น้ำท่วมที่เจิ่งนองขณะนี้ ในบางแห่งย่อมเป็นแหล่งกำเนิดของกองทัพยุงมากมาย เรามีข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เราได้รุ้จักยุงแต่ละชนิดและโรคร้ายที่อาจนำมาแพร่ถึงเราได้ เพื่อการป้องกันต่อไป ยุงที่พบในประเทศไทยนั้นมี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1.ยุงรำคาญ ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากยุงชนิดนี้จะบินไกลถึง 1-2 กิโลเมตร ซึ่งสามารถจำแนกยุงรำคาญที่มักพบในไทยได้ 3 ชนิด คือ 1.1.ยุงรำคาญ (Culex gelidus) มักพบตามท่อน้ำ ชอบบินข้างหู กัดเจ็บ แต่ไม่นำโรค แม้ในบางประเทศเคยมีรายงานการติดเชื้อไข้สมองอักเสบจากการโดนยุงชนิดดังกล่าวกัด แต่ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้สมองอักเสบจากการโดนยุงชนิดนี้กัด 1.2.ยุงรำคาญ (Culex quiquefasciatus) เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง แต่พบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 1 และ 1.3.ยุงรำคาญ (Culex Tritaeniorhynchus) ซึ่งพบว่ายุงชนิดนี้เป็นพาหะนำเชื้อไข้สมองอักเสบ เจอี แต่เนื่องจากประเทศไทยมีมาตรการในการให้วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบชนิดนี้อยู่แล้ว จึงไม่พบการระบาดของโรคนี้ โดยยุงชนิดนี้มักพบตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ม้า เป็นต้น | |||||||||||||
2.ยุงลาย พบประมาณ 10% ซึ่งลูกน้ำยุงลายสามารถเติบโตได้ในแหล่งน้ำนิ่ง และเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก แต่ธรรมชาติของยุงลายจะบินไม่ไกล ประมาณ 100-200 ม.ดังนั้น จึงไม่ควรมีแหล่งน้ำขังอยู่ภายในบ้าน หากเลี่ยงไม่ได้ควรที่จะหาทางลดการสัมผัสกับยุงโดยการจุดยากันยุง นอนกางมุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันยังเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยต้องไปพักที่ศูนย์พักพิงจำนวนมาก ทำให้อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ ทางกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จึงมีการเฝ้าระวังตามศูนย์พักพิงต่างๆ ซึ่งขณะนี้พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้น แต่ยังอยู่ในจำนวนที่น้อย ซึ่งยังไม่ถือเป็นนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม สำหรับยุงชนิดที่ 3 และ 4 คือ ยุงเสือ และยุงก้นป่อง โดยทั้งสองชนิดรวมกันมีรายงานการพบไม่10 % ซึ่งในส่วนของยุงเสือ จะพบตามผักตบชวา ซึ่งเป็นพาหะทำให้เกิดโรคเท้าช้าง ขณะที่ยุงก้นป่อง มีรายงานว่าพบตามแหล่งน้ำทิ้งบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดการระบาดของโรคมาลาเรีย เพราะการระบาดของโรคนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อยุงก้นป่องไปกัดคนที่เป็นมาลาเรียแล้วไปกัดคนอื่นต่อเท่านั้น "สำหรับตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึงปัจจุบันพบ 64,000 ราย เสียชีวิต 56 ราย ขณะที่ปี 2553 พบผู้ป่วย 100,000 ราย เสียชีวิต 100 ราย แหล่งข้อมูล
|
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
“ยุงประเภทไหน” ก่อให้เกิดโรคได้บ้าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น