วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



ตอนที่แล้วเราได้พาคุณไปรุ้จักการเกิดแผลชนิดต่างๆมาแล้ว แต่ถ้าหากพลั้งเผลอไปมีแผลแล้วเข้าให้ จะทำอย่างไรดีให้แผลหายเร็วๆ ขณะเดียวกันก้อไม่อยากให้เกิดแผลเป็นด้วยนะ ขอเชิญติดตามเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อแนะนำต่อไปครับ
  
ทำไมต้องเกิดรอยแผลเป็นด้วยหล่ะ

หากมีดบาดนิ้วคุณไปหนึ่งจึ้ก เราจะพบว่าร่างกายคุณจะมีขบวนการรักษาแผลที่เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อออกไป โดยจะมีการสร้างเนื้อเยื่อซึ่งเป็นโปรตีนที่เรียกว่า คอลลาเจน collagen มาทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกฉีกขาดหายหรือถูกทำลายไป ต่อเมื่อแผลหายดีแล้ว ที่คุณๆกังวลก้อคือการเกิดก็รอยแผลเป็นไว้ตรงบริเวณที่เกิดแผลมาก่อนนั่นเอง

รูปประกอบขบวนการหายของแผล 

4 Phases of Healing. Nutrition and the Wound Healing Process จาก

yourhealthywounds.com

ทำไมบางคนมีรอยแผลเป็นได้ง่ายมาก

เคยสังเกตุไหมว่าแผลที่มักทำให้เกิดรอยแผลเป็น แผลผ่าตัด แผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ แผลสิว แผลจากโรคสุกใส ที่เกิดขึ้น บางคนเกิดเป็นได้ง้ายง่าย ในขณะที่บางคนโชคดีกว่า ไม่ค่อยเกิดก้อมี ต้องมาเข้าใจก่อนว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลเป็น ในแต่ละคนมีอะไรบ้าง

1. ขั้นตอนการเกิดแผลเป็น  คือเมื่อเกิดแผลแล้ว ตรงตำแหน่งของแผลหรือการฉีกขาดของเนื้อเยื่อจมีความรุนแรงมากน้อย แผลตื้นหรือลึกเพียงใด ไปทำลายถึงเนื้อเยื่อล่างๆลงไปด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่นหากคุณหกล้มจนเข่าเกิดบาดแผลเพียงชั้นบนของผิวเล็กน้อยในระดับของหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นบางๆ ชั้นนอกสุด เมื่อแผลหายดีแล้วก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นนิดหน่อยเช่นกัน ร่างกายคุณจะซ่อมแซมได้เอง เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งรอยแผลเป็นจะค่อยๆจางหายไปได้เอง ถ้าไม่สังเกตุอาจจะมองไม่เห็นรอยแผลเป็นเลยก็มี

แต่ถ้าหากมีการฉีกขาดเจาะลึกลงถึงชั้นหนังแท้หรือลึกกว่านั้นลงไป ตัวอย่างเช่นประสบอุบัติเหตุรถชน มีแผลบาดลึก ฉีกขาดไปจนถึงชั้นของกล้ามเนื้อหรือกระดูก คราวนี้หล่ะ งานใหญ่ในการซ่อมแผลจะยากมากว่าเดิม เมื่อหายดีแล้วอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ให้รำคาญใจได้

2. ขั้นตอนการรักษาแผลให้หาย ถ้าเกิดแผลขึ้นมาแล้ว ถ้ามีการดูแลรักษาแผลอย่างดี จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ผลที่ตาามารอยแผลเป็นก็จะลดน้อยลงไปได้ แต่ถ้าหากดูแลรักษาไม่ดี ปล่อยให้มีความสกปรกหรือติดเชื้อซ้ำเติมลงไป จะทำให้แผลหายช้าและเกิดรอยแผลเป้นได้มากกว่า

3. ขบวนการสมานแผลเในแต่ละคนตามธรรมชาติ เมือแผลหายเแล้ว ย่อมต้องเกิดรอยแผลเป็นที่มีลักษณะเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลและนูนขึ้น แต่ทว่าในแต่ละคน จะมีเมื่อขบวนการซ่อมแผลแตกต่างกันไป จากการวิจัยเราพบว่าในเด็กโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่ ในวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยกว่าในวัยอื่นๆ คุณผู้หญิงจะมีโอกาสการเกิดแผลเป็นได้บ่อยและมากกว่าผู้ชาย ในคนผิวคล้ำจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนผิวขาว และสุดท้าย หากพ่อแม่ของคุณเคยเกิดแผลเป็นได้น้อยมากแถมยังสมานตัวไว คุณเองก็จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้น้อยลงเช่นกัน ขึ้นอยุ่กับพันธู์กรรมที่ได้ถ่ายทอดมานั่นเอง

