วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจอย่างไร?


ที่มาเล่าเรื่องโรคนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้กลัวกังวลใจแต่อย่างใด สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก  คุณผู้ชายแทบทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นได้อยุ่แล้ว ดังนั้นยิ่งรุ้มาก ยิ่งเตรียมตั้งรับ ก้อยิ่งมีโอกาสหายไปใช้ชีวิตอย่างสบายใจ ไม่ดีหรือครับ? ดังนั้นถ้าการตั้งรับมือที่ดีที่สุดคือการไปตรวจร่างกายเพื่อให้พร้อมป้องกันได้ก่อน ตอนนี้เราจึงมาเล่าว่า ถ้าไปตรวจจะมีขบวนการอย่างไรบ้าง? เชื่อถือได้แค่ไหน?  

ทำไมต้องตรวจด้วยหล่ะ ?
ส่วนมากแล้วมะเร็งทุกชนิด มักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่มให้เห็น แต่จะมารู้ตัวว่าเป็น ก็แสดงอาการในระยะที่  2 ที่ 3 เข้าไปแล้ว ดังนั้น วิธีการตรวจคัดกรองหรือตรวจหาว่ามีความผิดปกติของการเกิดมะเร็ง จึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีในการระมัดระวังตัวเอง ให้ห่างไกลจากมะเร็ง

เวลาตรวจ จะรุ้ได้อย่างไร ?

มะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีในการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยง วิธีการดังกล่าวเรียกว่า พีเอสเอ (Prostate-specific antigen; PSA) ซึ่ง พีเอสเอ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก พีเอสเอ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อมอสุจิที่ทำให้มีลักษณะเป็นน้ำ ส่วนใหญ่ พีเอสเอ มักจะออกจากร่างกายระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ แต่มีปริมาณน้อยที่จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือด

          การตรวจวัดค่า พีเอสเอ ก็เหมือนกับการตรวจเลือดทั่วไปกล่าวคือ ค่า พีเอสเอ สามารถวัดได้จากการเจาะเลือด ระดับค่า พีเอสเอ จะถูกวัดโดยวิธีการทางห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า การวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันทางเคมี ซึ่งวัดค่าเป็นนาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ผลระดับค่า พีเอสเอ ที่สูงขึ้นหมายถึงสัญญาณของความผิดปกติของต่อมลูกหมาก

          โดยทั่วไป ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป มักมีค่า พีเอสเอ สูงกว่าผู้ชายอายุ 40 ปี สิ่งที่สำคัญของการมีค่า พีเอสเอ สูงขึ้นไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีมะเร็งต่อมลูกหมากทุกราย ซึ่งจะเน้นว่าการวินิจฉัย มะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตรวจเลือดหา ค่า พีเอสเอ เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องยึดหลักการตรวจร่างกายและซักประวัติครอบครัว ตลอดจนวัดผลจากการทดสอบต่อมลูกหมากต่อไป และแม้ว่าผู้ชายที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง ค่า พีเอสเอ ก็อาจจะค่อย ๆ สูงขึ้นตามอายุได้เช่นกัน

ผลจากการวัดค่า พีเอสเอ มีความหมายอย่างไร

          ถ้าการตรวจทางทวารหนักและค่า พีเอสเอ ปกติเป็นที่น่าพอใจ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจโรคเพิ่มเติม แพทย์อาจจะแนะนำให้มาตรวจทั้งทางทวารหนักและค่า พีเอสเอ ปีละหนึ่งครั้ง ถ้าค่าพีเอสเอสูงหรือการตรวจทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากมีความผิดปกติ แพทย์ก็จะนำชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ

          ย้ำอีกครั้งว่า การตรวจวัดค่า พีเอสเอ เพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่หนทางที่เพียงพอนัก จึงอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมทางทวารหนัก และพิจารณาจากอายุ ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำมาประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่อไป
อะไรเป็นสาเหตุให้พีเอสเอมีการเปลี่ยนแปลง

          บางครั้งค่า พีเอสเอ ที่สูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากเหตุผลอื่น ๆ นอกเหนือจากมะเร็งก็ได้ เพราะการมีต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้ส่งผลต่อระดับ พีเอสเอ ซึ่งรวมทั้งการตรวจทางทวารหนัก และการรับประทานยาก็อาจทำให้ค่า พีเอสเอ เปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อฮอร์โมน เป็นต้น

       
ควรตรวจ บ่อยแค่ไหน? 

          ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในยุโรป มีการแนะนำให้มีการตรวจต่อมลูกหมากปีละครั้ง สำหรับผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และคาดหวังว่าจะสามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้อย่างน้อย 10 ปี สำหรับผู้ชายที่มีอัตราเสี่ยงของ มะเร็งต่อมลูกหมาก จากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรได้รับการตรวจเริ่มต้นที่อายุ 45 ปี ส่วนผู้ชายอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหา มะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะเริ่มแรก การตรวจเพื่อหามะเร็งควรทำทันทีเมื่อมีอาการทางระบบปัสสาวะ

          สิ่งสำคัญที่ควรมีการตระหนักคือ การตรวจ พีเอสเอ เป็นเครื่องมือในการตรวจโรคของ มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การตรวจร่างกายประจำปีสามารถช่วยให้หลีกเลี่ยงการมีภาวะแทรกซ้อนของโรค มะเร็งต่อมลูกหมากได้

          ถ้าค่าพีเอสเอและการตรวจทางทวารหนัก ได้ผลเป็นปกติตั้งแต่เริ่มแรก แพทย์ผู้มีประสบการณ์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้มีการตรวจทั้งสองวิธีทุกปี




รูปประกอบ: การตรวจทวารหนัก เพื่อคลำตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก จาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Digital_rectal_exam_IT.jpg

เห็นบอกว่าต้องมีวิธีการตรวจทางทวารหนัก ทำอย่างไร

          การตรวจทางทวารหนักร่วมกับการตรวจค่าพีเอสเอ จะทำเมื่อมีการตรวจโรคหามะเร็ง หรือเมื่อมีการประเมินคนไข้ชายสำหรับปัญหาการถ่ายปัสสาวะ

          การตรวจทางทวารหนักเป็นการตรวจที่ง่ายและมีความสำคัญ คนไข้ที่ได้รับการตรวจทางทวารหนักจะนอนหงายงอตัวบนเตียงตรวจ หรือนอนตะแคงบนเตียง แล้วงอขาขึ้นให้เข่าชิดหน้าอก แพทย์จะใช้นิ้วมือที่สวมถุงมือที่ทาสารหล่อลื่นด้านนอกสอดเข้าไปในทวารหนัก เพราะต่อมลูกหมากอยู่หน้าต่อมทวารหนัก

          แพทย์จะตรวจได้ความรู้สึกว่าต่อมลูกหมากโตมากผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งการมีก้อนนูน มีรูปร่างหรือเนื้อผิวของต่อมลูกหมากที่บ่งบอกความเป็นไปได้ของการเป็น มะเร็ง ถึงแม้การตรวจทางทวารหนักทำให้คนไข้รู้สึกไม่สะดวก แต่ก็จะใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้นต่อการตรวจหนึ่งครั้ง

          มาถึงตอนนี้แล้ว เราจะได้หมดห่วงแล้วนะครับ ว่าการตรวจวัดค่าพีเอสเอ ร่วมกับการตรวจทางทวารหนัก มีจุดประสงค์เดียวคือเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก อย่าลังเลสงสัยไปเลยครับ รุ้ก่อน ปลอดภัยกว่าครับ



แหล่งข้อมูล

Ann Oncol. 2010 May;21 Suppl 5:v129-33. doi: 10.1093/annonc/mdq174.
Prostate cancer: ESMO Clinical Practice Guidelines for diagnosis, treatment and follow-up.
Horwich A, Parker C, Bangma C, Kataja V; ESMO Guidelines Working Group.
,Institute of Cancer Research and Royal Marsden Hospital, Sutton, UK., http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20555062

Clinical practice guideline for prostate cancer treatment.
Bibliographic Source(s)
Working Group of the Clinical Practice Guideline on Prostate Cancer Treatment. Clinical practice guidelines on prostate cancer treatment. Madrid: National Plan for the NHS of the MSC. Aragon Institute of Health Sciences (I+CS); 2008. 138 p. (Clinical practice guidelines in the NHS I+CS; no. 2006/02)., http://guideline.gov/content.aspx?id=16311

Current Care after Radical Prostatectomy in Patients with Localized Prostate Cancer
Sittiporn Srinualnad, M.D.
Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand., http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=113

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์, ต่อมลูกหมาก, หน่วยศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=6&typeID=18

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ, มะเร็งต่อมลูกหมาก
,วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ,
,http://www.vichaiyut.co.th/jul/31_02-2548/31_02-2548_P77-88.pdf

ต่อมลูกหมากกับการเกิดโรคและการดูแลรักษา
, อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท,

มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer), โรงพยาบาลพญาไท,

วินัย  เพชรช่วย
, เมื่อผมเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก,  http://www.bs2504.thport.com/articles/Cancer/Mycancer.htm

 การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก, สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,

รูปประกอบจาก
http://www.medindia.net/news/healthwatch/The-Utility-of-Early-Detection-and-Screening-of-Prostate-Cancer-Gets-Questioned-73935-1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น