รักษารอยแผลเป็นได้ผล จะเชื่อใครดี?
เปิดดูโทรทัศน์
อ่านนิตยสาร หรือเปิดอินเตอร์เนท คุณจะพบว่ามีผลิตภัณท์หรือสถาบันต่างๆมากมาย มาประโคมโอ่ว่าตัวเองเป็นทางเลือกในการรักษารอยแผลเป็นให้หายไปได้
เราจะเชื่อเขาได้ไหม ในฐานะเภสัชกรชุมชนก็เหือนกับคุณน่านแหละที่เราจะได้รับสื่อต่างๆมากมาย
แต่เราจะมีแนวความคิดในการรับข้อมุลและตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คือมีการทดลองโดยผู้ชำนาญการ
มีขบวนการที่ตรวจสอบอ้างอิงได้ ในที่นี่ขออ้างอิง The International Clinical
Guidelines for Scar Management 2002 แหล่งข้อมูลนี้ คุณๆสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่
link ข้างล่างครับ ให้ข้อมุลที่น่าเชื่อถือและมีรายละเอียดเยอะมากๆ
การรักษาแผลเป็นที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือว่าได้ผลและปลอดภัยที่ผ่านมามีขบวนการรักษาและผลิตภัณท์มากมายไปหมด
แต่พอเข้าสู่ขบวนการรักษาและตรวจสอบจริงๆแล้ว กลับพบได้ว่าการรักษาแผลเป็นที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือเพียงพอมีไม่กี่วิธีเอง
อันได้แก่
เป็นการรักษาที่นำแผ่นซิลิโคนใส
ที่ออกแบบและสังเคราะห์ออกมาเป็นพิเศษ นำไปใช้กับแผลเป็นที่มีสีแดงหรือสีคล้ำหรือนูน
ซึ่งในการนำไปใช้ มีรายงานว่าจะช่วยให้สีของแผลจากลงและแผลแบนราบลงได้ แต่แผ่นเจลซิลิโคนนี้ไม่ควรจะใช้ในขณะแผลเปิด
ควรเริ่มใช้ทันทีที่แผลปิดสนิทหรือหลังตัดไหมสำหรับแผลเย็บ โดยปิดแผ่นเจลซิลิโคนนี้ทับแผลเป็นหรือคีลอยด์ที่อาจจะเกิดขึ้น
เป็นระยะเวลานานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน หรืออาจเริ่มต้นด้วยระยะเวลาน้อยๆก่อน และค่อยๆเพิ่มเวลามากขึ้นๆ
ขึ้นจนมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน จะไปมีผลช่วยให้แผลเป็นนี้ยุบลงได้ โดยที่ไม่มีอาการระคายเคืองให้เจ็บแผลแต่อย่างใด
แต่ขบวนการรักษาเช่นนี้ ต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนจึงจะทำให้ผิวกลับสุ่สภาพดังเดิมได้มากที่สุด
ภาพประกอบ: ภาพการใช้แผ่นเจลปิดแผลเป็น มาจาก http://www.changesplasticsurgery.com
ทำไมจึงได้ผล ยังไม่ทราบกลไก แต่เราพบว่าเจ้าแผ่นนี้จะมีคุณสมบัติเป็น semi-occlussive คือปกป้องแผลได้ในขณะที่ไม่ยอมให้น้ำผ่าน แต่ไอน้ำ ความชุ่มชื้น และอ๊อกซิเจนผ่านไปซ่อมแซมแผลได้ (รายละเอียดการรักษาแผลให้หายเร้วกรุณากลับไปอ่านในตอนที่ 2 นะครับ) และแรงกดจากแผ่นนี้ที่ทาบลงไปอยู่ตลอดเวลาบนแผลเป็น จะไปช่วยให้ลักษณะของแผลเป็นดีขึ้นได้
ทำไมจึงได้ผล ยังไม่ทราบกลไก แต่เราพบว่าเจ้าแผ่นนี้จะมีคุณสมบัติเป็น semi-occlussive คือปกป้องแผลได้ในขณะที่ไม่ยอมให้น้ำผ่าน แต่ไอน้ำ ความชุ่มชื้น และอ๊อกซิเจนผ่านไปซ่อมแซมแผลได้ (รายละเอียดการรักษาแผลให้หายเร้วกรุณากลับไปอ่านในตอนที่ 2 นะครับ) และแรงกดจากแผ่นนี้ที่ทาบลงไปอยู่ตลอดเวลาบนแผลเป็น จะไปช่วยให้ลักษณะของแผลเป็นดีขึ้นได้
แผ่นซิลิโคนใสนี้
สามารถนำมาล้างทำความสะอาด ใช้สบู่ฟอก ใช้น้ำสะอาดล้าง แล้วผึ่งให้แห้ง นำมาใช้ปิดแผลเป็นได้จนกว่าจะปิดไม่อยู่
ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้นาน 14-28 วัน
ภาพประกอบ: ฉีดยาคอติโคสเตียรอยด์ มาจาก Intralesional corticosteroids. Scar treatments
วิธีการนี้ทำเองที่บ้านไม่ได้ครับ
เราต้องฉีดยาสเตียรอยด์ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น โดยจะเลือกใช้ยาคอติโคสเตียรอยด์หรือภาาาชาวบ้านที่เรียกว่ายาแก้อักเสบแบบสเตียรอยด์น่านแหละครับ
ที่เราเลือกใช้มากคือ triamcinolone acetonide เข้าไปยังใต้ตำแหน่งของแผลเป็น จะช่วยให้แผลเป็นปุ่มปูดโปนนั้นนุ่มลงและแบนราบลงได้
กลไกที่ทราบของยาคือมันนี้จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของ
fibloblast และส่งเสริมการทำลายคอลลาเจนที่แผลเป็น ทำให้แผลเป็นยุบตัวลง ยานี้ควรใช้ร่วมกับการรักษากับการใช้แผ่นซิลิโคนใส
แล้วยังไม่หายดี แพทย์ผู้ชำนาญการจะเป็นผู้วินิจฉัยรอยแผลโรคและให้การรักษา พร้อมกับดูแลไปตลอด
4-6 สัปดาห์ ผลข้างเคียงที่ต้องระวังคือทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บขณะที่ฉีดยา และต้องมาฉีดเป็นระยะ
ตามที่แพทย์นัด นอกจากนี้ในบางรายอาจทำให้ แผลยุบตัว และสีผิวเปลี่ยนได้
การผ่าตัด
แน่นอนที่สุดหากแผลใหญ่มากมีการทำลายของชั้นเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง
เราต้องพึ่งพาการผ่าตัดเพื่อไปช่วย จัดตำแหน่งร่องรอยแผลเป็นให้ดูดีขึ้นได้มากกว่าเดิม
