วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดเสรีการค้าและบริการในฯประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เภสัชกรร้านยาต้องปรับตัวอย่างไร



ร้านยาเป็นวิสาหกิจขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่เปิดการมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งกำลังเผชิญกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนการประกอบกิจการที่สูงเกินกว่าที่ร้านขายยาจำนวนมากจะรับได้ การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นทั้งจากการแข่งขันภายในธุรกิจเดียวกัน จากคู่แข่งค้าปลีกดั้งเดิม ไปจนกระทั่งการเปิดเสรีการค้าและบริการ (FTA) และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หากมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เรามีบทความจาก ภก.ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี มาส่องให้เห็นภัยซ่อนเร้นหรือโอกาสในการเอาชีวิตเรา ร้านยารอดต่อไป

ตลาดร้านยา ลมหายใจที่ร่อแร่หรือร่าเริง
มูลค่าตลาดยารักษาโรคของไทยมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากร รวมทั้งรายได้ของประชาชนที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยจากการประเมินของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) พบว่าตลาดยารักษาโรคของไทยมีมูลค่าประมาณ 9.9 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยแยกเป็นการจำหน่ายยาให้แก่โรงพยาบาลรัฐ และเอกชนร้อยละ 73 จำหน่ายผ่านร้านขายยาร้อยละ 22 และคลินิกเอกชน และคลินิกปฐมภูมิร้อยละ 5

จากสถิติของกองควบคุมยาพบว่ามีผู้ขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
(ร้านขายยาประเภท ขย.1) จากสถิติในเดือนกันยายน 2552 รวมทั้งประเทศจำนวน 11,529 ร้าน แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 3,849 ร้าน และส่วนภูมิภาค 7,680 ร้าน เปรียบเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีร้านยารวมทั้งประเทศ 10,063 ร้าน แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 3,809 ร้าน และส่วนภูมิภาค 6,254 ร้าน
 
จากจำนวนร้านยาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบว่ามีสภาพปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาทิ
·     ร้านโชว์ห่วย ร้านขายยาแผนโบราณ สถานพยาบาลเอกชน ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต
·     ปัญหาการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษโดยไม่มีเภสัชกรผู้มีหน้าที่ ปฏิบัติการในร้านยา
·     ปัญหาร้านยาเปิดขายนอกเวลาทำการที่แจ้งไว้ เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาทำการที่แจ้งไว้ หรือไม่สามารถหาเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการแทนขณะที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการแจ้งเลิก แต่ยังคงมี การจำหน่ายยา นำมาซึ่งปัญหาการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาการนำไปใช้ในทางไม่เหมาะสม เป็นต้น

ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
ในร้านยาให้มีความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์จาก การใช้ยาหรือเกิดการแพ้ยาได้

อย
. ส่งเสริมร้านยา มาผิดทางหรือเปล่า?
ในปี
2553 นี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีนโยบายการบังคับใช้กฎหมายด้านยาแก่ร้านยาและเภสัชกรมากขึ้น จึงนำไปสู่การใช้ Good Pharmacy Practice (GPP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะนำมาใช้ในร้านยาเพื่อ เป็นทางรอดของร้านยาที่จะสามารถแข่งขันกับ ธุรกิจที่มีเงินทุนมากกว่าได้ โดยเสนอแนะให้มีการปรับตัวอย่างเร่งด่วน เช่น แนะนำให้ปฏิบัติงานโดยมีหลักการ คือ คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้ป่วยสำคัญกว่าการค้า มีการจัดส่งข้อมูลข่าวสารและเก็บประวัติผู้ป่วยอย่างเป็นระเบียบและใส่ใจ แสดงบทบาทเภสัชกรให้ชัดเจนโดยให้ติดตามผลการทำงานและปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ และที่สำคัญเภสัชกรต้องเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการบริการ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องของสมดุลระหว่างอุดมการณ์และการทำงานเลี้ยงชีพ คือความสุขบนความพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงอีกด้วย


