โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คืออะไร?ต่อมลูกหมากโต คือสภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เนื่องจากตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะ ปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บ น้ำปัสสาวะลดลง คนไข้จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้
http://health.yahoo.com/men-prostate/prostate-gland-enlargement/mayoclinic
ภาพบนซ้ายและภาพขยายด้านขวาแสดงต่อมลูกหมากที่มีขนาดปกติ ส่วนภาพล่างซ้ายแสดงภาพต่อมลูกหมากโตผิดปกติ
สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต
- ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด
- อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) และฮอร์โมนเพศหญิงที่อยู่ในเพศชาย (female hormone-estrogen) ซึ่งอาจกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากเจริญรวดเร็วได้
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
- ปัสสาวะลำบากในช่วงต้นของการถ่ายปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
- รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
- ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน
- มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
- อาจมีอาการของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
- การตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก(Digital Rectal Examination or DRE) ซึ่งแพทย์จะใช้นิ้วสวมถุงมือสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่ ควรตรวจทุกปีในชายวัย 50 ปีขึ้นไป และในรายที่มีประวัติในครอบครัวอาจต้องปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการผิดปกติ
http://www.dilipraja.com/prostate-cancer.htm
การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
- ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
- ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ จะช่วยวินิจฉัยแยกการอักเสบติดเชื้อของต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ
- วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
- การตรวจระดับ PSA (prostate-specific antigen) คือตรวจหาสารโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก ซึ่งจะพบว่าเพิ่มสูงขึ้นในรายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโตผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง และการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก ซึ่งควรตรวจทุกปีในชายวัย 50 ปีขึ้นไป และในรายที่มีประวัติในครอบครัวอาจต้องปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการผิดปกติ แต่มักใช้ตรวจในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
- หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา วิธีรักษาขึ้นกับอาการและอาการแสดงของแต่ละราย
- ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น ยาประเภทยับยั้งเอ็นไซม์พวก Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers) ยาที่รักษาอาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ซึ่งการรักษาอาจเป็นการให้ยาหลายประเภทร่วมกัน
- รักษาด้วยความร้อน (การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก) สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ ข้อดีของการรักษานี้ก็คือสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยใน การรักษา
- รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก ส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้
- ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล
Ann Oncol. 2010 May;21 Suppl 5:v129-33. doi: 10.1093/annonc/mdq174.
Prostate cancer: ESMO Clinical Practice
Guidelines for diagnosis, treatment and follow-up.
Horwich A, Parker C, Bangma C, Kataja V;
ESMO Guidelines Working Group.
,Institute of Cancer Research and Royal
Marsden Hospital, Sutton, UK., http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20555062
Clinical practice guideline for prostate
cancer treatment.
Bibliographic Source(s)
Working Group of the Clinical Practice
Guideline on Prostate Cancer Treatment. Clinical practice guidelines on
prostate cancer treatment. Madrid: National Plan for the NHS of the MSC. Aragon
Institute of Health Sciences (I+CS); 2008. 138 p. (Clinical practice guidelines
in the NHS I+CS; no. 2006/02)., http://guideline.gov/content.aspx?id=16311
Current Care after Radical Prostatectomy in
Patients with Localized Prostate Cancer
Sittiporn Srinualnad, M.D.
Department of Surgery, Faculty of Medicine
Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand., http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=113
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูศักดิ์
ปริพัฒนานนท์, ต่อมลูกหมาก, หน่วยศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์,
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=6&typeID=18
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ, มะเร็งต่อมลูกหมาก
,วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ,
,http://www.vichaiyut.co.th/jul/31_02-2548/31_02-2548_P77-88.pdf
,http://www.vichaiyut.co.th/jul/31_02-2548/31_02-2548_P77-88.pdf
ต่อมลูกหมากกับการเกิดโรคและการดูแลรักษา
, อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท,
มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer), โรงพยาบาลพญาไท,
วินัย
เพชรช่วย
, เมื่อผมเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก, http://www.bs2504.thport.com/articles/Cancer/Mycancer.htm
การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก, สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,
ตรวจวัด พีเอสเอ หาความเสี่ยง
มะเร็งต่อมลูกหมาก (เดลินิวส์)
นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, http://health.kapook.com/view7096.html
นพ. ชนธีร์ บุณยะรัตเวช, ต่อมลูกหมากโต,
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,
http://www.chulalongkornhospital.go.th/unit/opdchula/opdchula/index.php?option=com_content&task=view&id=74&Itemid=61
http://www.chulalongkornhospital.go.th/unit/opdchula/opdchula/index.php?option=com_content&task=view&id=74&Itemid=61
ต่อมลูกหมากกับการเกิดโรคและการดูแลรักษา, อ.อุไรรัตน์
สิงหนาท, http://www.anticancerclinicthai.com/th/index.php?option=com_content&view=article&id=58:-m-m-s&catid=1:latest-news&Itemid=41
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น