วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลูกรักไอ ไม่หายซักที ทำอย่างไรดีนะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



“ลูกไอมาหลายวันแล้ว? ไม่ได้กิน ไม่ได้นอนเลย ทำอย่างไรดีคะ?”
เสียงไอ เป็นสัญญาณแห่งความห่วงใยที่ดีที่สุด เมื่อลูกรักของเราต้องมาไอแค้กๆ ที่จะเตือนให้เราจะได้รีบไปดูแลพร้อมบรรเทาอาการไอพร้อมกับรักษาต้นเหตุของโรค เพื่อที่น้องน้อยของคุณพ่อคุณแม่จะได้ไม่ต้องไอกันให้เหนื่อยไปอีก พบกับคำตอบของการไอว่าเราจะช่วยให้ลุกรักหายไอได้อย่างไร? 
ทำไมลูกน้อยถึงต้องไอแค้กๆ
คุณพ่อคุณแม่มักกังวลว่าทำไมลูกเราไอบ่อยจัง ที่จริงแล้วเราควรดีใจนะครับ อ้าว!! ทำไมอย่างนั้นหล่ะคุณเภสัชกร? อ๋อ ก้อเพราะว่าอาการไอค้อกไอแค้กนั้น เป็นกลไกของร่างกายตามธรรมชาติในการพยายามรักษาตัวเองให้หายใจได้สะดวก หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่อาจติดสะสมอยุ่ในทางเดินหายใจน่านเอง ถ้าลูกเราไอ เราก้อควรจะดีใจว่าขณะนี้ระบบภูมิต้านทานของน้องเขากำลังทำงานอย่างเต็มที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมให้ออกไป

ถ้าเข้าใจแล้ว ถ้าลูกเรายิ่งไอก้อยิ่งดีสินะ ใช่แล้วครับ เพราะคนเรามักจะไอเสมอเวลาที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามากระตุ้นหรือระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ สิ่งแปลกปลอมดังกล่าวที่ว่านั้นมีอะไรบ้างหล่ะ ถ้าอยากให้ลูกเราหายไอสบายใจ นั่นเป็นหน้าที่ของเราละที่ต้องหมั่นสังเกตุ ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ น้ำมูกหรือเสมหะที่ไหลหยดลงคอระหว่างหรือหลังที่น้องเป็นหวัด  เศษอาหารที่สำลักเข้าไปในหลอดลมระหว่างที่น้องกินข้าว ฝุ่นหมอกควันจากสภาพแวดล้อม สารก่อภูมิแพ้ที่ลูกเราอ่อนไหว มากมายเหลือเกินใช่ไหมครับ
                  ดังนั้นถ้าเราช่วยเหลือดูแลเค้าช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไป อาการไอก้อจะบรรเทาในขั้นต้นไปได้แล้ว โดยไม่ต้องไปพึ่งพายาแต่อย่างใด เภสัชกรจึงอยากจะเน้นว่าถ้ารักลูกจริง ให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นหาสาเหตุที่กระตุ้น ป้องกันได้ ลูกรักก้อหายไอได้แล้วในเบื้องต้น  

