วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จี-6-พีดี อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


หากลูกรักของเราไปตรวจพบว่า เป็นโรคที่เรียกว่า ภาวะพร่อง จี-6-พีดี ที่จัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่จัดว่าไม่รุนแรง จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อบริโภคยา และอาหารบางกลุ่ม หรือติดตามมาจากเป็นโรคอื่นๆนำมาก่อนเท่านั้น เรามาดูว่าหากมีตัวกระตุ้นหรือลูกรักมีอาการของโรคนี้แสดงออกมาจะมีอาการอย่างไรบาง อันตรายแค่ไหนกันดีไหม?


จี-6-พีดี (G-6-PD) ทำไมจึงมีอาการ?
 จี-6-พีดี (G-6-PD) เป็นชื่อเอนไซม์ กลูโคส-6ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (Glucose-6-phosphate dehydrogenase) จัดว่าเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดงอยู่แล้ว โดยมันมีหน้าที่ในการป้องกันการถูกทําลายของเม็ดเลือดแดงจากยา อาหาร หรือสารเคมีบางชนิดที่เข้ามาสู่ร่างกาย ในคนปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุอยู่ในกระแสเลือดได้ประมาณ 120 วัน ก็จะแตกสลายไปตามอายุขัย เม็ดเลือดแดงที่แก่ตัวแล้วจะเสื่อมสลายไปจำนวนหนึ่ง ในขณะเดียวกันจะมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่สร้างจากไขกระดูกมาทดแทน ดังนั้นในคนปกติจึงอยู่ในภาวะสมดุลทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง

รูปประกอบ: อาการของโรคนี้ ในเด็กอ่อนจาก http://i.ytimg.com/vi/RUTFrf-AgZo/0.jpg

จี-6-พีดี อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร?
แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่อง จี-6-พีดี ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะและอายุของเม็ดเลือดแดงเหมือนคนปกติเพียงแต่คนไข้ที่มีภาวะพร่องดังกล่าวจะขาดเอนไซม์จี-6-พีดี ในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกสลาย (Hemolysis) ได้ง่าย เม็ดเลือดแดงโดยรวมจึงมีชีวิตสั้นกว่าปกติ ถูกทำลายเร็วขึ้น ซึ่งถ้าหากมีการสลายของเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก จนไขกระดูกสร้างขึ้นใหม่ทดแทนให้ไม่ทัน ก็จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางที่เรียกว่า โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) อาการที่ผู้ป่วยแสดงออกได้แก่ มีอาการเหนื่อยง่าย หายใจสั้นๆ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ซีดลง เพลีย ปัสสาวะสีเข้มเหมือนน้ำปลาหรือน้ำโค้ก สีของตาขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรืออาการซีดเหลือง บางคนอาจจะมีไข้สูง หนาวสั่น ตับโต ม้ามโตตามมาก็ได้

ตอนหน้าตามมาดูว่ามีสาเหตุอะไรบ้างนะที่คนที่มีภาวะพร่องเช่นนี้ ต้องระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแสดงของโรค

แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 13 มิย. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

 
  • จี-6-พีดี ทำไมยาหรือสารบางอย่างจึงมีผลต่อโรคนี้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
  • www.oknation.net/blog/DIVING/2009/09/14/entry-2
 
  • จี-6-พีดี ยา อาหาร สารเคมีควรหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
  • www.oknation.net/blog/DIVING/2009/09/16/entry-1
 
 
  • CLINICAL ASPECTS OF G6PD DEFICIENCY, http://www.rialto.com/g6pd


             Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency, THE G6PD DEFICIENCY HOMEPAGE, www.rialto.com

             Johns TE and Harbilas JW , Drug-induced Hematologic Disorders in Pharmacotherapy A Pathophysiologic Approach, Dipiro JT editor, 4th edition, Appleton & Lange, Connecticut, 1999, p 1591-1592

             Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase (G6PD) Deficiency genetic disorder,  www.g6pd.org

             Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency, E Beutler - British Journal of Haematology, 1970G6-PD deficiency, www.medicinenet.com

             รายชื่อยาห้ามใช้ใน G-6-PD, BANGLAMUNG HOSPITAL Department of Pharmacy, http://rxbanglamung.wikidot.com/g6pd

             สมุดประจำตัวของผู้มีภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช

             วรวรรณ ตันไพจิตร GLUCOSE-6-PHOSPHATE DEHYDROGENASE (G-6-PD) DEFICIENCY กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 2 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล

             G-6-PD deficiency, www.mt.mahidol.ac.th

             เนตรทอง นามพรม คู่มือการดูแลผู้ป่วยที่ขาดเอนไซด์ จี 6 พีดี ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ cmnb.org

รูปประกอบ
http://hot-breaking-news-masternewstoday.blogspot.com/2011/05/does-your-child-have-g6pd-deficiency.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น