วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลูกรักของเรา จะสุงได้แค่ไหน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ถึงวันนี้ กระแสสังคมทั้งโลก ยังไงๆก้อยังให้ความสำคัญกับค่านิยมความสวยหล่อ คงจะปฏิเสธเรื่องรูปร่าง และความสูงไปไม่ได้ เพราะดูแค่แต่ละเวทีประกวดสาวงามหรือหนุ่มหล่อที่ไหนก้อตาม ถึงกับกำหนดเลยว่า "หน้าตาดีอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีเรื่องความสูงเป็นองค์ประกอบด้วยถึงจะผ่าน" ทำให้พ่อแม่ และลูกหลายคน วิตกกังวลกับเรื่องความสูงเป็นอย่างมาก จนบางคนเกิดเป็นปมด้อย ว่าตัวเองเกิดมาไม่สูง หรือเตี้ยกว่าเพื่อน ส่งผลต่อสภาพจิตใจไปตามๆ กัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง และลดความวิตกกังวลลง เรามีบทความจาก นพ.วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช มาเล่าให้ฟังถึงกลไกของการเจริญเติบโตและการพัฒนาการด้านความสูงของลูกเราว่าโดยธรรมชาติแล้ว จะตัวสูงได้แค่ไหน?

ลูกเราโตแต่ละช่วง ไม่เท่ากัน
การเจริญเติบโต และการพัฒนาการด้านความสูง และการเคลื่อนไหว จะเริ่มตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดาแล้ว โดยตลอด 9 เดือนจะมีการเจริญเติบโต และพัฒนาตัวอย่างไม่หยุดยั้งทุกระบบโดยอัตราการเจริญเติบโตนั้นในแต่ละวัยจะมีความแตกต่างกัน
      
แต่พออุแว้ๆออกมา สำหรับวัยที่มีการเจริญเติบโตมากกว่าวัยอื่น คือ วัยในครรภ์ จนถึง 2 ขวบแรก และวัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นตอนต้นที่จะมีอัตราการเพิ่มความสูงต่อปี (Height velocity) มากที่สุด โดยเด็กผู้หญิงจะเพิ่ม 8 ซม.ต่อปี เมื่อถึงอายุ 11 ปี ส่วนผู้ชายจะเพิ่ม 10 ซม.ต่อปี เมื่อถึงอายุ 13 ปี

ช่วงเวลาแห่งความสูง
สามารถแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 ช่วง เฉพาะแต่เรื่องความสูง
รูปประกอบ  infant growth chart จาก baby-growths.com

ช่วงที่ 1 : 0-2 ปี
      
ช่วงที่ 2 : 2-11 ปี
ความสูงจะเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 5 ซม./ปี
      
ช่วงที่ 3 : ช่วงการเจริญเติบโตในระยะนี้กินเวลาประมาณ 4-5 ปี เพศหญิงเริ่มมีการเติบโตที่เร็ว เมื่ออายุ 11.5 ปี และ เติบโตน้อยลงเมื่ออายุ 16 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 8 ซม./ปี

ส่วนเด็กผู้ชาย จะเริ่มที่อายุ 13.5 ปี และหยุดโตเมื่ออายุ 20 ปี อัตราการเพิ่มความสูงอยู่ที่ 10-12 ซม./ปี
      
จะเห็นได้ว่าการช่วง 4-5 ปีนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดเพิ่มความสูงของร่างกาย โดยปัจจัยที่ส่งเสริมการเพิ่มความสูง ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน โภชนาการ การออกกำลังกาย การนอนหลับ ถ้าจะเริ่มจะเพิ่มก้อต้องเร่งในช่วงดังกล่าวนี้
      
สุดท้าย ช่วงที่ 4 : 17-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายมีการเติบโตเกือบเต็มที่แล้วโดยประมาณคือ 95-98% ของความสูงของผู้ใหญ่

ตอนต่อไป เรามาดูกันว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงมีอะไรบ้าง จะได้ใช้เป็นปัจจัยเสริมให้ลูกรักได้สูงสมวัย

แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 28 พย. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address  ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

•How to Grow Taller Naturally and Increase Height, http://www.growtall.asia/

•Height Increase Blog, http://grow-taller-secret.blogspot.com/2007/06/different-methods-to-grow-taller.html

