เมื่อคืนใครได้ดูรายการตีสิบคงได้ยินชื่อโรค GBS หรือ Guillain - Barré syndrome ที่ฟังๆแล้วดูเหมือนน่ากลัว
เพราะในรายการมีการบอกว่าใครเป็นหวัด หรือมีอาการติดเชื้อแล้วไม่รักษาให้หายดีจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ตามมา
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพฤต์ อัมพาตและอาจถึงตายได้อีกด้วย เพื่อความกระจ่างแจ้งของเรา
เรามาลองรู้จักโรคนี้จากเภสัชกรกันดีไหม?
โรคชื่อแปลกๆนี้มาจากไหน?
GBS จริงๆแล้วเป็นชื่อเรียกกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร จากภาษาอังกฤษที่ว่า Guillain–Barré syndrome แต่หากออกเสียงตามฝรั่งเศสจะเรียกว่ากลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศสสามท่านที่ชื่อว่าค Guillain, Barré และ Strohl ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการนี้ไว้ในปี ค.ศ. 1961 บางครั้งเรียกว่า อาการชาแบบแลนดรี (Landry's paralysis) ตามชื่อของนายแพทย์ชาวฝรั่งเศสที่ได้อธิบายโรคคล้ายกันนี้ ไว้ในปี ค.ศ. 1859 ก่อนหน้านั้น
รูปประกอบ: ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราเกิดทำหน้าที่ผิดปกติไป แทนที่จะไปทำลายสิ่งแปลกปลอม กลับหันมาทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทของเราแทน มาจาก http://www.panrc.com/princess_pa_foundation
โรค Guillain - Barré syndrome (GBS) คืออะไร?
Guillain–Barré syndrome เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) อย่างหนึ่งซึ่งเกิดกับระบบประสาทส่วนปลาย ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นโดยการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีการอักเสบของปลอกหุ้มของเส้นประสาทหลายเส้น อย่างเฉียบพลัน acute inflammatory demyelinating polyneuropathy (AIDP) โดยสาเหตุจริงๆแล้วเกิดจากที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราเกิดทำหน้าที่ผิดปกติไป แทนที่จะไปทำลายสิ่งแปลกปลอม กลับหันมาทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทของเราแทน ผลที่ได้คืออวัยวะไหนที่เส้นประสาทเหล่านั้นไปเลี้ยงอยู่ จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไป
Guillain–Barré syndrome เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) อย่างหนึ่งซึ่งเกิดกับระบบประสาทส่วนปลาย ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นโดยการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีการอักเสบของปลอกหุ้มของเส้นประสาทหลายเส้น อย่างเฉียบพลัน acute inflammatory demyelinating polyneuropathy (AIDP) โดยสาเหตุจริงๆแล้วเกิดจากที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราเกิดทำหน้าที่ผิดปกติไป แทนที่จะไปทำลายสิ่งแปลกปลอม กลับหันมาทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทของเราแทน ผลที่ได้คืออวัยวะไหนที่เส้นประสาทเหล่านั้นไปเลี้ยงอยู่ จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไป
ดังนั้นเราจึงเรียกจำแนกหรือเรียกว่ากลุ่มของโรค
ซึ่งจำแนกออกได้เป็น
• Acute inflammatory demyelinating
polyneuropathy (AIDP) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดของ GBS
• Miller Fisher syndrome (MFS) มักจะมีผลต่อกล้ามเนื้อตา
โดยมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง,เดินเซ
• Acute motor axonal neuropathy โรคชนิดนี้อาจจะเกิดตามฤดูกาลและฟื้นตัวได้รวดเร็ว
• Acute motor sensory axonal neuropathy
(AMSAN) ฟื้นตัวช้าและมักจะไม่สมบูรณ์
• Acute neuropathy panautonomic มีอัตราการตายสูง
• Bickerstaff’s brainstem encephalitis
(BBE) ความผิดปกติส่วนใหญ่อยู่ใน brainstem โดยเฉพาะในไขสันหลัง
โรค Guillain - Barré syndrome (GBS) เกิดได้ง่ายๆจริงหรือ?
