วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า Mycoplasma pneumoniae คืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


จากข่าวทหารเกณฑ์สังกัดกรมทหารม้าที่ อุตรดิตถ์ มากกว่า 40 รายป่วยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลค่ายพระยาพิชัยดาบหัก แล้วมีข่าวลือว่าเนื่องจากมีอากาศติดเชื้อจากไวรัสชนิดรุนแรง ไข้หวัดนก โรคไข้หวัด 2009 ไปนจนถึงโรคไข้ซาร์ ลือกันถึงขนาดว่ามีถึงการเสียชีวิต ลงข่าวให้ชาวประชาตื่นตะหนกกันยกใหญ่ 

จากการตรวจสอบขณะนี้ ยังไม่มีทหารรายใดเสียชีวิต และจากทีมที่ขึ้นไปศึกษาลักษณะอาการและการรักษาของผู้ป่วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุเข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ 3 โรคได้แก่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ และไข้จากโรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า (Mycoplasma pneumoniae) เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยเรามารู้จักโรคติดเชื้อเหล่านี้กันก่อน จะได้รู้ตัวทั่วพร้อมและหาทางป้องกันเราและครอบครัวที่รักต่อไปจะดีไหม?


โรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า (Mycoplasma pneumoniae) คืออะไร
พบได้ในผู้ที่เป็นปอดบวมทั่วๆไป ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด ที่น่าสนใจคือการอักเสบของปอดจากเชื้อไมโคพลาสมา ถูกตั้งชื่อว่าเป็น เป็น “walking pneumoania” หรือ “ atypical pneumonia” เป็นการอักเสบของปอดที่ไม่รุนแรง หากคนไข้ไปติดเชื้อมา กลับไม่แสดงอาการทันที สามารถเดินไปมา ทำงานได้ตามปกติ
อาการโรคกลับเกิดในร่างเขาไปเรื่อยๆ อย่างช้า ๆ กินเวลาประมาณ 1 – 3 อาทิตย์
มีลักษณะอาการเหมือนกับเป็นไข้หวัดอย่างหนัก (bad cold)

เจ้าเชื้อโรคนี้คืออะไร มาจากไหนกันหล่ะ?
โรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่านี้เป็นโรคที่เกิดจากทางเดินหายใจ  เกิดจากเชื้อ  Mycoplasma เป็นเชื้อที่มีลักษณะเฉพาะ คือ ไม่มีผนังเซลมีแต่เยื่อหุ้มเซลอยู่ 3 ชั้นทำให้มีรูปร่างได้หลากหลายรูปแบบ ส่วนขนาดนั้นจะขึ้นอยู่ที่ไวรัสแต่ละตัว

Mycoplasma  ที่พบได้ในร่างกายคนเรา มักพบในลำคอ และทางเดินหายใจมีหลายชนิด  ปกติแล้วจะไม่ทำให้เกิดโรค มีแค่บางชนิด บางสายพันธ์เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะและอวัยวะเพศ แต่ที่ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจและปอดได้แก่ Mycoplasma 

ทำไมจึงติดโรคนี้มาได้หล่ะ?
โรคนี้อาจเกิดการระบาดของเชื้อได้  ทุกๆ 4-5 ปี ติดต่อได้ง่ายผ่านการไอ พบมากในเด็ก อายุ 5-25 ปี บ้านเราพบผู้ป่วยรายแรกในปี พ.ศ. 2518  โรคนี้มักจะเป็นร่วมกับผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือพวกที่เป็นโรค หอบหืด

โรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า ติดมาแล้วจะรู้ได้อย่างไร?
เมื่อเราตรวจสอบสุขภาพร่างกายของเราหรือคนที่รักแล้ว อย่าได้วางใจควรไปพบผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด แต่เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าติดโรคนี้เข้าให้แล้ว เรามีวิธีการตรวจขั้นต้นของ
อาการที่เกิดจากการอักเสบของปอดที่เกิดจากเชื้อตัวนี้ได้แก่:
·    ไอแห้งๆ Dry cough
ไอเป็นอาการสำคัญ เกือบตลอดเวลา
นั่นเป็นอาการสำคัญของคนไข้ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการมากในตอนกลางคืน
ทั้งนี้เพราะเวลานอนหงาย จะก่อให้มีน้ำคั่งที่ปอดได้มากกว่าการเดินไปมา
·    Flu-like symptoms and pain
ต่อไปหากไม่รักษา คนไข้จะมีไข้ หนาวสั่น และปวดเมื่อยตามตัว  ตามมาด้วยน้ำมูกไหล และ เจ็บคอ อาจเกิดตามมาจากการไอ ในช่วงแรกๆก้อได้
คนไข้จะมีอาการไอแห้ง ๆอย่างมากแล้วทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก ปวดท้อง ปวดหู และปวดตา บางรายอาจมีอาการปวดหัวตามมาก้อได้

