วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แผ่นยาติดผิวหนังเพื่อการคุมกำเนิด คืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

เดี๋ยวนี้เขามีกอเอี้ยะแปะติดผิวหนังเพื่อการคุมกำเนิดแล้วหรือคะ คุณเภสัชรูปหล่อช่วยตอบให้หน่อย 

มีซองคำถามจากคุณปุ๋ยแสนสวย เจ้าตัวอยากรู้มากเพราะระบุว่า  กินยาเม็ดคุมกำเนิดแล้วมีปัญหาอย่างแรงอ่ะ  จะไม่ตอบก้อเกรงใจเพราะคุณปุ๋ยตาถึง มองเห็นรูปทองชั้นในของเภสัชกรคนนี้ ที่ว่ากอเอี้ยะนั้นน่าจะเป็นแผ่นยาคุมกำเนิดชนิดติดผิวหนังที่ออกแบบมาเพื่อลดข้อเสียที่เกิดจากการใช้ยารูปแบบอื่นๆ และยังคงมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงอีกด้วย

กำเนิดเกิดใหม่ของแผ่นยาคุมกำเนิดชนิดติดผิวหนัง 

ทุกวันนี้การคุมกำเนิดที่คุณสาวๆนิยมกันเหมือนกินขนมคือการกินยาเม็ดคุมกำเนิด ในเม็ดยาเล็กๆที่กินกันอร่อยทุกๆวันนั้น รู้หรือไม่ว่ามันมีตัวยาที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิดเรียกว่า estrogen และ progestrogen ที่ไปออกฤทธิ์ขัดขวางไม่ให้ไข่ของคุณสาวๆไปปฏิสนธิกับตัวอสุจิของฝ่ายคู่รักได้นั่นเอง

แต่เราพบปัญหาว่า การกินยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นมักไม่สะดวก ต้องกินยาติดต่อกันทุกวั้นทุกวันนานถึง 21 หรือ 28 วันแล้วแต่ชนิดของยา จึงมักเกิดปัญหาลืมกินยา เผลอไปดังนั้นจึงพลาดไปตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจเยอะมาก ขนาดเจ้าตัวหลีกหนีไปใช้คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ก้อแล้วแต่ปัญหาก้อยังตามมาอีก พอไปใช้ฉีดคุมกำเนิด แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอยให้กังวลใจ พอเปลี่ยนไปใช้ยาฝังใต้ผิวหนังนอกจากเกิดปัญหาประจำเดือนหายไปหรือขาดๆเกินๆ เวลาฝังยังทำให้เจ็บปวดและหากไม่รักษาความสะอาดดีๆ อาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้อีก นักวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ทนเห็นคุณสาวๆเดือดเนื้อร้อนใจไม่ได้จึงได้คิดค้นพัฒนาแผ่นยาคุมกำเนิดชนิดติดแปะผิวหนัง ที่ลดข้อเสียที่เกิดจากการใช้ยารูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาแล้วให้หมดไป และยังคงมีประสิทธิภาพคุมกำเนิดอย่างแน่นอนได้อีกด้วยอย่างงามเป้ง 

อะไรอยู่ใต้แผ่นยาติดผิวหนัง จึงออกฤทธิ์คุมกำเนิด 

ถ้าลองหยิบแผ่นยาคุมกำเนิดชนิดติดแปะผิวหนัง (transdermal contraceptive patch) พิศดูจะเหมือนพลาสเตอร์แปะแผลทั่วๆไปน่านแหละครับ แต่ในแผ่นบางๆนั้นจะมีตัวยาสำคัญ 2 ชนิด คือ norelgestromin และ ethinyl estradiol ที่มีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนยาเม็ดคุมกำเนิดคือมันไปลดการหลั่งฮอร์โมน gonadotrophin จากต่อมใต้สมอง hypothalamusผลที่ตามมาที่เราต้องการก็คือคือมันไปยับยั้งการตกไข่และเปลี่ยนสภาพเยื่อมูกบริเวณปากช่องคลอดทำให้ให้อสุจิผสมกับไข่ได้ยาก จึงมีผลคุมกำเนิดได้ไง เจ๋งเป้งมั้ย? 