•Anthony Ezail Travis, How to Help Kids Grow Tall, EzineArticles.com, http://ezinearticles.com/?How-to-Help-Kids-Grow-Tall&id=3508609

•Tall stature, http://www.blackwellpublishing.com/content/BPL_Images/Content_store/Sample_chapter/9781405122337/Raine_Ch04.pdf

•Cain Marko, Tips to Make Growing Tall a Child's Play , http://ezinearticles.com/?Tips-to-Make-Growing-Tall-a-Childs-Play&id=4363297

ไขความลับ เพิ่มความสุง ให้ลูกชายหญิง, ผู้จัดการออนไลน์, 9 มีนาคม 2553,

•นพ วัลลภ พรเรืองวงศ์, คำนวณส่วนสูง เด็กไทย, รพ. ห้างฉัตร ลำปาง,  http://gotoknow.org/blog/health2you/28745

•รศ.น.พ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์, แฟชั่นบริโภค แคลเซียมกับความสูง, มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2541

•นพ. พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา, ฮอร์โมนเพิ่มความสูงมีจริงหรือ?, หมอชาวบ้าน ปีที่ 19 ฉบับที่ 219 : หน้า 12-16

•รูปประกอบ How to Help Kids Grow Taller จาก  http://www.babycares365.com/2012/07/how-to-help-kids-grow-taller.html


วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัมมนาอนาคตเภสัชกรไทยกับการก้าวสู่ AEC



สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) ร่วมกับ สภาเภสัชกรรม จัดสัมมนา “เภสัชกรไทยกับการก้าวสู่ AEC” ระดมสมองในการเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติงานก่อนเปิดตลาดเสรีอาเซียน โดยมี ภญ.ทิพวรรณ จิตพิมลมาศ นายกสมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) เป็นประธานเปิดงาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ อาทิ ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม รศ.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ภญ.ชุติมา อรรคลีพันธุ์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, ภก.ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ และ ภก.ทวีศักดิ์ สีทองสุรภณา อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) ร่วมอภิปรายในหัวข้อ “ติดอาวุธให้เภสัชกร พร้อมก้าวสู่ AEC” ให้กับเครือข่ายเภสัชกร ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้
ภญ.ทิพวรรณ จิตพิมลมาศ นายกสมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) กล่าวว่า การที่ประเทศไทยจะเปิดตลาดเสรีอาเซียน ในปี 2558 นั้น ก็เพื่อให้เกิดแรงผลักดันในการรวมตัว เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเงินลงทุนและแรงงานได้อย่างอิสระ ซึ่งทางด้านวิชาชีพได้มีโครงการนำร่อง จำนวน 7 สาขาวิชาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี โดยกำหนดให้ลงนามทำข้อตกลงยอมรับจัดการร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement : MRA) ทั้งนี้ เภสัชกรก็เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่จะได้รับผลกระทบ จึงต้องเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC ในอนาคต ดังนั้น สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) สนับสนุนโดย สภาเภสัชกรรม จึงจัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้น โดยมุ่งให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคการศึกษา สมาคมวิชาชีพ ได้วางแผนและเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้ประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการประชาชนในระดับสากลได้

ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม ระบุว่า ในด้านความพร้อมของบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมนั้น ถือว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC อยู่มาก บางส่วนมีความรู้แต่ไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบและต้องเตรียมรับมืออย่างไร หรือบางส่วนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวยังไม่ต้องสนใจ การเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเปิดตลาดเสรีอาเซียนตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นเรื่องจำเป็น โดยเริ่มจากภาคการศึกษา ที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC มากขึ้น รวมทั้งให้ความรู้ด้าน ภาษา สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ของประเทศกลุ่มอาเซียนด้วย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรในวิชาชีพ

