อันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขา“ภัยร้ายบนเส้นทางเพื่อขาเรียวงาม”
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาและน่อง ทั้งชนิดรับประทานและแบบเจลสำหรับทาภายนอก กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในผู้หญิง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ใฝ่ฝันอยากจะมีรูปร่างที่เพรียวสวย ต้นขาต้นแขนกระชับได้สัดส่วนตามแบบดารานักร้อง จึงเป็นแรงผลักดันให้มีการผลิตและโฆษณาสินค้าในหมวดหมู่นี้กันอย่างกว้างขวางทั้งในท้องตลาดทั่วไปและตลาดในโลกออนไลน์ ด้วยรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบอย่างสวยงาม ตลอดจนคำอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ ที่ดึงดูดใจและกระตุ้นผู้บริโภคให้อยากทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็มีทั้งที่ใช้ได้ผลและไม่ได้ผลแตกต่างกันไปในแต่ละราย สื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงและซื้อหาสินค้าได้ไม่ยาก โดยไม่ต้องเดินเข้าหาร้านยาหรือไปคลินิกเสริมความงามให้เสียเวลา ดังนั้นความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์จึงมีอยู่มาก เพราะไม่มีข้อมูลและหลักฐานที่แน่ชัดเพียงพอที่จะรับประกันคุณภาพและความปลอดภัย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการจดทะเบียนโดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) อย่างถูกต้องตามกฎหมาย บางส่วนเป็นสินค้านำเข้าซึ่งยากแก่การตรวจสอบในเรื่องเหล่านี้เช่นกัน เราทั้งหลายในฐานะผู้บริโภคจึงควรที่จะรู้เท่าทัน ด้วยการศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยก่อนเป็นอย่างแรก ทั้งในแง่ของส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ วิธีการใช้ ตลอดจนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเป็นต้น
นักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ วัย 20 ปี ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า“โดยส่วนตัวแล้วเคยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาหรือวิตามินลดต้นขา ซึ่งสั่งซื้อจากเพื่อนผ่านทางอินเตอร์เน็ต บรรจุในซองใส่ยาทั่วไป ไม่มีเครื่องหมาย อย. นำเข้ามาจากนิวซีแลนด์ ก่อนใช้ก็ได้มีการอ่านข้อมูลเรื่องความปลอดภัยจากเว็บไชต์ที่สั่งซื้อ แล้วเห็นว่าปลอดภัยดีจึงอยากลองใช้ดู เพราะไม่ชอบออกกำลังกายแต่อยากผอมสวยหุ่นดีขาเรียวแบบเห็นผลไว เมื่อใช้แล้วเห็นผลภายใน 3 วัน รู้สึกว่าต้นขาลดลง อีกทั้งน้ำหนักยังลดลงอีกด้วย วัยรุ่นเดี๋ยวนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายและถ้ามีโอกาสก็อยากใช้อีก”
นี่เป็นตัวอย่างของผู้ใช้จริงซึ่งพอถามต่อถึงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อความปลอดภัยของการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เธอได้ให้ข้อมูลว่า “พอจะรู้ว่าผลิตภัณฑ์นี้นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมายและอาจเกิดอันตรายได้หากใช้ แต่ที่กล้าใช้เพราะเห็นเพื่อนและคนอื่นๆ ใช้แล้วก็ได้ผลไม่เป็นอันตรายอะไร จึงไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มาก เพราะคิดว่ากินแค่ไม่กี่เม็ดเดี๋ยวพอขาเล็กลงก็เลิกกินแล้ว”นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความคิดเห็นของผู้ที่ใช้ไม่ได้ผลเป็นจำนวนมากในอินเตอร์เน็ตที่ให้ความเห็นในทางเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น “ไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ขา ออกกำลังกายยังเห็นผลมากกว่า ”และเพึ่งกินได้สักพัก ช่วงแรกรู้สึกแย่มาก ไม่สบาย เวียนหัวคล้ายจะเป็นลมคลื่นไส้อาเจียนมาก ไม่มีแรง ใจสั่น มือไม้อ่อนกระหายน้ำ ปัสสาวะทั้งวัน มีกลิ่นปาก ปากแห้ง หงุดหงิด ซึมเศร้า และนอนไม่หลับทั้งคืน นี่คือสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นจริงซึ่งทำให้เห็นได้ว่า ผู้บริโภคหลายคนยังคงคิดว่าอันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นเป็นเรื่องไกลตัว และหลงเชื่อในสรรพคุณจากการโฆษณาอย่างง่ายดายโดยหารู้ไม่ว่ากำลังเสี่ยงกับสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายจนกระทั่งได้ทดลองใช้เองแล้วเกิดอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายขึ้นมาซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้หากขาดความระมัดระวังและความรู้ที่ถูกต้องในการใช้
เพราะเหตุใด????
