วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปวดหัวไมเกรน รักษาอย่างไรให้หายขาด? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


"โอ๊ย ปวดหัวจัง รักษาอย่างไรจึงจะหายปวดคะ?"
ไมเกรนเป็นโรคปวดศรีษะที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม มาดูว่าถ้าอาการปวดไมเกรนกินเข้าไปแล้ว ทำอย่างไร เราจะหายปวดหัวได้ทันใจ และแน่นอนที่สุด ถ้าเราค้นหาปัจจัยกระตุ้นให้พบและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านั้นเป็นการป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนที่ดีและปลอดภัยได้ดีที่สุด

1. การควบคุมปัจจัยเสี่ยง
อยากหายขาดใช่ไหม? ง่ายมาก ให้ค้นพบและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการไมเกรน โดยสาเหตุในการเกิดแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป เช่น ความเครียด กลิ่นฉุน ความร้อน แสงที่จ้าเกินไป การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ  ดังนั้นผู้ป่วยทุกคนควรมีการสังเกตตนเองหรือจดบันทึกว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดไมเกรนเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงได้อย่างเหมาะสม

2. การรักษาไมเกรนด้วยยา
แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ กินยาเพื่อรักษา และกินเพื่อป้องกัน

2.1 กินเพื่อรักษาอาการปวดหัวแบบเฉียบพลัน
กรณีที่เป็นไม่บ่อยและมีอาการไม่รุนแรง ให้รับประทานยาประเภทพาราเซตามอล, แอสไพริน  อาการจะบรรเทาลงภายใน 1-2 ชั่วโมง

กรณีที่ปวดรุนแรงอาจต้องกินยากลุ่มเมเฟนนามิคหรือไอบูโปรเฟนหรือยาแก้ปวดที่ให้ฤทธิ์แก้ปวดที่แรงกว่านี้  เรื่องยาที่ใช้จะมาเล่าอย่างละเอียดอีกตอนหน้าครับ

2.2 กินเพื่อป้องกันการปวดที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต
ถ้าเรามีอาการปวด ถี่ เป็นบ่อย มากกว่า 3 ครั้งต่อเดือน จะแนะนำให้รับประทานยากลุ่มที่ลดความถี่และความรุนแรงในการเกิดไมเกรน จนกว่าจะควบคุมอาการได้ ซึ่งยาทุกชนิดอาจมีผลข้างเคียงกับร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ คลื่นไส้อาเจียน  ดังนั้นผู้ป่วยทุกท่านต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน เพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเอง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตัวไหน ช่วยได้มั้ย?
ไม่ใช่ทางเลือกหลักนะครับ แต่เกลือแร่ในกลุ่มแคลซียม และแมกนีเซียม มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ทำให้มีส่วนช่วยลดความถี่และความรุนแรงในการเกิดอาการไมเกรนได้

มีรายงานว่าวิตามินบี มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและประสาท ทำให้ช่วยลดอาการปวดไม่ให้เกอดถี่และบ่อยได้เช่นกัน

สุดท้ายมีบางรายงานระบุว่า Omega-3 จากปลามีส่วนช่วยทำให้ลดการเกิดอาการ ไมเกรนได้ แต่ยังไม่ได้ผลในทุกคนนะครับ ต้องรอดูผลการใช้ในคนไข้ต่อไป

การลดอาการปวดไมเกรนด้วยตนเอง
เวลาปวดหัวไมเกรนขึ้นมา มันทรมานมากเรามีคำแนะนำที่พอจะช่วยบรรเทาปวดบ้างดังนี้
·      ใช้น้ำแข็งหรือ Cool Pack ประคบจุดที่มีการปวด เพื่อช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงและบรรเทาอาการปวด
·      ถ้าเลี่ยงได้ ให้หยุดพักผ่อนในห้องที่มืดและเงียบ ถ้าอากาศเย็นสบายจะช่วยได้มาก
·      อาบน้ำ สระผม จะช่วยได้เมื่อมีอาการปวดแบบเล็กน้อย
·      สำคัญมากๆๆๆๆ ให้คอยสังเกตปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนของตนเอง อาการ ระยะเวลา จากนั้นให้ทำการบันทึกเพื่อหาวิธีควบคุมต่อไป
·      งดอาหารที่มีสารกระตุ้นให้เกิดไมเกรน จำพวก ช็อคโกแล็ต กล้วยหอม เหล้า ผงชูรส ชา และกาแฟ เป็นต้น

ตอนหน้าเราจะมาดูว่าใช้ยาอะไร ตัวไหน ได้ผลและปลอดภัย


แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 11 มีค. 2556

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท

ไมเกรน: สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน?โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ไมเกรน: โรคปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ช่วยด้วย ปวดหัวไมเกรน ตามมารับประทาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine หรือ Cafergot ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย


ฟลูนาริซีน Flunarizine สำหรับป้องกันการเกิดไมเกรนและวิงเวียน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Practice parameter: Evidence-based guidelines for migraine headache (an evidence-based review) Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology
Stephen D. Silberstein, MD, FACP and for the US Headache Consortium,http://www.neurology.org/content/55/6/754.long

The 2012 AHS/AAN Guidelines for Prevention of Episodic Migraine: A Summary and Comparison With Other Recent Clinical Practice Guidelineshead_2185 930..945 Elizabeth Loder, MD, MPH; Rebecca Burch, MD; Paul Rizzoli, MD,

Guidelines for the diagnosis and management of migraine in clinical practice
William E.M. Pryse-Phillips, MD; David W. Dodick, MD;
John G. Edmeads, MD; Marek J. Gawel, MD; Robert F. Nelson, MD; R. Allan Purdy, MD; Gordon Robinson, MD; Denise Stirling, MD; Irene Worthington, BScPhm,http://www.cmaj.ca/content/156/9/1273.full.pdf


ผศ.นพ.รังสรรค์  เสวิกุล, โรคไมเกรน,
ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,

ผศ.นพ.รังสรรค์  เสวิกุล, โอ๊ย! ไมเกรน
,ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=499

ไมเกรน,  http://haamor.com/th/ไมเกรน/

นิสิตเภสัชศาสตร์ นันท์ปกรณ์ ดีประดิษฐ์,  ไมเกรน, http://sirinpharmacy.wordpress.com/2011/05/16/ไมเกรน-migraine/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น