ถึงวันนี้ กระแสสังคมทั้งโลก ยังไงๆก้อยังให้ความสำคัญกับค่านิยมความสวยหล่อ
คงจะปฏิเสธเรื่องรูปร่าง และความสูงไปไม่ได้ เพราะดูแค่แต่ละเวทีประกวดสาวงามหรือหนุ่มหล่อที่ไหนก้อตาม
ถึงกับกำหนดเลยว่า "หน้าตาดีอย่างเดียวไม่พอ
แต่ต้องมีเรื่องความสูงเป็นองค์ประกอบด้วยถึงจะผ่าน" ทำให้พ่อแม่
และลูกหลายคน วิตกกังวลกับเรื่องความสูงเป็นอย่างมาก จนบางคนเกิดเป็นปมด้อย
ว่าตัวเองเกิดมาไม่สูง หรือเตี้ยกว่าเพื่อน ส่งผลต่อสภาพจิตใจไปตามๆ กัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
และลดความวิตกกังวลลง เรามีบทความจาก นพ.วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช
มาเล่าให้ฟังถึงกลไกของการเจริญเติบโตและการพัฒนาการด้านความสูงของลูกเราว่าโดยธรรมชาติแล้ว
จะตัวสูงได้แค่ไหน?
ลูกเราโตแต่ละช่วง ไม่เท่ากัน
การเจริญเติบโต และการพัฒนาการด้านความสูง
และการเคลื่อนไหว จะเริ่มตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดาแล้ว โดยตลอด 9 เดือนจะมีการเจริญเติบโต
และพัฒนาตัวอย่างไม่หยุดยั้งทุกระบบโดยอัตราการเจริญเติบโตนั้นในแต่ละวัยจะมีความแตกต่างกัน
แต่พออุแว้ๆออกมา สำหรับวัยที่มีการเจริญเติบโตมากกว่าวัยอื่น
คือ วัยในครรภ์ จนถึง 2 ขวบแรก และวัยรุ่น
โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นตอนต้นที่จะมีอัตราการเพิ่มความสูงต่อปี (Height velocity)
มากที่สุด โดยเด็กผู้หญิงจะเพิ่ม 8 ซม.ต่อปี เมื่อถึงอายุ 11 ปี ส่วนผู้ชายจะเพิ่ม
10 ซม.ต่อปี เมื่อถึงอายุ 13 ปี
ช่วงเวลาแห่งความสูง
สามารถแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 ช่วง เฉพาะแต่เรื่องความสูง
ช่วงที่ 1 : 0-2 ปี
ช่วงที่ 2 : 2-11 ปี
ความสูงจะเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 5 ซม./ปี
ช่วงที่ 3 : ช่วงการเจริญเติบโตในระยะนี้กินเวลาประมาณ 4-5 ปี เพศหญิงเริ่มมีการเติบโตที่เร็ว เมื่ออายุ 11.5 ปี และ เติบโตน้อยลงเมื่ออายุ
16 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 8 ซม./ปี
ส่วนเด็กผู้ชาย จะเริ่มที่อายุ 13.5 ปี
และหยุดโตเมื่ออายุ 20 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 10-12 ซม./ปี
จะเห็นได้ว่าการช่วง 4-5 ปีนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดเพิ่มความสูงของร่างกาย
โดยปัจจัยที่ส่งเสริมการเพิ่มความสูง ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน โภชนาการ
การออกกำลังกาย การนอนหลับ ถ้าจะเริ่มจะเพิ่มก้อต้องเร่งในช่วงดังกล่าวนี้
สุดท้าย ช่วงที่ 4 : 17-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายมีการเติบโตเกือบเต็มที่แล้วโดยประมาณคือ
95-98% ของความสูงของผู้ใหญ่
ตอนต่อไป เรามาดูกันว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงมีอะไรบ้าง
จะได้ใช้เป็นปัจจัยเสริมให้ลูกรักได้สูงสมวัย
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
สงวนลิขสิทธิ์ 28 พย. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์
ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง
ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข
รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
•How to Grow Taller Naturally and Increase
Height, http://www.growtall.asia/
•Height Increase Blog,
http://grow-taller-secret.blogspot.com/2007/06/different-methods-to-grow-taller.html
•Anthony Ezail Travis, How to Help Kids
Grow Tall, EzineArticles.com,
http://ezinearticles.com/?How-to-Help-Kids-Grow-Tall&id=3508609
•Tall stature,
http://www.blackwellpublishing.com/content/BPL_Images/Content_store/Sample_chapter/9781405122337/Raine_Ch04.pdf
•Cain Marko, Tips to Make Growing Tall a
Child's Play , http://ezinearticles.com/?Tips-to-Make-Growing-Tall-a-Childs-Play&id=4363297
ไขความลับ เพิ่มความสุง ให้ลูกชายหญิง,
ผู้จัดการออนไลน์, 9 มีนาคม 2553,
•นพ วัลลภ พรเรืองวงศ์, คำนวณส่วนสูง
เด็กไทย, รพ. ห้างฉัตร ลำปาง,
http://gotoknow.org/blog/health2you/28745
•รศ.น.พ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์, แฟชั่นบริโภค
แคลเซียมกับความสูง, มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2541
•นพ. พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา,
ฮอร์โมนเพิ่มความสูงมีจริงหรือ?, หมอชาวบ้าน ปีที่ 19 ฉบับที่ 219 : หน้า 12-16
•รูปประกอบ How to Help Kids Grow Taller จาก http://www.babycares365.com/2012/07/how-to-help-kids-grow-taller.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น