“วิตามินลดต้นขาหรือวิตามินขาเรียว” จึงถูกอ้างว่าทำให้ขาเรียวได้
จากการศึกษาข้อมูลของส่วนประกอบที่พบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาหลายยี่ห้อ พบว่ามีส่วนประกอบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแต่ละส่วนประกอบนั้นก็มีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณในทางเดียวกัน คือเพื่อลดการลดน้ำหนัก ลดไขมันและคลอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ตลอดจนลดอาการบวม จึงได้นำมารวมกันไว้ในผลิตภัณฑ์เดียว เพื่อหวังผลให้เสริมฤทธิ์กันช่วยให้ผอมเพรียว แขนขาเรียวกระชับแบบทันตาเห็นนั่นเอง ซึ่งส่วนประกอบของผลิตเสริมอาหารลดต้นขาที่พอจะรวบรวมได้มีดังนี้
แปะก๊วย (Gingko): โดยทั่วไปแล้วจะใช้เพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปสู่สมองและปลายมือปลายเท้า แต่ถ้าใช้ในขนาดสูงอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้ เช่นมีอาการชัก เลือดออกในทางเดินอาหาร ส่งผลให้อุจจาระเป็นสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด เลือดออกในสมอง และกรดกิงโกลิก (gingkolic acid) ในแปะก๊วย ยังอาจทำให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงได้ อีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
คูมาริน(coumarin): ส่วนใหญ่จะใช้เป็นส่วนประกอบของยาต้านการแข็งตัวของเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด แต่คูมารินมีความเป็นพิษต่อตับและไต รวมถึงอาจทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหารหรือสมองได้
นักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ วัย 20 ปี ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า“โดยส่วนตัวแล้วเคยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาหรือวิตามินลดต้นขา ซึ่งสั่งซื้อจากเพื่อนผ่านทางอินเตอร์เน็ต บรรจุในซองใส่ยาทั่วไป ไม่มีเครื่องหมาย อย. นำเข้ามาจากนิวซีแลนด์ ก่อนใช้ก็ได้มีการอ่านข้อมูลเรื่องความปลอดภัยจากเว็บไชต์ที่สั่งซื้อ แล้วเห็นว่าปลอดภัยดีจึงอยากลองใช้ดู เพราะไม่ชอบออกกำลังกายแต่อยากผอมสวยหุ่นดีขาเรียวแบบเห็นผลไว เมื่อใช้แล้วเห็นผลภายใน 3 วัน รู้สึกว่าต้นขาลดลง อีกทั้งน้ำหนักยังลดลงอีกด้วย วัยรุ่นเดี๋ยวนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายและถ้ามีโอกาสก็อยากใช้อีก”
นี่เป็นตัวอย่างของผู้ใช้จริงซึ่งพอถามต่อถึงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อความปลอดภัยของการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เธอได้ให้ข้อมูลว่า “พอจะรู้ว่าผลิตภัณฑ์นี้นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมายและอาจเกิดอันตรายได้หากใช้ แต่ที่กล้าใช้เพราะเห็นเพื่อนและคนอื่นๆ ใช้แล้วก็ได้ผลไม่เป็นอันตรายอะไร จึงไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มาก เพราะคิดว่ากินแค่ไม่กี่เม็ดเดี๋ยวพอขาเล็กลงก็เลิกกินแล้ว”นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความคิดเห็นของผู้ที่ใช้ไม่ได้ผลเป็นจำนวนมากในอินเตอร์เน็ตที่ให้ความเห็นในทางเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น “ไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ขา ออกกำลังกายยังเห็นผลมากกว่า ”และเพึ่งกินได้สักพัก ช่วงแรกรู้สึกแย่มาก ไม่สบาย เวียนหัวคล้ายจะเป็นลมคลื่นไส้อาเจียนมาก ไม่มีแรง ใจสั่น มือไม้อ่อนกระหายน้ำ ปัสสาวะทั้งวัน มีกลิ่นปาก ปากแห้ง