·    อาการอื่นๆ
นอกจากอาการที่กล่าวมา หากได้รับการตรวจ เราจะพบว่าคนไข้มีเสียงของลมหายใจ (wheezing) หายใจตื้น และถี่
ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่คนไข้ตกอยู่ในภาวะเหนื่อยเพลีย (fatigue)
และอ่อนแรงจากอาการไอที่ติดต่อกัน

สรุปแล้ว หากอยู่มาเฉยๆ เรามีอาการไข้สูงกว่า 38 °ซ มีอาการไอแห้ง ๆ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ครั่นเนื้อตัว ปวดเมื่อยตัว ปวดศรีษะ และอาการเป็นติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบไปพบหมอ มีการตรวจร่างกายพบว่ามีเสียงของปอดผิดปกติ (crepitation หรือ wheezing ) เกือบทุกราย  

สุดท้ายอาจตรวจพบว่าเราอาจมีอาการปวดหน้าอกจากเยื้อหุ้มปอดอักเสบ (pleuritic pain) ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นอาการซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคนเป็นโรค mycoplasma pneumonia ตอนหน้าเรามาดูว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยง เอ้ะเราไปติดโรคนี้มาได้อย่างไร หรือหากลูกเราไปติดมาในช่วงเปิดเทอมนี่นา จะทำอย่างไรดี   

แหล่งข้อมูล

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 4 มิย. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบจาก 

http://www.thairath.co.th/content/region/265404

·    Mycoplasma pneumonia, U.S. National Library of Medicine , Department of Health and Human Services National Institutes of Health , Page last updated: 19 April 2012, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000082.htm
·    Mycoplasma pneumonia , emedicine.medscape.com,  http://emedicine.medscape.com/article/1941994-overview

·    Mycoplasma pneumoniae,
Centers for Disease Control and Prevention , U.S.A, http://www.cdc.gov/ncidod/dbmd/diseaseinfo/mycoplasmapneum_t.htm

·    Outbreaks of Mycoplasma pneumoniae Respiratory Infection -- Ohio, Texas, and New York, 1993, Centers for Disease Control and Prevention , U.S.A, http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00022322.htm

·    Michael Joseph Bono, et al.,
Mycoplasmal Pneumonia Treatment & Management, WebMD LLC. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-treatment

·    Dr J Macfarlane , BTS Guidelines for the Management of Community Acquired Pneumonia in Adults
British Thoracic Society Standards of Care Committee in collaboration with and endorsed by the Royal College of Physicians of London, Royal College of General Practitioners, British Geriatrics Society, British Lung Foundation, British Infection Society, British Society for Antimicrobial Chemotherapy, and Public Health Laboratory Service, http://thorax.bmj.com/content/56/suppl_4/iv1.full

·    วิมล เพชรกาญจนาพงษ์, Mycoplasma pneumoniae
, สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=933

·    นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์,
About Mycoplasma, http://vatchainan2.blogspot.com/2011/07/about-mycoplasma.html


·    นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์,
Mycoplasma pneumonia: Symptoms
เมื่อมีปอดอักเสบ จากเชื้อไมโคพลาสมา เกิดขึ้นกับท่าน
ท่านจะรู้ได้อย่างไร?, http://vatchainan2.blogspot.com/2011/07/mycoplasma-pneumonia-symptoms.html

·    รศ.นพ.สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย,
Principal pathology of infection
หลักการพยาธิวิทยาการติดเชื้อ, http://cai.md.chula.ac.th/chulapatho/chulapatho/lecturenote/infection/Pathology%20of%20infection/pathology%20of%20infection.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น