ปัญหาแรกของ AEC แรงงานขาดแคลน
อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงร้านยากับการแข่งขันในการค้าเสรี ระดับ AEC (ASEAN Economic Community) แล้วจะมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการของไทยจากการเปิดให้มีการลงทุนและเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานอย่างเสรี ต่อไปแรงงานเฉพาะทาง เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ จะออกไปทำงานในต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนที่่ดีกว่า ขณะเดียวกันแรงงานจากประเทศอาเซียนจะข้ามมาทำงานในไทยเช่นกัน โดยนักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาจัดตั้งธุร กิจถือหุ้นได้มากถึง 70% ขึ้นไป เพื่อการได้ประโยชน์จาก AEC ซึ่งไทยจะทยอยให้ผู้ลงทุนถือหุ้นข้างมากใน ธุรกิจบริการต่าง ๆ ได้ ทำให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาเป็นคู่แข่งขัน มากขึ้น บุคลากรที่มีความสามารถก็จะสนใจทำงานให้ธุรกิจข้ามชาติมากกว่าธุรกิจเล็ก ๆ ในประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เอสเอ็มอีไทยขาดแคลนแรงงานเฉพาะทางอยู่แล้วต้องประสบปัญหาหนักขึ้นไปอีก

ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เวลานี้ความตื่นตัวของเอสเอ็มอีหรือร้านยา ไทยต่อผลกระทบยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากธุรกิจระดับนี้ ต้องดิ้นรนต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อให้ อยู่รอดเป็นอันดับแรก ดังนั้น ความใส่ใจที่จะเตรียมพร้อมรับวิกฤตในอนาคต จึงถูกจัดอันดับเป็นปัญหารอง อย่างไรก็ตาม ร้านยาจะอยู่รอดได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความ สามารถในการปรับตัวเพื่อพร้อมรับการแข่งขันที่สูงขึ้นก่อนที่จะเปิดการค้าเสรี การปรับตัวให้เป็นร้านยาคุณภาพก็เป็นอีกทางรอดหนึ่งของร้านยาได้เช่นกัน การค้าเสรีที่จะเข้ามาในปี 2558 นี้ ทุกคนต้องใส่ใจติดตามเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว และขณะนี้ก็ใกล้เวลามากแล้ว ถือเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม คู่แข่งในประเทศจะไม่ใช่คู่แข่งอีกต่อไป แต่กลับต้องเป็นพันธมิตรที่หันมาทำงานร่วม กันและช่วยเหลือกันให้มากกว่าเดิม

ร้านยา กับการค้าเสรี
ร้านยาเป็นธุรกิจขายปลีกโดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผลิตภัณฑ์ของใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการครองชีพประจำวันมาจำหน่าย โดยมีเภสัชกรมาให้ความรู้ความเข้าใจต่อประ ชาชนผู้ใช้ยาในการรักษาสุขภาพ (Patient Oriented Practice) ให้เป็นปรกติ ซึ่งถือเป็นการให้บริการทางวิชาการและวิชา ชีพต่อประชาชน

ร้านขายยาจัดเป็นการค้าบริการประเภทหนึ่งในกลุ่ม
G ว่าด้วยการขายส่ง ขายปลีกสินค้าทางเภสัชกรรม เวชภัณฑ์ และสินค้าทางการแพทย์ของกรมการพัฒนาธุรกิจ การค้า กระทรวงพาณิชย์ ส่วนร้านสะดวกซื้อก็จัดเป็นการค้าบริการอีกประเภทหนึ่ง ในเขตการค้าอาเซียนได้ตกลงที่จะใช้รหัสสถิติ Central Product Classification : CPC ของสหประชาชาติมาจำแนกประเภทของการค้าบริการที่จะเลือกเปิดเสรี ขณะที่สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะจัดตาม Standard Industrial Classification (SIC)

ส่วนอาชีพเภสัชกรจัดเป็นประเภทของการให้บริการสาขาวิชาชีพ (Professional) ถึงแม้ว่าจะมีการจัดประเภทการค้าบริการต่างกัน แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการเปิด การค้าเสรีได้ โดยนิยมทำเป็นบัญชีชื่อประเภทบริการของแต่ ละประเทศสมาชิกที่สามารถเลือกเปิดเสรีได้