ไม่ใช่ว่าทุกคนเป็นหวัดแล้วรักษาไม่หายดีจะเป็นอย่างในรายการ แต่ความจริงแล้วโรค GBS กลับพบได้น้อยมากๆ เพราะมีโอกาสเกิดได้แค่ 1 หรือ 2 คน ในบรรดา 100, 000 คน ก้อเท่านั้นเอง
อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้
ตามที่เกริ่นไว้ อาการของโรคนี้จะมีอาการตามเส้นประสาทที่ไปเลี้ยง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อย่างไรก้อตามเราไม่อยากให้ทุกท่านเกรงกลัวจนมากเกินไป
ดังนั้นอาการที่จะเล่าต่อไปนี้ ไม่ต้องการให้ตื่นเต้นตกใจ หากเราสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
ขอความกรุณาไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยต่อไปจะแม่นยำกว่า
กลับมาที่อาการของโรคที่เราจะพบได้
โดยทั่วไปอาการเปลี้ยของกล้ามเนื้อมักมีการกระจายไม่เท่ากันทั้งสองข้าง และอาการอ่อนแรงเป็นที่แขนขา
มักจะมีอาการส่วนปลายมากกว่าส่วนต้น อันได้แก่
• dysesthesias ชาหรือรู้สึกซ่า อาการชาปลายมือปลายเท้า ลักษณะอาการชามือบางครั้งลามมาถึงข้อมือคล้ายสวมถุงมือถุงเท้า โดยการกระจายของอาการชามักเป็นที่เท้า ก่อนกระจายมาที่ปลายมือ 2 ข้าง
• dysesthesias ชาหรือรู้สึกซ่า อาการชาปลายมือปลายเท้า ลักษณะอาการชามือบางครั้งลามมาถึงข้อมือคล้ายสวมถุงมือถุงเท้า โดยการกระจายของอาการชามักเป็นที่เท้า ก่อนกระจายมาที่ปลายมือ 2 ข้าง
• oropharyngeal dysphagia คนไข้จะมีอาการน้ำลายยืด
กลืนลำบาก หรือเคี้ยวอาหารไม่ได้
• areflexia สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิ
ที่จริงแล้วอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยใน GBS
• orthostatic hypotention ภาวะความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ
• arrhythmia หัวใจเต้นผิดจังหวะผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง
อาจมีอาการหายใจลำบาก เนื่องจากเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจผิดปกติไป
ดังนั้นผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเนื่องจากการหายใจล้มเหลวได้ในที่สุด
สาเหตุของโรคนี้
ทุกรูปแบบของโรคนี้เป็นเพราะภูมิคุ้มกันของเราหันมาทำร้ายตัวเอง
ดังนั้นจึงมักพบการติดเชื้อมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสไข้หวัดใหญ่
หรือโดยปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ พอภูมิต้านทานเนื้อเยื่อ โจมตีเส้นประสาท
ก่อให้เกิดความเสียหายที่ปลอกหุ้มเส้นประสาทซึ่งเป็น ไขมันชั้นฉนวนของเส้นประสาทเกิดการขัดขวางการนำกระแสประสาท
สุดท้ายคือจะนำไปสู่การเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจจะมาพร้อมกับประสาทสัมผัสหรือประสาทอัตโนมัติถูกรบกวน
อีกสาเหตุหนึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่
คือวัคซีนที่เราฉีดเข้าสู่ร่างกายเราอาจหันมาต่อต้านร่างกายเราเอง แต่อัตราการเกิด
จะมีเพียง 1 ต่อล้านของวัคซีน เมื่อเทียบกับความเสี่ยงปกติ แต่ ตั้งแต่ปี 1976 ยังไม่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ไปเชื่อมโยงกับโรค
GBS
ไปหาหมอ
เขาจะตรวจอะไร
การวินิจฉัยที่รู้ว่าเป็นโรคนี้
ก้อคือแพทย์จะวิเคราะห์จาก ของเหลวจากน้ำไขสันหลัง โดยพบโปรตีนสูง แต่เซลล์เม็ดเลือดไม่สูงตาม
แพทย์อาจเรียกให้มีการทดสอบ Electro diagnostic ของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อพบมี
demyelization
ส่วนการรักษานั้น ควรรักษาโรคหรือการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ เพื่อให้อาการคนไข้พ้นภาวะวิกฤติโดยเร็วที่สุด ร่วมด้วย พร้อมๆกันนั้น เราจะได้รับการดูแลฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะสำคัญทั้งหมด เช่นต้องป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวทางเดินหายใจ
หลังจากนั้นการรักษา เราจะได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นกล้ามเนื้อส่วนที่สูญเสียการทำงานไป รวมไปถึงฟื้นฟูการพูดจาและการใช้ภาษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมให้มากที่สุด
แหล่งข้อมูล
Guillain-Barré Syndrome , Mayo Clinic,
http://www.mayoclinic.com/health/guillain-barre-syndrome/ds00413/dsection=cause
Guillain-Barré Syndrome, Medicinenet.com, http://www.medicinenet.com/guillain-barre_syndrome/article.htm
Guillain-Barré Syndrome Fact Sheet , Office of Communications and Public Liaison
National Institute of Neurological
Disorders and Stroke
National Institutes of Health, http://www.ninds.nih.gov/disorders/gbs/detail_gbs.htm
Michael T Andary, MD , Guillain-Barre
Syndrome Treatment & Management
Guillain-Barré Syndrome , Treatments
and drugs , Mayo Clinic, http://www.mayoclinic.com/health/guillain-barre-syndrome/DS00413/DSECTION=treatments-and-drugs
Guillain-Barré Syndrome , มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย, http://www.panrc.com/princess_pa_foundation/index_article_detail.asp?MID=1&CID=2
นพ.พาวุฒิ เมฆวิชัย, ลักษณะทางคลนิ
ิกของกลุ่มอาการ Guillain Barre ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา,
สาขาประสาทวทิ ยา กลมุ่ งานอายุกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสมี
า จังหวัดนครราชสมี า, http://home.kku.ac.th/medicine/I-San/10.2/files2/04-Original.pdf
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา , คุณรู้จักโรค
GBS หรือยัง?, กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด., http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20090921/77972/คุณรู้จักโรค-GBS-หรือยัง-.html
นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร, โรคของระบบประสาทส่วนปลายในผู้ป่วยวิกฤต Neuromuscular failure
,วารสารคลินิก เล่ม : 286 เดือน-ปี :
10/2551, http://www.doctor.or.th/node/7162
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น