คุณพ่อคุณแม่ทุกคนก้อหวังให้ลูกน้อยกำเนิดเติบโตด้วยสุขภาพที่แข็งแรง
แต่ถ้าหากลูกรักของเราไปตรวจพบว่า เป็นโรคที่เรียกว่า ภาวะพร่อง จี-6-พีดี ซึงความจริงแล้วจัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่จัดว่าไม่รุนแรง
จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อบริโภคยา และอาหารบางกลุ่ม หรือติดตามมาจากเป็นโรคอื่นๆนำมาก่อน
เภสัชกรหนุ่มหล่อแต่ยังไม่มีลูก จึงห่วงใยขอแนะนำให้คุณๆหรือลูกรักที่มีภาวะเช่นนี้เกิดความกังวลจนเกินไป เรามาฟังคำแนะนำในการรู้จัก
ดูแลป้องกัน รักษา และมียาหรืออาหารอะไรบ้างที่เราต้องใส่ใจระมัดระวังกันดีไหม?
ภาวะพร่อง จี-6-พีดี (G-6-PD Deficiency) คือโรคอะไร
แต่ก่อนจะเรียกชื่อภาวะเช่นนี้ว่า โรคแพ้ถั่วปากอ้า (Favism) เนื่องจากคนไข้กลุ่มแรกๆที่เริ่มสังเกตได้ว่ามีอาการผิดปกติทำนองนี้ได้แก่ชาวผิวขาวในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่มีภาวะเช่นนี้อยู่จะแสดงอาการไม่สบายต่อเมือได้กินถั่วปากอ้า (fava bean) เข้าไป แต่ความจริงแล้ว G-6-PD Deficiency (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency) เป็นภาวะพร่องของเอนไซม์ที่ชื่อว่า G-6-PD (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) เป็นความผิดปรกติที่เกิดจากพันธุกรรมที่พบได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง พบได้ทั่วโลกคาดว่าประชากรมากกว่า 400 ล้านคนที่มีความผิดปรกตินี้ พบได้มากกับกลุ่มชนในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาตะวันออกไกล ในคนจีนพบประมาณร้อยละ 5 คน อเมริกันผิวดำร้อยละ 15 ยิวบางกลุ่ม (Kurdish Jews) พบสูงถึงร้อยละ 70
ภาวะพร่อง
จี-6-พีดี พบเยอะแค่ไหน
สำหรับประเทศไทยก็พบภาวะนี้มากเช่นกัน
อุบัติการณ์ในชายไทยพบได้ประมาณร้อยละ 3-18 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการวินิจฉัยและพื้นที่ทำการสำรวจ
แต่จากการศึกษาในกรุงเทพมหานคร พบว่าอุบัติการณ์ของภาวะพร่อง G-6-PD ในชายเท่ากับร้อยละ
10-12 ทั้งในประชาชนทั่วไปและทารกแรกเกิด ส่วนในหญิงพบน้อยกว่าประมาณ 8-10 เท่า
ภาวะพร่อง
จี-6-พีดี น่ากลัวแค่ไหน
ภาวะพร่อง
จี-6-พีดี เป็นโรคทางพันธุกรรมที่จัดว่าไม่รุนแรง จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อบริโภคยา และอาหารบางกลุ่ม
หรือติดตามมาจากเป็นโรคอื่นๆนำมาก่อน ไม่อยากให้คุณๆที่มีภาวะเช่นนี้เกิดความกังวลจนเกินไป
ถึงแม้ว่าคุณมีภาวะเช่นนี้ไปตลอดชีวิต แต่นานๆครั้งจึงจะแสดงอาการออกมาสักครั้ง ถ้ารู้จักที่จะหลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆที่จะได้เล่าให้ฟังต่อไป
สิ่งสำคัญทีสุดถ้าคุณมีภาวะนี้ติดตัวอยู่ เมื่อมีอาการไม่สบายและเมื่อจะใช้ยา คุณจะต้องบอกทุกคนในทีมสุขภาพที่ดูแลรักษาเพื่อจะได้ระมัดระวังในการใช้ยารักษา
รวมทั้งต้องระวังการรับประทานอาหารบางประเภท การไปสัมผัสกับสารเคมีบางอย่างที่จะมีผลต่อสุขภาพของคุณ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร
อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 8 มิย. 2555
ห้ามนำบทความ
รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ
รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy
url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข
รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
- ภาวะพร่อง จี-6-พีดี (G-6-PD Deficiency) โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
- www.oknation.net/blog/DIVING/2009/09/13/entry-2
- จี-6-พีดี ทำไมยาหรือสารบางอย่างจึงมีผลต่อโรคนี้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
- www.oknation.net/blog/DIVING/2009/09/14/entry-2
- จี-6-พีดี ยา อาหาร สารเคมีควรหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
- www.oknation.net/blog/DIVING/2009/09/16/entry-1
- จี-6-พีดี รักษาและดูแลอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
- www.oknation.net/blog/DIVING/2009/09/15/entry-1
- CLINICAL ASPECTS OF G6PD DEFICIENCY, http://www.rialto.com/g6pd
• Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase
Deficiency, THE G6PD DEFICIENCY HOMEPAGE, www.rialto.com
• Johns TE and Harbilas JW ,
Drug-induced Hematologic Disorders in Pharmacotherapy A Pathophysiologic
Approach, Dipiro JT editor, 4th edition, Appleton & Lange, Connecticut,
1999, p 1591-1592
• Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase
(G6PD) Deficiency genetic disorder,
www.g6pd.org
• Glucose-6-phosphate dehydrogenase
deficiency, E Beutler - British Journal of Haematology, 1970G6-PD deficiency,
www.medicinenet.com
• รายชื่อยาห้ามใช้ใน G-6-PD,
BANGLAMUNG HOSPITAL Department of Pharmacy,
http://rxbanglamung.wikidot.com/g6pd
• สมุดประจำตัวของผู้มีภาวะพร่องเอนไซม์
จี-6-พีดี ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
• วรวรรณ ตันไพจิตร
GLUCOSE-6-PHOSPHATE DEHYDROGENASE (G-6-PD) DEFICIENCY กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 2 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช
มหาวิทยาลัยมหิดล
• G-6-PD deficiency, www.mt.mahidol.ac.th
• เนตรทอง นามพรม คู่มือการดูแลผู้ป่วยที่ขาดเอนไซด์
จี 6 พีดี ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
cmnb.org
รูปประกอบ
- G6PD Deficiency Having a new baby in your life is intimidating.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น