ดังนั้น การค้าเสรีด้านบริการจึงเป็นเรื่องของการเลือกเปิดประเภทของบริการและการถือครองสัดส่วนการลงทุนในประเทศสมาชิก ถือเป็นการค้าบริการในรูปแบบการบริโภคในต่างประเทศ (Consumption Aboard) ซึ่งเป็นการให้บริการที่เกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศสมาชิกโดยมีลูกค้าต่างประเทศไปใช้ บริการ เช่น การท่องเที่ยวของไทยในต่างประเทศ การออกไปรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่าง ประเทศ หรือการค้าบริการในรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ ให้บริการ (Commercial Presence) เป็นการเข้าไปลงทุนจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า เช่น การจัดตั้งสาขา สำนักงานตัวแทน หรือบริษัท เป็นต้น ส่วนอาชีพเภสัชกรจะเป็นเรื่องของการอนุญาต ให้เภสัชกรต่างชาติเข้ามารับจ้างทำงานในประเทศไทย เป็นการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Person) ซึ่งเป็นการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพในสาขาบริการเป็นการชั่วคราวในประเทศลูกค้าโดยมีระยะเวลาที่แน่นอน

สำหรับองค์การค้าโลก (WTO) และ AEC ได้กำหนดให้การเปิดเสรีบริการเป็นประเภท Positive List Approach หมายถึงการเลือกประเภทบริการที่สมัครใจและ พร้อมจะเปิดเอง หรือเปิดตามคำขอ หรือจากการเจรจาระหว่างกันก็ได้ ซึ่งถือเป็นเอกสิทธิ์ของประเทศสมาชิกในการ ตัดสินใจที่จะนำไปสู่ข้อตกลงแบบฉันทามติร่วมกันในที่สุด

การเปิดตลาดการค้าบริการอาเซียน ร้านยาไทยจะละลายไหม?  
ในกรอบของอาเซียนที่กำลังดำเนินการไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในด้านการลงทุนเปิดกิจการค้าบริการกำหนดให้เป็นการเปิดแบบ Negative List Approach หมายถึงการระบุประเภทของการลงทุนที่ต้องการสงวนไว้ให้ประชาชนในประเทศตัวเอง ซึ่งประเภทที่ไม่ได้ระบุไว้ในปัจจุบันและเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตจึงเป็นการเปิดเสรีทั้ง หมด ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า Negative List Approach เป็นลักษณะของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความก้าวหน้าและเป็นเจ้าของทางเทคโนโลยี สูงกว่าประเทศอื่นที่จะเลือกเปิดในลักษณะนี้

โดยในส่วนของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าไทยได้ตกลงเปิดเสรีการค้าบริการด้านสุขภาพไปแล้วในเวที
AEC จนถึงปี 2558 ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่รายละเอียดว่าจะมีเงื่อนไขอย่างไรได้บ้าง และมีร้านขายยาอยู่ใน Package ที่เท่าใด แต่เท่าที่ทราบยังไม่ได้มีการกำหนดไว้ สำหรับเวที AEC ได้ตกลงที่จะให้ร้านขายยาจัดเป็นส่วนหนึ่ง ของบริการด้านระบบสุขภาพ (Healthcare) โดยมีเงื่อนไขกว้าง ๆ ให้ประเทศสมาชิกสามารถลงทุนในประเทศสมาชิก เป้าหมายได้ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไปในปี 2553 จึงจะเข้าข่ายได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุน อาเซียน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ห้ามสัดส่วนการลงทุนที่ ต่ำกว่าร้อยละ 70 เพียงแต่จะถือว่าไม่เข้าข่าย AEC ในกรณีนี้สัดส่วนการลงทุนอาจจะมาอยู่ที่ร้อยละ 49 ตามเงื่อนไขที่ไทยได้ตกลงไว้ใน WTO

ร้านขายยากับความสามารถในการแข่งขัน
การค้าเสรีในระดับ AEC จะมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการไทย เพราะนอกจากจะลดอากรขาเข้าจนได้ร้อยละ 0 แล้ว ยังจะเปิดให้มีการค้าบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือย่างเสรี ซึ่งรวมไปถึงแรงงานเฉพาะทาง เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก และนักบัญชี เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ก็จะออกไปทำงานยังต่างประเทศ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าง่ายขึ้น ขณะเดียวกันแรงงานเฉพาะทางจากอาเซียนจะเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ยิ่งบวกกับการเปิดโอกาสให้นักลงทุนอาเซียน สามารถเข้ามาจัดตั้งธุรกิจในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยถือหุ้นข้างมากได้ถึง 70% ขึ้นไปเพื่อการได้ประโยชน์จาก AEC ซึ่งไทยจะทยอยให้ผู้ลงทุนถือหุ้นข้างมากใน ธุรกิจบริการต่าง ๆ ได้ ทำให้นักลงทุนอาเซียนจะเข้ามาเป็นคู่แข่งขันมากขึ้น