“แม้ว่าเภสัชกรจะไม่ได้อยู่ในวิชาชีพนำร่องตามที่กำหนด แต่สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ AEC ในปี 2558 นั้น ก็คือเรื่องของการปรับแนวคิดให้กว้างขวางมากขึ้น ถ้ามองในมุมของผู้ประกอบวิชาชีพ อาจคิดว่า AEC จะทำให้เกิดปัญหาสมองไหล ประเทศไทยจะสูญเสียบุคลากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศไป เพราะบุคลากรที่มีความสามารถสูง จะออกไปทำงานในประเทศที่จะมีรายได้มากกว่า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ในขณะเดียวกัน ชาวต่างชาติจำนวนมากก็อาจจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ถ้าจากมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ AEC จะทำให้เกิดแรงผลักดันในการรวมตัวเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเงินลงทุนได้อย่างอิสระ โดยไม่สร้างอุปสรรคกีดกั้น ย่อมจะทำให้เกิดโอกาสทางการค้าและการทำงานที่มากขึ้น การแข่งขันจะทำให้ต้องมีการพัฒนาทุกอย่างให้เข้าสู่มาตรฐาน ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป การรวมตัวของประชากรในภูมิภาคอาเซียน จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลักดันให้เกิดอำนาจในการต่อรอง ที่จะสามารถสร้างการแข่งขันในระดับโลกได้” ภญ.รศ.ธิดา กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการรองรับสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งต้องการมาประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย สภาเภสัชกรรมได้เตรียมออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เพื่อประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในราชอาณาจักรไทย ของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากต่างประเทศ ซึ่งจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการสภาฯ ในวาระการประชุมเดือนกันยายนนี้ ประเด็นสำคัญๆ คือ เรื่องของมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาของประเทศต้นทาง จะต้องมีมาตรฐานโครงสร้างหลักสูตรเท่ากับมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาเภสัชศาสตร์ของไทย หากต่ำกว่าจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ครบถ้วนก่อนที่จะเข้าสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม นอกจากนี้จะต้องสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ในระดับดี และต้องปฏิบัติสอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีไทย นอกจากนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพที่เป็นปัจจุบันในประเทศต้นทาง และปฏิบัติวิชาชีพต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีในประเทศต้นทาง ต้องไม่ประพฤติผิดมาตรฐานหรือจรรยาบรรณวิชาชีพในประเทศต้นทางหรือประเทศอื่นๆ ด้วย

ส่วนการเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษานั้น รศ.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า จะต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะความสามารถทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษนั้น ต้องพัฒนาให้มากขึ้น รวมถึงทักษะทางสังคม เนื่องจากนักศึกษาเภสัชฯ ต้องเพิ่มความกล้าในการแสดงออก ความคิดเห็น การซักถาม เพื่อได้เรียนรู้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาไปสู่ระดับอาเซียนได้


ในภาคการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ฯ จึงได้มีการออกแบบทักษะการสอนแบบใหม่ ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในอนาคต โดยให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในด้านการเรียนการสอนมากขึ้น มีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และขณะเดียวกันนักศึกษาก็จะต้องนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างแรงผลักดันและความกล้า เพิ่มภาวะความเป็นผู้นำให้กับนักศึกษาที่จะออกไปปฏิบัติวิชาชีพ และได้รับการยอมรับในระดับสากล

แหล่งข้อมูล
นสพ. บ้านเมือง
25 พย. 2555
http://www.banmuang.co.th/2012/10/สัมมนาอนาคต…เภสัชกรไทย/

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดูแลผิวหน้าให้ใส ทำอย่างไร?


สาวๆหนุ่มๆหลายคนที่แวะมาที่ร้านยา มักจะมีปัญหาเรื่องผิวหน้า และมีคำถามเกี่ยวกับการดูแลผิวหน้ามาปรึกษาบ่อยๆ จะทำอย่างไร จะเชื่อใครดีน้า??? เรามีบทความจาก อาจารย์ พญ.สุเพ็ญญา วโรทัย จากภาควิชาตจวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ที่รวบรวมเคล็ดลับมาแนะนำกัน เพื่อให้หน้าใสสมวัยอย่างแท้จริงและคงงามตลอดไป

 การดูแลผิวพื้นฐาน

       โดยทั่วไปขั้นตอนการดูแลผิวพื้นฐานที่สำคัญและควรปฏิบัติในแต่ละวันเป็นประจำ มีเพียง 3 ขั้นตอนคือ 

1.ทำความสะอาดผิวหน้า 
2. ทาสารกันแดด และ ...
3. ทาสารให้ความชุ่มชื้น
      
ทำความสะอาดผิวหน้า
การทำความสะอาดใบหน้า มีความสำคัญมาก เนื่องจากในแต่ละวันจะมีสิ่งสกปรกมากมายที่ติดค้างอยู่บนใบหน้า ตั้งแต่ เหงื่อ ไขมันที่ถูกผลิตจากต่อมไขมัน ขี้ไคล ไปจนถึงบรรดาครีมเครื่องสำอางต่างๆ ที่ทา รวมถึงสิ่งสกปรกจากมลพิษภายนอกที่มาจากน้ำมัน
      
       การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า จะสามารถล้างเพียงเหงื่อและฝุ่นผงต่างๆ ที่ละลายน้ำได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถชำระล้างไขมันและน้ำมัน (ที่เป็นส่วนประกอบของครีมเครื่องสำอางต่างๆ ออกได้หมด) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการอุดตันรูขุมขน ทำให้เกิดสิวอุดตันหรือสิวอักเสบตามมาได้ 

ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาสำหรับผิวหน้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีส่วนผสมของสารชะล้างที่อ่อนโยนและคุณภาพดีกว่า เช่น โฟม เจลล้างหน้า มากกว่าสบู่ก้อน เนื่องจากสบู่ส่วนใหญ่จะมีค่าเป็นด่างสูงกว่าค่าปกติของผิวหนังคนเราซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ เมื่อล้างด้วยสบู่ที่เป็นด่าง จะทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้นมากจนเกินไป เกิดผิวแห้งเป็นขุยได้ 

       ผิวแห้ง ผิวหน้ามักมีการผลิตไขมันได้น้อย ผิวจึงดูละเอียด มองไม่ค่อยเห็นรูขุมขน แต่ข้อเสียคือ ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิวก็ลดตามไปด้วย ในระยะยาวจะเสียความยืดหยุ่นและเกิดเป็นริ้วรอยได้เร็วกว่าคนที่หน้ามัน ดังนั้นคนผิวแห้งไม่ควรใช้สบู่ หรือผลิตภัณฑ์สำหรับคนหน้ามันหรือคนเป็นสิว เนื่องจากจะมีส่วนผสมของสารชะล้างในปริมาณที่มากกว่า และมักผสมกรดซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดไขมันส่วนเกินในรูขุมขนและบนผิวหนัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ในคนที่ผิวแห้งอยู่แล้ว กรณีที่ผิวแห้งมากๆ ในตอนเช้าอาจล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าธรรมดาก็เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนล้างหน้าเพราะจะทำให้ผิวยิ่งแห้งมากขึ้น
      
       ผิวมัน จะมีการผลิตไขมันออกมาปริมาณมากและมักเกิดเป็นสิวได้ง่าย ลักษณะผิวหน้าจะค่อน ข้างหยาบ รูขุมขนใหญ่เห็นได้ชัดเจน แต่ข้อดี ความชุ่มชื้นของผิวจะดีและเมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดริ้วรอยช้ากว่าคนผิวแห้งค่ะ สำหรับการล้างหน้านั้นมีงานวิจัยออกมาว่า ในคนที่เป็นสิว การล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น จะให้ผลการรักษาสิวดีที่สุด และไม่ควรเกินวันละ 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวและยิ่งทำให้สิวอักเสบรุนแรงมากขึ้น แต่ถ้าหน้ามันมากๆ เหนอะหนะจนทำให้รำคาญอยากล้างหน้าในระหว่างวัน แนะนำให้ล้างด้วยน้ำเปล่าค่ะ และถ้ายังรู้สึกว่าความมันยังไม่หมด ก่อนนอนอาจใช้โทนเนอร์ช่วยปรับสภาพผิวกำจัดความมันที่เหลือได้
      
       ผิวผสม มีการผลิตไขมันมากบริเวณทีโซน คือ หน้าผาก จมูก และคาง ส่วนบริเวณยูโซน แก้มกลับมีลักษณะผิวแห้ง แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งผิวมันและผิวแห้ง โดยแยกใช้ตามบริเวณลักษณะผิวที่แตกต่างกัน
      
       สำหรับผู้ที่แต่งหน้าเป็นประจำ ครีมรองพื้นทั่วไปจะมีส่วนผสมของน้ำมัน (เพื่อให้เม็ดสีของเครื่องสำอางสามารถติดทนนาน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องสำอางชนิดกันน้ำ การล้างหน้าด้วยสารชะล้างในผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถล้างน้ำมันเหล่านี้ออกได้หมด ซึ่งอาจก่อให้เกิดสิว จึงควรใช้น้ำมันหรือโลชั่นเช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางออกก่อนล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าตามปกติค่ะ
       