ลูกรักไอ แค่ไหนคือไอธรรมดา? รุนแรงเท่าใดจึงจะเป็นไอเรื้อรัง
อ้าว!!!  แล้วอย่างนี้เราต้องปล่อยให้ลูกๆไอไปเรื่อยๆหรือ? ไม่ใช่เช่นนั้นแน่นอนครับ  ถ้าเป็นไอธรรมดาจากกลไกร่างกายตามธรรมชาติที่กล่าวมาแล้ว เราจะมีคำแนะนำเพื่อบรรเทาอาการไอต่อไป 
 หากเป็นไอธรรมดานั้น มักเกิดจากการเด็กส่วนใหญ่จะมีอาการไอในช่วงที่มีอาการของไข้หวัดนำมาก่อน แล้วตามมาด้วยการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน การติดเชื้อต่างๆ ในบริเวณนี้จะทำให้เกิดการอักเสบ ร่างกายน้องน้อยจะมีการผลิตเสมหะและน้ำมูกออกมามาก ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ลูกรักจะมีอาการไอ ร่วมกับมีไข้ ตัวร้อน คัดจมูก น้ำมูกไหล ที่เป็นมากอาจจะติดเชื้อจนเจ็บคอตามมา
เวลานี้กลไกร่างกายต้องการขับสิ่งแปลกปลอม เช่นเสลด หนอง หรือก้อนเลือด ในหลอดลมและถุงลมออกไป เพราะหากมีสารต่างๆที่ว่ามา อาจจะเป็นการสะสมเชื้อหรือ กลับไปมีการอุดตันทางเดินหายใจทำให้เด็กอาการยิ่งแย่ลงไปอีก ดังนั้นถ้ายิ่งไอก้อจะเป็นการช่วยลดอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายของเขาเอง  อาการไอธรรมดาแบบนี้จึงนับว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายน้องเขาอย่างมาก เห็นไหมหล่ะครับ เมื่อภูมิต้านทานเริ่มกลับมาเหมือนเดิม การติดเชื้อก้อจะทุเลาน้อยลงๆ อาการไอก็จะค่อยๆ แรง น้อยลงๆ  รวมไปถึงความถี่ของการไอ ก้อจะห่างออกไปๆ และหายไปได้ในที่สุด เมื่อร่างกายเขากลับมาแข็งแรงตามปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
 คราวนี้หากเวลาผ่านไป แต่ลูกเราก้อยังมีอาการไอไม่หายสักทีทั้งๆที่ไข้หวัดก้อหายสนิทดีแล้ว ซ้ำร้ายความถี่ของการไอไม่ยอมลดลง กลับถี่มากกว่าเดิมเข้าไปอีก จนถึง 3-4 สัปดาห์แล้ว คงจะไม่ใช่อาการไอธรรมดาๆ แล้วล่ะ ไอนานๆแบบนี้อย่าได้วางใจ อาจะเป็นไอเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อจะได้หาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุดต่อไป
บรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ลูกรัก ต้องกำจัดที่ต้นเหตุ
สาเหตุของการไอเรื้อรังในเด็ก มักเกิดและพบได้บ่อยๆ  ได้แก่
  • ไอจากมีน้ำมูกหรือเสมหะหยดลงคอ
  • ไอจากหลอดลมไวมากไป ไม่ว่าจะเกิดมาจากโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จนตามมาด้วยอาการของโรคหอบหืดในที่สุด
  • ไอจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในทางเดินหายใจ เช่นหลงกลืนเมล็ดถั่วเข้าไปในหลอดลม
  • ไอจากการใช้เสียงมากเกินไป อาจเกิดจากการที่เล่นสนุกแล้วร้องตะโกนเสียงดัง  
  • ไอจากโรคกรดไหลย้อน เกิดจากการขย้อนกรดน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ที่ทะลักขึ้นมาระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เด็กๆก้ออาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
  • ไอจากการติดเชื้อแบบเรื้อรัง เช่น ปอดบวมหรือวัณโรคที่ไม่ได้รับการรักษา
  • ไอจากการที่ลูกรักไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แย่  เช่น มีฝุ่นละอองหรือควันจากท่อไอเสียรถยนต์ที่มาจากถนนใกล้ๆ หรืออยุ่ในถนนที่รถติดนานๆ ไปอยู่ในสถานที่ที่ผู้ใหญ่สูบ และพ่นควันบุหรี่อย่างไม่นึกถึงสุขภาพคนอื่นเลย  ควันไฟหรือฝุ่นละอองจากโรงงานใกล้ๆที่ไม่มีการดูแล อากาศที่เย็นหรือชื้นมากเกินไป เป็นต้น
ทราบเช่นนี้แล้ว อย่าได้วางใจ เมื่อไปพบแพทย์ผู้ชำนาญ จะช่วยให้เราค้นหาสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเกิดมีอาการไอ ไม่ว่าจะไอธรรมดาหรือไออย่างเรื้อรัง จะได้รับมือรักษาและเลือกใช้ยาแก้ไอ ได้อย่างถูกต้อง ต่อไปในตอนหน้า เพื่อให้ลูกรักของเราหมดเสียงไอน่ากังวลใจ กลายเป็นเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขต่อไปครับ

แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล


•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 มีค. 2556


ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ


การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง


บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ยาที่บรรเทารักษาการไอที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ลูกรักมีอาการไอเรื้อรัง รักษา ป้องกันอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ลูกมีอาการไอ รักษาหายได้แต่ต้องรุ้สาเหตุ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ไอค้อกแค้กรำคาญใจ ทำอย่างไรจึงจะหายขาด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

อาการไอ อยากหายขาด ต้องทราบสาเหตุ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือดูแลรักษากลุ่มโรคและอาการภูมิแพ้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,




Clinical Practice Guidelines: COUGH,  The Royal Children's Hospital, Melbourne http://www.rch.org.au/clinicalguide/cpg.cfm?doc_id=9744


Coughs, WebMD , http://www.emedicinehealth.com/coughs/article_em.htm


Cough, NetDoctor.co.uk , http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/cough.htm


Your child’d cough, KidsHealth,http://kidshealth.org/parent/general/eyes/childs_cough.html


ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ,ไอ บอกสุขภาพลูก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.elib-online.com/doctors51/child_fever001.html


ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ทำไมลูกไม่หายไอสักที, วิชัยยุทธจุลสาร, ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550


ผศ.นพ.จักรพันธ์ สุศิวะ โรคไอเรื้อรังในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.มหิดล


ยาแก้ไอ, Thailabonline , http://www.thailabonline.com/drug/drug9.htm


ภก.พนิดา จารุศิลาวงศ์, ยาแก้ไอ,หมอชาวบ้าน เล่ม : 2 เดือน-ปี : 06/2522, http://www.doctor.or.th/node/5109


นพ. สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ,ไอเรื้อรัง, วิชัยยุทธจุลสาร  ฉบับที่ 35 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2549, http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp


จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ และ ผศ.นพ.อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล, วิธีการระบายน้ำมูกในโพรงจมูก,  หน่วยโรคระบบการหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  , http://www.oknation.net/blog/DrPon/2009/12/16/entry-1


·         รูปประกอบจาก http://www.babyzone.com/assets/cms/images/baby/articles/baby-woman-photo-420x420-ts-86489916.jpgและ 

http://www.babyboutiques.org/wp-content/uploads/2011/01/how-to-do-baby-cough.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น