แต่ที่แตกต่างจากพลาสเตอร์ทั่วๆไป คือเมื่อแปะลงบนผิวของคุณปั้บ เนื้อพลาสเตอร์พิเศษนี้ ได้รับการออกแบบมาให้ปลดปล่อยตัวยาที่ว่ามา ให้ปริมาณตัวยาเข้มข้น สม่ำเสมอคงที่ และตัวยาสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้อย่างดีตลอดเวลาได้นานเนิ่นถึง 7-9 วัน

แล้วประสิทธิภาพคุมกำเนิดเป็นอย่างไรหล่ะ จากผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแผ่นยาติดผิวหนังชนิดนี้กับยาเม็ดคุมกำเนิดที่คุณคุ้นเคย เราพบว่าการใช้แผ่นยาติดผิวหนังติดต่อกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไปจะให้มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับการกินยาเม็ดคุมกำเนิดทุกประการเลย 

รูปประกอบ: ตำแหน่งที่ใช้แปะแผ่นแปะคุมกำเนิด จาก youngwomenshealth.org

ข้อควรระวังของแผ่นยาติดผิวหนัง 

อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดอาการข้างเคียงบางอย่าง เช่น อาการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ติดแผ่นยา มีอาการคันบ้างแต่มักจะเป็นช่วงแรกๆ คลื่นไส้ คัดตึงเต้านมหรือปวดศีรษะ ปวดหัวเหมือนยาเม็ดคุมกำเนิดแต่น้อยกว่า

ตอนหน้าเราจะมาตามต่อว่าเจ้ากอเอี้ยะแปะติดผิวหนังเพื่อการคุมกำเนิดของคุณปุ๋ยเนี่ยจะเหมาะกะสาวๆอย่างคุณหรือไม่ และวิธีใช้จะสะดวกเรียบง่ายกว่ายาเม็ดหรือไม่ หากคุณๆ อยากทราบทุกคำตอบของยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถตามอ่านได้จาก link แหล่งข้อมูลอ้างอิงข้างล่าง หรือถ้ามีคำถามเพิ่มเติม ขอความกรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “37C PHARMACY” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ 

แหล่งข้อมูล 

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 6 มิย. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

สามารถติดต่อได้ที่ E-mail: utaisuk@gmail.com  

Face book: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “37C PHARMACY”

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ 

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท http://men.mthai.com/content/4368

·         วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/01/entry-2

·         ยาเม็ดคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/13/entry-2

·         ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1

·         เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1

·         เริ่มต้นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/08/entry-1

·         ยาเม็ดคุมกำเนิด รับประทานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/11/entry-1

·         ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1

·         นพ.รุ่งโรจน์ ตรีนิติ, ยาเม็ดคุมกำเนิด,http://www.clinicrak.com/birthcontrol/lady_pills06.shtml

·         สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุลดำรง เหรียญประยูรสมชัย นิรุตติศาสน์อรรณพ ใจสำราญ. การวางแผนครอบครัว และเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. บริษัท ดีไซร์จำกัด70-274.

·         ชวนชม สกลธวัฒน์. การคุมกำเนิด. พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2538

·         Corson SL. Efficacy and safety of a monophasic and a triphasic oral contraceptive containing norgestimate. Am J Obstet Gynecol 1994;170:1556-61

·         Ortho EVRA Product Information, Ortho-McNeil-Janssen Pharmaceuticals, Inc. http://www.orthoevra.com/

·         Zieman M. The introduction of a transdermal hormonal contraceptive (Ortho Evra(TM)/Evra(TM)). Fertility and Sterility 2002;77(suppl 2):1-2

·         Abrams LS, Skee DM, Natarajan J, Wong FA, Anderson GD. Pharmacokinetics of a contraceptive patch (Evra(TM)/Ortho Evra(TM)) containing norelgestromin and ethinyl estradiol at four application sites. Br J Clin Pharmacol 2002;53:141-6

·         Audet MC, Moreau M, Koltun WD, Waldbaum AS, Shangold G, Fisher AC, et al. Evaluation of contraceptive efficacy and cycle control of a transdermal contraceptive patch vs. an oral contraceptive : a randomized controlled trial. JAMA 2001;285:2347-54

·         Creasy G, Hall N, Shangole G. Patient adherence with the contraceptive patch dosing schedule versus oral con-traceptives (abstract). Obstet Gynecol2000;95(suppl):605

·         Thorne EG, Roach J, Hall J, Creasy G. Lack of phototoxicity and photoallergy with a contraceptive patch (abstract). FASEB J 2001;14:A1341

·         Creasy G, Fisher A, Hall N, Shangold G. Effect of a contraceptive patch vs. placebo (PBO) on serum lipid profile (abstract). Fertil Steril 2000;74(suppl 1):S185

·         Abrams LS, Skee DM, Natarajan J, et al. Multiple-dose pharmacokinetics of a contraceptive patch in healthy women participants. Contraception. 2001;64:287-294

·         Skee D, Abrams LS, Natarajan J, et al. Pharmacokinetics of a contraceptive patch at 4 application sites. Clin Pharmacol Ther. 2000;67:159. Abstract PIII-71

·         Geoffrey H. Smallwood, Mary L. Meador, John P. Lenihan, Jr,Gary A. Shangold, Alan C. Fisher, George W. Creasy. Efficacy and Safety of a Transdermal Contraceptive System ,http://www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter9_4/Ortho.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น