นอกจากนี้ควรดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยครับ

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ 
อ.พญ.สุเพ็ญญา วโรทัย, ภาควิชาตจวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล, 
ดูแลผิวหน้าให้ใส สมวัย, http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000141884

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Home Health Monitoring ดูแลคนไข้ที่บ้านจากที่ไกลๆ ได้อย่างไร? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


โลกยุคหน้าผู้สูงอายุที่อาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตลอดเวลา แต่ด้วยข้อจำกัดด้านบุคคลากรทางการแพทย์ สถานที่ห่างไกล จะดีไหมถ้าคุณปู่ย่าตายายที่บ้านเราจะมีแอพพลิเคชั่นสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุตามบ้านในรูปแบบใช้งานง่ายๆ และสามารถเชื่อมต่อเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบตามเวลานัดหมาย หรือหากท่านเหล่านั้นประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยรุนแรงขึ้นมาจะได้รับการดูแลได้ทันที ระบบที่ว่านี้เรียกว่า  Home Health Monitoring

Home Health Monitoring คืออะไร ทำไมต้องมี?
เป็นที่รู้กันดีว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงมากๆขึ้น ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ยที่สูงขึ้น ทำให้เราต้องใช้จ่ายไปสู่จะนำไปเทคโนโลยีด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่แพงมากกว่าเดิม ยาใหม่ๆก้อต้องคิดค้นด้วยต้นทุนสูง และต้องขายในราคาที่แพงมากขึ้นๆ

ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล หากเราสามารถนำมาประยุกต์ระบบการติดตามอาการและดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุขณะอยู่บ้าน จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ลงได้เป็นอย่างมาก คิดเอาง่ายๆ คุณตาคุณยายของเราไม่ต้องเหนื่อยที่ต้องเดินทางไปมาระหว่างบ้าน ไปโรงพยาบาล ลดการสิ้นเปลืองเวลารถติดในเมืองใหญ่หรือระยะทางไกลๆในภูมิภาค


หากระบบนี้สามารถตามติดอาการ ตรวจผลการรักษาได้ดี หากผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลและสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายและใช้ชีวิตในวัยชราได้อย่างมีความสุขและปลอดภัยอบอุ่นในบ้านและพร้อมหน้าพร้อมตาลูกหลานของตนเองได้อีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลรักษาด้วยข้อมูลที่ถูกต้องทันกาล ยิ่งจะช่วย ลดการสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

Home Health Monitoring ประกอบไปด้วยอะไร?
ได้แต่หวังว่าหากเมืองไทยเราได้มีระบบสื่อสาร 3 & 4Gที่จะทันมารองรับ พอร์ทัลไซต์ที่ปลอดภัยเพื่อให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์/บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลอยู่สามารถเข้าถึงได้จากศูนย์ติดตามอาการที่อยู่นอกโรงพยาบาล (remote monitoring center) เพื่อให้บริษัทเอกชนเข้ามาพัฒนาระบบโดยระบบ Home Health Monitoring ที่สามารถติดตามอาการของโรคเรื้อรังได้หลายโรค รวมถึงการเก็บบันทึกข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล วิเคราะห์ผลการทดสอบที่ผู้ป่วยทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน และส่งข้อมูลแจ้งเตือนต่างๆ ที่จำเป็นให้บุคลากรทางการแพทย์รับทราบ

ยิ่งไปกว่านั้นระบบนี้ ยังต้องการผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถนำเสนอโซลูชั่นสำหรับการติดตามอาการแบบ web-based สำหรับผู้สูงอายุได้ โดยญาติและผู้ดูแลสามารถเข้าถึงอุปกรณ์เฝ้าระวังต่างๆ ได้จากที่บ้านผ่านการผนวกเข้ากับอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด เช่น กล้องพร้อมจอมอนิเตอร์, ปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน, ระบบประตูนิรภัย, เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเครื่องตรวจจับควัน เข้ากับอุปกรณ์เสริมเพื่อการดูแลสุขภาพ เช่น ตู้ยา, เครื่องชั่งน้ำหนัก, เครื่องวัดความดันเลือด เครื่องวัดปริมาณน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และระบบป้องกันการหกล้ม

สนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติม ขอความกรุณาตามติดไปดูข้อมูลได้ที่

Motiva Home Health Monitoring,

Amdocs Launches Cloud-Based eHealth Solutions to Give Service Providers Fast Entry to Growing Market