หลักการก็มีอยู่ว่า การผ่าตัดจะไปแก้สภาพสูญเสียของแผลเดิมให้น้อยลงไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดแผลเป็นใหม่ตามขึ้นมาแทนที่แผลเป็นเก่า
แต่แผลใหม่นี้เราจะให้การรักษาให้แผลใหม่หายเร็วมากกว่าเดิมและ ต้องป้องกันการเกิดแผลเป็นควบคุ่ไปด้วยเสมอ
จึงทำให้ลดรอยแผลเป็นเดิมๆลงไปได้ และแผลใหม่ก้อมีร่องรอยแผลเป้นน้อยมากกว่าเดิม ผลโดยรวมที่ได้คุณก็จะมีผิวใหม่ที่ใกล้เคียงผิวสวยเดิมๆมากที่สุด
วิธีการผ่าตัดและเครื่องมือทันสมัยต่างๆ
เช่นการผ่าตัดด้วยด้วยแสงเลเซอร์ แสงอินฟาเรดต่างๆ ให้ผลดีต่อการรักษา ไว้ตอนต่อไปจะมาขยายความให้ฟังนะครับ
การปล่อยให้แผลเป็นจางลงเองตามธรรมชาติ
คุณเชื่อหรือไม่ว่าร่างกายคุณเองน่านแหละ
มีขบวนการการรักษาแผลด้วยตนเองได้ คืออาจทำให้แผลเป็นเดิมๆหดตัวลงและค่อยๆ จางลงได้เองในระดับหนึ่ง
เน้น แค่ระดับหนึ่งนะครับ ไม่ใช่หายไปเลย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ผมได้เล่าให้ฟังมาแล้ว
ดังนั้นเวลาคุณไปขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ชำนาญการหรือศัลยแพทย์ตกแต่ง
หลายท่านจะแนะนำให้ทิ้งรอยแผลนั้นไว้เฉยๆ เสียก่อนเป็นเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี จนแผลเป็นเดิมๆที่มีอยุ่
ค่อยๆจางลงไปเรื่อยๆ จนเต็มที่ก่อนมาให้การรักษาในเวลาต่อไป
ตอนหน้าเราจะมาดูว่าพวกยารักษา
วิตามิน อาหารเสริม ครีมประทินผิว เวชสำอางทั้งหลายที่บอกว่าช่วย ขจัดรอยแผลเป็น ให้รอยแผลจางหายลงไปได้ในไม่กี่วันนั้น
จริงใจหรือแหกตากันนะครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 24 พค. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·
รูปประกอบจากอินเตอร์เนท http://senatus.net/album/images/6067/#?img=2
คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3
คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3
·
คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 2: ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร
อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/13/entry-1
· คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 3: วิธีรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย
โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/14/entry-1
·
รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_17.html
· ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น
โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
· Medscape wound management
center,http://www.medscape.com/resource/wound-management
· Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F.
(2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous
regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) &
Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
· Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin
G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The
American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C.
Decker, Inc. Electronic book
· Midwood K.S., Williams L.V., and
Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular
matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) :
1031-1037.
· Richard M Stillman, MD, Wound Care,
WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
· Jorge I de la Torre MD, Wound Healing,
Chronic Wounds
· , WebMD LLC,
http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
· Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing,
Healing and Repair, WebMD LLC,
http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
· ผศ.นพ.สรวุฒิ ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง
ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
· นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound
Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, การสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน,
โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
· นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound
healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น