เราเดินทางมาถึงตอนใกล้จะสุดท้ายของความรู้เรื่องการดูแลแผลอย่างไรให้มีแผลเป็นได้น้อยที่สุด เรามาตามติดดูว่าวิทยาการเทคโนโลยี่ใหม่ๆ อะไรบ้างที่ปัจจุบันนำมารักษารอยแผลเป็นกันบ้างอย่างได้ผลและปลอดภัย แล้วิธีไหนนะ? ที่เจ๋งเป้งทำให้ผิวปูดโปนปุ่มปมน่ากังวล กลับไปเนียนเรียบสวยงามดั่งวันวารได้อีก
ทำไมยังเกิดแผลเป็นได้หล่ะ
คุณๆที่ติดตามบทความนี้มาแต่เริ่มต้น
คงทราบดีแล้วว่าแผลเป็นต่างๆ อาจเกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆ เช่นมีดบาด หกล้ม รวมไปทั้งแผลที่เกิดจากโรคบางชนิดเช่นสิว
แผลจากอาการแพ้ผื่นคัน แผลติดเชื้อ แผลเป็นเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ จะเกิดมาภายหลังมาจากการหายของแผล
เนื่องจากร่างกายคุณเองนั่นแหละ มีขบวนการซ่อมแซมตัวเองให้มีแผลเป็นน้อยที่สุดอยุ่แล้ว
แต่เราไม่ได้โชคดีที่เกิดแต่แผลเล็กๆ บางครั้งถ้าเราโชคร้ายไปมีแผลที่มีขนาดใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เช่นแผลจากอุบัติเหตุรุนแรง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นพื้นที่กว้างๆ แผลจากการผ่าตัด
ร่างกายเราจะมีความสามารถน้อยลงในการสมานแผลให้เป็นปกติดั้งเดิม และใช้เวลานานอย่างมากกว่าเดิม
ทำให้ในแผลหายช้าลง จนเกิดโอกาสที่จะเป็นแผลเป็นมากขึ้น แผลเป็นที่เกิดขึ้นมักจะเห็นชัดในระยะแรกและค่อยๆ
จางลง โดยใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี การที่แผลเป็นจะเห็นได้ชัดหรือไม่ขึ้นกับสี ความเรียบ
ความลึก ความยาวและความกว้างของแผลเป็นนั้นๆ ยิ่งเรามีอายุน้อยการซ่อมแซมแผลมักจะดี
ทำให้แผลเป็นเกิดได้น้อยกว่าเมื่อคุณอายุมากขึ้น
ภาพประกอบ: ขบวนการรักษาแผลเป็นให้หาย The Wound Healing Process จาก
การรักษาแผลเป็นที่โฆษณากันตูมตาม ทำอย่างไร? จะหายจริงหรือ? จะเชื่อได้แค่ไหน?
ภาพประกอบ: ขบวนการรักษาแผลเป็นทีละขั้นตอน จาก Schematic representation of processesinvolved in wound healing copewithcytokines.de
วิธีการรักษาแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย
ลองมาดูว่ามีวิธีไหนบ้างที่อาจจะเหมาะกับเรา
การเปลี่ยนลักษณะแผลเป็นโดยการผ่าตัด
การขัดหน้า
การฉีดคอลลาเจน
การรักษาโดยการปลูกหนังใหม่
รักษาโดยใช้สารเคมี
แล้ววิธีไหนดีที่สุดหล่ะ
เชื่อว่าเสียเงินเท่าไหร คุณสาวๆที่มีแผลเป็นให้กังวลใจ
ก้ออยากให้หายไปเหมือนผิวยามวัยเยาว์แรกเกิดของคุณๆ ของเราใช่ไหมครับ ในฐานะเภสัชกรอยากจะยืนยันว่าเทคโนโลยี่ใหม่ทำให้การรักษาแผลเป็นก้าวหน้าขึ้น
มีผลิตภัณท์ยา อาหารเสริม เวชสำอางเครื่องประทินผิวบางตำหรับที่ช่วยให้แผลเป็นต่างๆ
“ดูดีขึ้น” ได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
แต่ก้อมีลักษณะแผลหลายอย่างตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อยากจะแนะนำให้ไปปรึกษาผู้ชำนาญแทนครับ
เพราะว่าจะช่วยเหลือคุณ ตรวจวิเคราะห์สภาพผิว ดูรอยโรคของแผลเป็น และประเมินพร้อมกับให้การรักษาที่ดีที่สุด
หากคุณให้ความร่วมมือในการดูแลผิวสวยต่อไปด้วยครับ
ตอนต่อไปเราจะนำผลิตภัณท์ต่างๆที่อ้างว่าได้ผล
ลดรอยเลือนแผลเป็นมาลงทีละตัว ให้มันรู้ไปเลยว่าจริงใจหรือไก่กา
อยากรู้กันมั้ยครับ?
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 31 พค. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· รูปประกอบจากอินเตอร์เนท http://www.compulsivestyle.com/wp-content/uploads/2012/04/main-beauty.jpg
คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3
· คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 2: ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/13/entry-1
· คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 3: วิธีรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/14/entry-1
· คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 4: เทคนิคใหม่ในการรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/17/entry-1
· รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_17.html
· ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_8589.html
· รักษารอยแผลเป็นได้ผลและปลอดภัยกัน โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_23.html
· Medscape wound management center, http://www.medscape.com/resource/wound-management
· Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F. (2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) & Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
· Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C. Decker, Inc. Electronic book
· Midwood K.S., Williams L.V., and Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) : 1031-1037.
· Richard M Stillman, MD, Wound Care, WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
· Jorge I de la Torre MD, Wound Healing, Chronic Wounds
, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
· Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing, Healing and Repair, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
· ผศ.นพ.สรวุฒิ ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
· นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, การสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน, โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
· นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น