วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคหอบหืด อาการโรคและยาที่ใช้

    โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม มีผลทำให้ผนังหลอดมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ และพบมากในคนที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
    อาการ
    - ไอ แน่นหน้าอก
    - เสมหะมาก
    - หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองหรือไปเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
    สาเหตุ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด
    - สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง , เกสรดอกไม้ , ขนสัตว์ , อาหารทะเลบางชนิด
    - ควันพิษและมลพิษอื่น ๆ เช่น ควันบุหรี่ สารเคมี หรือฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรม
    - ความเย็น ความชื้น
    - การติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น ติดเชื้อไวรัส
    - ความเครียด
    การดำเนินของโรค
    ภาวะหอบหืด ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม หลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ เกิดมีการหดเกร็งตัวของหลอดลม เยื่อบุหลอดลมบวม และมีการขับเมือกออกมา ซึ่งถ้าเป็นรุนแรง อาจก่อให้เกิดการหายใจล้มเหลว และสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง
    การรักษา
    ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการให้ดี ทุเลาขึ้น มีทั้งยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ และ/หรือ ขยายหลอดลม ซึ่งมีในรูป
    ยาหอบหืดที่ควรรู้จัก คือ
    1. ยาขยายหลอดลม จะใช้เมื่อมีอาการจับหอบ เพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว ยานี้ช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ยาออกฤทธิ์ภายใน 5-10 นาที และออกฤทธิ์อยู่ประมาณ 4-6 ชั่วโมง
    อาการข้างเคียงของยา ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูด ไม่ค่อยมีอาการข้างเคียงใด ๆ เพราะยาออกฤทธิ์โดยตรง ต่อปอด ตัวอย่างยาที่ใช้
    - กลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ เช่น Salbutamol (Ventolin) Terbulatine (Bricanyl)
    - กลุ่มแอนตี้โคลิเนอจิกส์ เช่น Ipratropium Bromide
    2. ยาควบคุมป้องกัน (Inhaled Carticosteroids) ยาชนิดนี้ ควรใช้ทุกวัน แม้ไม่มีอาการหอบ ต้องใช้พ่นสูด " ตามเวลาที่แพทย์สั่ง " ถ้าหยุดยาเอง อาการอาจกลับกำเริบ และถ้าพ่นขณะหอบ ยาจะไม่ช่วยให้อาการทุเลา
    ยากลุ่มนี้ใช้ควบคุม และป้องกันการบวม หรือการอักเสบของหลอดลม เพราะการบวมเป็นสาเหตุให้หลอดลมตีบแคบ มีเสมหะ หายใจลำบาก
    อาการข้างเคียงของยา การใช้ยา อาจเกิดอาการระคายคอ เสียงแหบแห้ง ควรบ้วนปากด้วยน้ำหลังพ่นสูดยา แต่ละครั้ง ยาสเตียรอยด์ แม้จะเข้าสู่ร่างกายปริมาณน้อย แต่ก็สามารถ
    รักษาอาการหอบหืดได้ ตัวอย่างยาที่ใช้
    - Beclomethasone (Beclofote) (Becotide)
    - Budesonide (Pulmicort)
    ข้อสังเกต เพื่อป้องกันการหยิบใช้ยาผิดประเภท
    - ยาพ่นสูดทุกวัน ตัวหลอดมักเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาล
    - ยาพ่นสูดเมื่อจับหอบ ตัวหลอดมักเป็นสีฟ้าหรือสีเทาหรือสีน้ำเงิน
    การสังเกตอาการตนเอง
    อาการปกติ
    - ปฏิบัติงาน และออกกำลังได้ปกติ
    - นอนหลับได้ตลอดคืน
    อาการกำเริบ
    - ไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติ
    - ตื่นมาหอบตอนกลางคืน
    - พ่นยาขยายหลอดลมบ่อยขึ้น
    - ได้ยินเสียงหวีดเวลาหายใจออก
    อาการรุนแรง
    - ไอหอบมาก
    - แน่นหน้าอก หายใจไม่เข้าปอด
    - ไม่สามารถพูดให้จบประโยค
    - อาการกระสับกระส่าย
    - อาการเกิดรุนแรง และเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
แหล่งข้อมูล
http://kanchanapisek.or.th/kp4/book244/helath.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น