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F. (2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) & Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
  • Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C. Decker, Inc. Electronic book
  • Midwood K.S., Williams L.V., and Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) : 1031-1037. 
  • Richard M Stillman, MD, Wound Care, WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
  • Jorge I de la Torre MD, Wound Healing, Chronic Wounds
  • , WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
  • Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing, Healing and Repair, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
  • ผศ.นพ.สรวุฒิ  ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
  • นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยการสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสานโรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  • นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น