ไข้เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย
มักทำให้เด็กงอแง และที่สำคัญอาจมีอาการชักตามมาได้ อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะถือว่าเด็กเป็นไข้ ผมอยุ่ร้านยาจะเหนื่อยมากต่อการอธิบายให้คุณแม่ทั้งหลายเลิกจากการใช้มือวัดเสียที เพราะว่าคลาดเคลื่อนได้ง่ายทั้งจากประสามสัมผัสที่แตกต่างกัน สภาวะร่างของแม่และลูกน้อย จึงอยากสนับสนุนให้ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้มือสัมผัสเและสามารถประเมินผลได้อย่างละเอียดกว่าอีกด้วย วันนี้เภสัชกรร้านยาไปเจอบทความดี้ดีในการแนะนำการวัดอุณหภูมิลูกน้อยให้แม่นยำและถูกต้องจึงมาแบ่งปันกัน
การวัดอุณหภูมิกระทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์
หรือคนทั่วไปเรียกว่าปรอทมีหลายชนิด ได้แก่ปรอทที่ใช้วัดทางปาก ทางทวารหนัก ทางรักแร้
ทางผิวหนัง การใช้ปรอทวัดอุณหภูมิทางปาก และทางทวารหนักเป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือและแม่นยำที่สุด
แต่วิธีใช้ค่อนข้างลำบาก อาจเป็นอันตรายแก่เด็กได้หากผู้ใช้ไม่ชำนาญจึงเป็นที่นิยมใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น
ส่วนการวัดอุณหภูมิทางรักแร้ และผิวหนังอาจมีความแม่นยำน้อยกว่า แต่
สะดวกต่อการใช้วัดอุณหภูมิในเด็กที่อยู่ที่บ้านและไม่มีอันตราย
แม้ผู้ใช้จะไม่มีความชำนาญก็ตามแต่ละครอบครัวควรเลือกหาเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ครอบครัวละ
1 อัน การวัดอุณหภูมิทีแม่นยำจะช่วยให้คุณแม่ประเมินสถานการณ์การเจ็บป่วยของลูกและถึงมือคุณหมอได้อย่างทันท่วงที
วัดไข้ลูกน้อยได้ตรงไหน บ้างละนี่?
1. การวัดไข้ทางหน้าผาก (forehead
thermometer) - เหมาะกับเด็กทุกวัย - ทำด้วยแผ่นพลาสติกมีแถบสารไวต่อความร้อนติดอยู่ใช้กับหน้าผากจึงไม่ต้องสอดใส่เข้าไปในร่างกาย
ใช้งานง่ายเพียงวางบนหน้าผากของลูก แต่ไม่ค่อยแม่นยำมากนัก
- ทาบแถบเทอร์โมมิเตอร์ไว้กับหน้าผากลูก อย่าให้มือแตะถูกบริเวณตัวเลย
- ทิ้งไว้ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆปรากฏชัดขึ้น
- อ่านค่าอุณหภูมิ
หลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว
2. การวัดไข้ใต้รักแร้ (Under the armpit) -
เหมาะกับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป - ง่ายและสะดวก ใช้ได้กับเทอร์โมมิเตอร์แบบ
ปรอทและดิจิตอล
แต่มีความแม่นยำน้อยที่สุด
- นั่งชิดกับลูก โดยให้ลูกอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด
- ตรวจดูให้แน่ใจว่าบริเวณใต้วงแขนของลูกแห้ง และใส่บริเวณกระเปาะไว้ใต้แขน
ต้องแน่ใจด้วยว่าบริเวณ
กระเปาะอยู่แนบชิดกับผิวหนัง
- หากลูกดิ้นสามารถกอดลูกไว้หรือให้นมลูกไปด้วยก็ได้
- คุณแม่อาจจะจับแขนลูกให้แน่น
โดยอาจจับแขนลูกมาวางพาดบนหน้าอก ใช้เวลาประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า
- อุณหภูมิที่อ่านได้จะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายจริง ประมาณ 0.6
องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์
3. การวัดไข้ทางปาก (Oral thermometer) -
เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะลูกสามารถระมัดระวังไม่เคี้ยวหรือกัดหลอดและสามารถอมใต้ลิ้นด้วยตนเองได้
วัดอุณหภูมิได้แม่นยำ นิยมใช้ตามโรงพยาบาล วิธีการไม่ยุ่งยาก
- ใช้เมื่อแน่ใจว่าลูกสามารถอมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้นจริงๆ
- วางเทอร์โมมิเตอร์ใต้ลิ้นประมาณ
2 นาที แล้วอ่านค่า
4. การวัดไข้ทางหู (Ear thermometer)
เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะถ้าต่ำกว่านี้ร่องหูเด็กจะแคบไม่สามารถสอดใส่เซ็นเซอร์ได้อย่างเหมาะสม
สะดวกตรงที่ทำให้เด็กรู้สึกสบาย ง่ายต่อการวัด ไม่อันตรายต่อแก้วหู
แต่หากใส่ไม่ตรงจุดแล้วล่ะก็ตัวเลขก็จะไม่ขึ้นอย่างแม่นยำ ราคาค่อนข้างแพง
ถ้าตกหรือกระเทือนรุนแรงจะพัง
ซ่อมไม่ได้
- จับลูกนอนตะแคงในท่าที่ลูกสบายและอยู่นิ่งเฉย
- เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในช่องหูให้ตรงจุด คือบริเวณรูหู
ถ้าไม่ตรงจะทำให้ได้ผลที่ไม่ถูกต้อง
- รอจนกระทั่งเสียงดังปี๊บ แสดงว่าวัดไข้เสร็จแล้ว
5. การวัดไข้ทางก้น (Rectal thermometer)
เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบถึงขวบครึ่ง แพทย์ส่วนใหญ่ยังคงมีความเห็นว่าการวัดไข้ทางก้นเด็กนั้น
มีความเที่ยงตรงแม่นยำมากที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยงหากสอดใส่เทอร์โมมิเตอร์ลึกเกินไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่เด็กทารกกำลังร้องดิ้น
- ทากระเปาะของปรอทด้วยเบบี้ออยล์หรือวาสลีนเพื่อหล่อลื่น
- จับเด็กนอนหงายในท่าที่สบาย ถอดผ้าอ้อมออก ใช้มือข้างหนึ่งจับข้อเท้าทั้ง
2 ข้างของเด็กยกขึ้น
- หรือจับให้ลูกนอนคว่ำบนตัก วางมือบนหลังลูกเพื่อป้องกันลูกดิ้น
- ค่อยๆ สอดแท่งปรอทเข้าไปในก้นลึกประมาณ 1 นิ้ว ปล่อยไว้ 30 วินาที-2 นาที
(ขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมมิเตอร์)
แล้วดึงออกเช็ดวาสลีนที่ติดอยู่แล้วอ่านอุณหภูมิ
- หลังจากถอดเทอร์โมมิเตอร์ออกจากก้นลูกอาจจะอึหรือผายลมออกมาอย่าตกใจไป
หากมีคำถามอะไรก้อ e-mail มาที่ utaisuk@gmail.com นะครับ
แหล่งข้อมูล
วัดอุณหภูมิลูกน้อยอย่างไร
nestlebaby.com/th Dear Mom Program,
http://www.nestlebaby.com/th/parenting/family_life/measure_fever/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น