วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปวดหัวอย่างไรนะ ที่เรียกว่าไมเกรน? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



แต่เดิมเรามักเรียก อาการปวดหัวข้างเดียวว่าคือปวดไมเกรน ซึ่งไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด ทำให้บางครั้งเรามีอาการปวดไมเกรนจริงๆขึ้นมาแล้ว เรากลับละเลยหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเพียงพอต่อไป ทำให้ต้องทนปวดต่อไปอีก
มาดูว่าอาการปวดศรีษะแบบไหนนะที่เรียกว่าไมเกรน

ปวดหัวธรรมดาเป็นเรื่องธรรมชาติ
เราทุกคนมีโอกาสปวดหัวได้เสมอ อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด มีไข้ เพียงนอนพักผ่อน ปล่อยใจให้สบายผ่อนคลาย อาการปวดก้อจะไม่รุนแรง แค่รับประทานยาแก้ปวดก็หายได้เอง ความถี่ของการเกิด ก้อนานๆ เป็นทีตามสภาวะร่างกาย


ปวดหัวธรรมดากับไมเกรน ภาพประกอบจาก http://www.healthspablog.org/general-health/how-weather-can-affect-your-migraine-headache


ปวดหัวอย่างไร ที่เรียกว่าไมเกรน?
โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะแบบเรื้อรัง คือมีอาการปวดได้บ่อยๆเมื่อมีตัวกระตุ้น และอาการที่ระหว่างเกิดจะมีอาการปวดศีรษะแบบกำเริบเป็นพักๆ  ที่เราเรียกว่า Migraine attack  ในบางราย อาการปวดศีรษะจะอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง และมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ วิงเวียน เห็นภาพพร่ามัว

อาการปวดศีรษะไมเกรนมีลักษณะเด่นก็คือ เราจะมีอาการปวดศีรษะแบบตุ้บ ๆ ตามจังหวะการเต้นของชีพจรนั่นเอง อาจจะปวดเป็นบริเวณพื้นที่เฉพาะส่วน เช่นที่ขมับข้างเดียว และตำแหน่งที่ปวดแต่ละครั้งอาจไม่แน่นอน อาจปวดซ้ำที่เดิมหรือสลับไปอีกข้างนึงก้อได้

บางครั้งอาจปวดที่ขมับพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งพบได้น้อยมาก ขณะปวดหากเอามือลองไปคลำดู จะคลำพบว่าเส้นเลือดใหญ่ตรงขมับข้างที่ปวดมักจะพองตัวและเต้นตุบๆตามจังหวะชีพจรเช่นเดียวกัน
เวลาของการปวด มักจะนานเป็นชั่วโมง ๆ ถึง 1-2 วัน

บางคนก่อนปวดไมเกรน จะมีอาการนำมาก่อน ก้อมี
หรือบางทีเราเรียกว่าปวดไมเกรนแบบ ออร่า โดยก่อนปวดศีรษะจะมีอาการออร่าจะเป็นอยู่นาน 5-20 นาที (ไม่เกิน 60 นาที) แล้วจะเว้นระยะไปพักหนึ่งก่อนค่อยปวดศีรษะ

อาการออร่าที่ว่านี้ เป็นอาการทางสายตาหรือประสาทรับความรู้สึก บางรายจะมีหลายๆอาการร่วมกัน
อาการทางตา ที่พบบ่อยคือ การเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นจุดๆ โดยมีขอบของแสงแบบซิกแซก ซึ่งจะเริ่มเกิดตรงกลางก่อนที่จะขยายใหญ่ขึ้น บางครั้งอาจเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง เช่น ภาพใหญ่ขึ้นจากปกติ เล็กกว่าปกติ เห็นภาพเป็นขาว-ดำ ไม่มีสี ร่วมด้วยได้ อาการอื่นเช่น ลานสายตาผิดปกติ เห็นภาพแคบลง หรือภาพตรงกลางหายไป

อาการเกี่ยวกับประสาทรับความรู้สึก คือมีความรู้สึกผิดปกติที่ผิวหนัง เช่น รู้สึกคัน ชา ร้อนซู่ซ่า หรือแสบร้อนก้อมี

สุดท้ายอาการเกี่ยวกับประสาทสั่งการ คือ มีความรู้สึกหนักที่แขนขา เหมือนไม่มีแรงยกขึ้น

ปวดแบบออร่านี้ ก่อนจะปวดหัวมักมีอาการตาพร่าตาลายนำมาก่อนสักพักใหญ่ แล้วจะค่อย ๆ ปวดแรงขึ้น บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่ออาเจียนแล้วก็จะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง หรือในคนไข้บางรายแม้จะไม่ได้กินยา ก็มักจะทุเลาไปได้เอง บางคน (เช่นตัวเภสัชกรเอง) หากได้นอนหลับสักครู่ก็อาจทุเลาดีขึ้นมาได้

ปวดไมเกรน เกิดได้บ่อย แค่ไหน?
ความถี่ในการปวด มักมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราวแล้วแต่บุคคล บางคนอาจปวดถี่ เดือนละ 1-2 ครั้ง หรือนานจะเป็นเมื่อมีปัจจัยกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นมา ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้จะโชคดีไปค้นพบหาสิ่งกระตุ้นหรือไม่ เพราะถ้าหาได้ ก้อจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดและลกความถี่ในการเกิดไปได้เอง ดังนั้น ถ้าเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นได้ ก็จะทำให้ปวดห่างหายไปได้น้อยลงไปเอง

ตอนหน้าเรามาดูว่า ปวดไมเกรนรักษาอย่างไร ใช้ยาตัวไหนดีนะ?


แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 10 มีค. 2556

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท

ไมเกรน: สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน?โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ไมเกรน: โรคปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ช่วยด้วย ปวดหัวไมเกรน ตามมารับประทาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine หรือ Cafergot ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย


ฟลูนาริซีน Flunarizine สำหรับป้องกันการเกิดไมเกรนและวิงเวียน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Practice parameter: Evidence-based guidelines for migraine headache (an evidence-based review) Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology
Stephen D. Silberstein, MD, FACP and for the US Headache Consortium, http://www.neurology.org/content/55/6/754.long

The 2012 AHS/AAN Guidelines for Prevention of Episodic Migraine: A Summary and Comparison With Other Recent Clinical Practice Guidelineshead_2185 930..945 Elizabeth Loder, MD, MPH; Rebecca Burch, MD; Paul Rizzoli, MD,

Guidelines for the diagnosis and management of migraine in clinical practice
William E.M. Pryse-Phillips, MD; David W. Dodick, MD;
John G. Edmeads, MD; Marek J. Gawel, MD; Robert F. Nelson, MD; R. Allan Purdy, MD; Gordon Robinson, MD; Denise Stirling, MD; Irene Worthington, BScPhm, http://www.cmaj.ca/content/156/9/1273.full.pdf


ผศ.นพ.รังสรรค์  เสวิกุล, โรคไมเกรน,
ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,

ผศ.นพ.รังสรรค์  เสวิกุล, โอ๊ย! ไมเกรน
,ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=499

ไมเกรน,  http://haamor.com/th/ไมเกรน/

นิสิตเภสัชศาสตร์ นันท์ปกรณ์ ดีประดิษฐ์,  ไมเกรน, http://sirinpharmacy.wordpress.com/2011/05/16/ไมเกรน-migraine/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น