ตามที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่า เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูจริงๆแล้ว เป็นเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง แต่หากเราเผลอไปรับเชื้อเข้ามา อาการโรคจะแสดงออกมาในช่วง 4-19 วันหลังรับเชื้อ ทั้งจากการ การติดต่อสู่คน โดยฉี่หนูที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง หรือสัมผัสโดยอ้อมผ่านทางสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำขัง อย่างเช่นน้ำที่ท่วมขังอยู่ระหว่างหรือหลังอุทกภัย มาดูวิธีการรักษาและป้องกันโรคนี้กันดีกว่า
โรคฉี่หนู คืออะไร ทำไมเราจึงติดต่อมาได้
โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยพาหะที่พบบ่อยที่สุดคือหนู แต่ความเป็นจริงแล้วหนูไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่เป็นพาหะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิดมีรายงานว่า เป็นพาหะของโรคได้ เช่น สุนัข แมว โค กระบือ และสุกร สัตว์เหล่านี้มีเชื้ออยู่ แต่มักไม่แสดงอาการ แต่จะมีเชื้อนี้อาศัย อยู่ในท่อไตและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
เมื่อคนสัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่น้ำท่วมขัง ที่ชื้นแฉะ ดินโคลน หรือพืชผัก เชื้อสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่เป็นแผลหรือเปื่อยยุ่ยจากการแช่น้ำอยู่นานๆ หรือเข้าทางเยื่อบุ เช่น ปาก ตา จมูก จากการดื่ม กิน น้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน หรือว่ายน้ำในบริเวณที่มีการปนเปื้อน เป็นต้น ดังนั้น การระบาดของโรคส่วนใหญ่จะพบในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว ซึ่งมักมีน้ำท่วมขัง หรือเมื่อเกิดอุทกภัย เกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้มีโอกาสสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น
จะรุ้ได้อย่างไร ว่าเป็นโรคฉี่หนู
การวินิจฉัยโรค เนื่องจากอาการของโรคไม่จำเพาะ จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในปัจจุบันวิธีการตรวจมาตรฐานเพื่อยืนยันโรคคือการตรวจหาแอนติบอดีในเลือด สามารถทำได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการที่มีความชำนาญเท่านั้น ดังนั้นหากมีอาการที่เล่ามาอย่าวางใจ แล้วรีบไปหาหมอทันที
โรคฉี่หนู รักษาอย่างไร
การรักษา แพทย์จะให้ยาตามอาการและภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้
• การให้ยาลดไข้ เมื่อมีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
• การให้ยาแก้ปวด
• การให้ยากันชัก
• การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
• การให้สารน้ำและเกลือแร่
การรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีโดยเฉพาะตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้หายป่วยจากโรคเกือบทั้งหมด ถ้าปล่อยให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นมีไตวาย ตับวาย เลือดออกในปอด อาจทำให้เกิดทุพพลภาพตามมาหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาโรคนี้ จะใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 5-7 วัน หากหยุดยาก่อนกำหนดอาจทำให้การรักษาล้มเหลวและเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นได้ ต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาก่อนกำหนดผู้ที่มีอาการรุนแรง
ควรให้ยา penicillin, tetracyclin, streptomycin, erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค
ผู้ที่มีอาการปานกลางอาจจะเลือกยาดังนี้
• doxycycline 100 mg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
• amoxicillin 500 mg วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน
การรักษาโรคแทรกซ้อน
• หากเกล็ดต่ำหรือเลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
• การแก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
• การแก้ปัญหาตับวาย
• การแก้ปัญหาไตวาย
การป้องกันโรคฉี่หนู
หากเราต้องเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู เช่น ผู้ประสบอุทกภัยอยุ่ในน้ำท่วมขังนานๆ ต้องคอยหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของตนเอง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล หากต้องเดินย่ำน้ำที่ท่วมขังควรสวมรองเท้ายาง หลังจากการสัมผัสน้ำสกปรกควรรีบชำระล้างด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้ผิวหนังแห้งอยู่เสมอ และปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสมีเชื้อปนเปื้อน เช่น บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ไม่เดินเท้าเปล่าย่ำน้ำหรือพื้นที่ชึ้นแฉะ ไม่แช่น้ำหรือว่ายน้ำอยู่นานๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรป้องกันโดยแต่งกายให้รัดกุม เช่น สวมรองเท้าบู๊ทกันน้ำ หรือชุดกันน้ำ
- เมือออกมาจากจุดน้ำท่วม ต้องรีบล้างทำความสะอาดผิวหนัง ขาและเท้าที่ย่ำน้ำมาให้สะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังที่มีแผลหรือรอยถลอกต้องสัมผัสกับน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ ควรใช้ปลาสเตอร์กันน้ำปิดแผล ใส่รองเท้ากันน้ำ ไม่ใช้น้ำที่ท่วมขังมาล้างแผล ภายหลังการสัมผัสน้ำท่วมขังต้องรีบทำความสะอาดแผลให้สะอาด
- ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด ควบคุมกำจัดหนู และหลีกเลี่ยงอาศัยอยู่ใกล้บริเวณที่มีสัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะของโรค
- บริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างผักผลไม้ให้สะอาด ล้างมือก่อนบริโภคอาหาร
สุดท้ายในฐานะเภสัชกรที่ตลอดเวลาก้อได้ทำหน้าที่ เภสัชกรชุมชนและที่บ้านก้อน้ำท่วมเช่นเดียวกัน ได้แต่ให้ความรุ้ให้เราได้รุ้เท่าทันอย่าตื่นตกใจไปเสียก่อน ไม่มีคำอวยพรใดจะดีไปกว่าเตรียมตัวให้พร้อมอย่างมีสติ และเก็บพลังความดีไว้ฟื้นฟูบ้านเมืองเราต่อไป “สู้ให้มีชีวิตรอด ต่อไป” นะครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 8 พย. 2554
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
รูปประกอบตามที่ระบุใน url addresss
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjiKWbd10jg4mo3Y-FflBHD2XDQZsCJgUgrXiR1ldIwQEGSbCkBbgr3KCfDVEjamS-2DAJjaGM3IV_UXQ6Ci46Pd0RWksu814ZsIUhbzHHDwjW4tO7H3tVX2rkdH4_T3QfUEalnMPCanYfX/s400/Noname1.jpg
·http://allaboutim.webs.com/Leptospirosis%20-%20Treatment.jpg
Judith Green-McKenzie, MD, MPH; Chief Editor: Rick Kulkarni, MD ,Leptospirosis in Emergency Medicine , http://emedicine.medscape.com/article/788751-overview
· Leptospirosis, http://www.leptospirosis.org/medical/professional.php
· Leptospirosis, Centers for Disease Control and Prevention 1600 Clifton Rd. Atlanta, http://www.cdc.gov/leptospirosis/
· ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงอภิฤดี เหมะจุฑา, เภสัชกรหญิงสิรินุช พละภิญโญ, เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ
"การใช้ยาในโรคที่มากับน้ำท่วม"
· ผศ.พญ.ดร.กนิษฐา ภัทรกุล "โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส…โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม"
· คู่มือวิชาการ โรคเลปโตสไปโรซิส , สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก 306 ถ.พิษณุโลก - วัดโบสถ์ หมู่ 5 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 , http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/Lepto.html
· ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุษณีย์ สุทธิสารสุนทร, ไข้ฉี่หนู Leptospirosis, Thai Travel Clinic, Hospital for Tropical Diseases, Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University, Bangkok, Thailand, http://www.thaitravelclinic.com/Knowledge/leptospirosis-thai-article.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น