ที่สำคัญสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เวลานี้ความตื่นตัวของ SME หรือร้านขายยาไทยต่อผลกระทบยังอยู่ในระดับ ต่ำ เนื่องจากธุรกิจระดับนี้ต้องดิ้นรนต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อให้อยู่รอดเป็นอันดับ แรก ดังนั้น ความใส่ใจที่จะเตรียมความพร้อมรับวิกฤตในอนาคตจึงถูกจัดอันดับเป็นปัญหารอง

ร้านยาจะได้ประโยชน์หรือไม่ขึ้นอยู่ที่
  • การปรับตัวเพื่อพร้อมรับการแข่งขันที่สูงขึ้นก่อนที่จะเปิดการค้าเสรี

    ต้องสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษมารองรับการค้าจากต่างชาติที่เพิ่มขึ้น
  •        ต้องมีการติดตามข้อมูล ศึกษากรอบข้อตกลงต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเองอย่างถี่ถ้วน อีกทั้งต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ทั้งด้านเทคโนโลยี การผลิตและการบริการ เช่น เปลี่ยนรูปแบบการขายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากที่เคยขายหน้าร้านธรรมดามาเป็นระบบ Internet มีเว็บไซต์ 2 ภาษาจะช่วยให้ขายได้ทั้งตลาดในและต่างประเทศ หรือจะใช้จัดซื้อผลิตภัณฑ์สินค้ายาที่มีคุณภาพควบคู่กับความรวดเร็วในการให้บริการ
  •        ส่วนสมาคม สถาบัน หรือสถาบันวิชาการ จะช่วยพัฒนาความพร้อมให้ผู้ประกอบการผ่านโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ สิ่งที่ยังน่ากังวลคือ ผู้ประกอบการไทยและภาครัฐยังให้น้ำหนักด้านการส่งเสริมธุรกิจไทยสู่อาเซียนน้อยเกินไป ส่วนมากจะมีแนวนโยบายในภาครวม แต่ยังไม่มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแบบลงลึกที่ชัดเจนและปฏิบัติได้
  •        การดำเนินธุรกิจแบบสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เชื่อมโยงธุรกิจเข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น ธุรกิจสปา ยาแผนไทย โดยมุ่งขยายตลาดไปประเทศอื่น


การค้าเสรีเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องใส่ใจให้มาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งขณะนี้ก็ได้เวลามาใกล้ตัวแล้ว และเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ซึ่งคู่แข่งในประเทศจะไม่ใช่คู่แข่งอีกต่อ ไป แต่กลับเป็นพันธมิตรที่ต้องหันมาทำงานร่วม กัน ช่วยเหลือกัน ต้องมีการศึกษาข้อมูลและกฎระเบียบของประเทศเป้าหมาย และพร้อมที่จะแสวงหาผลประโยชน์หรือจะเตรีย มรับมือได้อย่างไรในที่สุด

ตอนต่อไป ลองมาดูว่าถ้าเปิดเสรีจริงๆขึ้นมา ร้านยาและธุรกิจ SME ต่างๆควรจะมีแผนปรับตัวอย่างไร?

แหล่งข้อมูล:
·     สรุปผลการสัมมนา พัฒนาธุรกิจบริการก้าวสู่ตลาด AEC
www.dbd.go.th

·     บทความวิเคราะห์ AEC,
http://www.thai-aec.com/41

·     ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC 2015) : ยุทธศาสตร์ที่ประเทศไทยต้องปรับตัว www.gotoknow.org/blogs/posts/480747

·     ภก.ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี
ประชาคมอาเซียน เภสัชกรร้านยาได้หรือเสีย , การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2552 ของสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)  ,  http://www.thaipharmacies.org/webboard/13----/928--.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น