วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคเก๊าฑ์ อาการและการรักษา


รูปเท้าที่มีอาการอักเสบจากโรคเก๊าทส์ http://www.herbal-ayurveda-remedy.com/home-remedies/images/PRinc_photo_of_inflamed_gout_toe.jpg

โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น  เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอนไปเรื่อย ๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริค ในเลือดสูงไปประมาณ 10-20 ปีแล้ว



รูปภายในเท้าที่มีปัญหาดรคเก๊าทส์ http://www.bknowledge.org/bknow/userfiles/image/bone/dieu-tri-benh-gout.jpg
ยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์งดอาหารใด ๆ ที่มียูริคสูงเลยและการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใดและเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วยที่มีอายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น   เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่า ๆ

อาการ 
อาการของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ  ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น  อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นหลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย

การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่

1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด

การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ว่าให้กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึก ที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4  เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบเป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้

2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้  การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง  ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมดผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ

 - ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
 การกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
 - เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด

ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา

มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย  แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้

แหล่งข้อมูล

โรคเก๊าฑ์  โดยนพ.สุเมธ เถาหมอ
http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=109

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น