ชนิดของรอยบาดแผล ชนิดไหนที่เกิดแผลเป็น

ตอนที่แล้วเราได้อธิบายอย่างละเอียดถึงชนิดของรอยบาดแผลมีมากมายหลายชนิด แต่ที่เป็นปัญหาของการเกิดแผลเป็นจะมีดังนี้

1. รอยแผลเป็นนูนหนา Hypertrophic scar คือแผลเป็นที่มีรอยสีแดงและนูนขึ้นมาจากผิวหนังปกติ อยู่ในขอบพื้นที่ของรอยแผลที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของแผลเดิม แผลเป็นชนิดนี้เกิดจาการสร้างคอลลาเจนมากเกินไป และมักไม่ขยายกว้างขึ้นเกิดจากรอยโรคเดิม

2. คีลอยด์ Keloid คุ้นหูกันดีแล้วนั่นคือแผลเป็นที่มีอาการนูนและแดงคล้ายกับรอยแผลเป็นนูนหนาข้างบน แต่กลับมีความผิดปกติบางประการที่ไปเร่งให้ เกิดการขยายรอยนูนดังกล่าว กว้างขึ้นออกไปสู่เนื้อเยื่อรอบๆรอยของแผลตอนแรกเริ่ม
   
ทำอย่างไร ป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็น 

เมือเกิดแผล สิ่งสำคัญอย่างแรกในการลดรอยแผลเป็นคือ

1. ต้องรีบลดสาเหตุและระดับความรุนแรงของการเกิดแผลให้เร็วที่สุด อย่าให้แผลเกิดลึกมากหรือถูกทำลาย

2. ถ้าเกิดแผลขึ้นมาแล้ว ต้องดูแลรักษาทำความสะอาดแผลอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งเพื่อให้แผลหายเร็วที่สุด หากคุณยิ่งรักษาแผลหายเร็วเท่าใด โอกาสในการเกิดแผลเป็นก็จะน้อยลงเท่านั้น คุณเองสามารถเริ่มต้นดูแลแผลได้โดยหากมีการเกิดแผลเล็กน้อย การล้างหรือเช็ดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ แล้วปิดแผลให้ปราศจากเชื้อ เราไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้อ เช่น โพรวิโดนไอโอดีนชะลงที่แผลโดยตรง เพราะมีผลเสียต่อการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายช้า ลงไปอีก แต่ถ้าหากคุณไปมีแผลที่เลือดไหลไม่หยุด แผลขนาดใหญ่หรือแผลลึกมาก แผลที่เกิดจากแมลงพิษกัด แผลบริเวณข้อต่อหรือข้อพับ และแผลที่มีอาการร้อนบวมแดงอักเสบ และปวดรุนแรงหรือเป็นหนอง แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อชะล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเพื่อลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นต่อไป

3. เสริมปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยเร่งต่อการหายของแผลเร็วที่สุดเพื่อลดการเกิดแผลเป็นให้น้อยที่สุด ได้แก่ การใช้ยาคอร์ติโคสตีรอยด์บรรเทาอาการอักเสบไม่ให้รุนแรงต่อเนื่อง การกินสารอาหารให้ครบหมู่และเพียงพอ ลดการสูบบุหรี่ รักษาสภาวะอุณหภูมิให้อุ่น มีความชุ่มชื้น รักษาความเป็นกรดด่าง ph 7.4 และเพิ่มเติมก๊าซออกซิเจน จะทำให้แผลจะหายได้ดีขึ้น อาจเสริมสารอาหารวิตามินซี และธาตุสังกะสี ในเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายระหว่างมีแผล


ตอนหน้าหากต้องเกิดแผลเป็นนูน การรักษารอยแผลเป็นมีกี่วิธี 
อันตรายไหม ช่วยลดรอยแผลได้จริงหรือ ต้องทำอย่างไร

แหล่งข้อมูล


เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 18 พค. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·      รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3

·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 2: ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/13/entry-1
·      รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_17.html

·      Medscape wound management center,http://www.medscape.com/resource/wound-management
·      Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F. (2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) & Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
·      Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C. Decker, Inc. Electronic book
·      Midwood K.S., Williams L.V., and Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) : 1031-1037.
·      Richard M Stillman, MD, Wound Care, WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
·      Jorge I de la Torre MD, Wound Healing, Chronic Wounds
·      , WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
·      Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing, Healing and Repair, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
·      ผศ.นพ.สรวุฒิ  ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
·      นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, การสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน, โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
·      นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น