หงุดหงิด ซึมเศร้า และนอนไม่หลับทั้งคืน นี่คือสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นจริงซึ่งทำให้เห็นได้ว่า ผู้บริโภคหลายคนยังคงคิดว่าอันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นเป็นเรื่องไกลตัว และหลงเชื่อในสรรพคุณจากการโฆษณาอย่างง่ายดายโดยหารู้ไม่ว่ากำลังเสี่ยงกับสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายจนกระทั่งได้ทดลองใช้เองแล้วเกิดอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายขึ้นมาซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้หากขาดความระมัดระวังและความรู้ที่ถูกต้องในการใช้
เพราะเหตุใด????
“วิตามินลดต้นขาหรือวิตามินขาเรียว” จึงถูกอ้างว่าทำให้ขาเรียวได้
จากการศึกษาข้อมูลของส่วนประกอบที่พบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาหลายยี่ห้อ พบว่ามีส่วนประกอบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแต่ละส่วนประกอบนั้นก็มีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณในทางเดียวกัน คือเพื่อลดการลดน้ำหนัก ลดไขมันและคลอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ตลอดจนลดอาการบวม จึงได้นำมารวมกันไว้ในผลิตภัณฑ์เดียว เพื่อหวังผลให้เสริมฤทธิ์กันช่วยให้ผอมเพรียว แขนขาเรียวกระชับแบบทันตาเห็นนั่นเอง ซึ่งส่วนประกอบของผลิตเสริมอาหารลดต้นขาที่พอจะรวบรวมได้มีดังนี้
แปะก๊วย (Gingko): โดยทั่วไปแล้วจะใช้เพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปสู่สมองและปลายมือปลายเท้า แต่ถ้าใช้ในขนาดสูงอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้ เช่นมีอาการชัก เลือดออกในทางเดินอาหาร ส่งผลให้อุจจาระเป็นสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด เลือดออกในสมอง และกรดกิงโกลิก (gingkolic acid) ในแปะก๊วย ยังอาจทำให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงได้ อีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
คูมาริน(coumarin): ส่วนใหญ่จะใช้เป็นส่วนประกอบของยาต้านการแข็งตัวของเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด แต่คูมารินมีความเป็นพิษต่อตับและไต รวมถึงอาจทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหารหรือสมองได้
รู้หรือไม่??? เมื่อทานแปะก๊วยร่วมกับคูมาริน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารและสมองมากยิ่งขึ้น ซึ่งพบการใช้สารทั้งสองตัวนี้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทำให้ขาเรียว และยาลดความอ้วน นี่จึงเป็นอันตรายร้ายแรงอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ก็เป็นได้!!!!สารสกัดพิคโนจีนอล (Pycnogenol)จากเปลือกสนมารีไทม์ และสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
(Grapeseed): มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ในประเทศไทยใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อใช้ในการรักษาฝ้า และได้มีการนำมาใช้ลดอาการปวดขา ภาวะขาไม่มีแรง และภาวะบวมน้ำ โดยไม่มีการศึกษายืนยันประสิทธิภาพที่แน่ชัดนอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวและอาหารไม่ย่อยเป็นต้น
แอล-ซิทรูลิน (L-citrulline):เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบในแตงโม ช่วยให้พลังงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อแต่ผู้ขายนำมาใช้แก้อาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อขา
สารสกัดจากต้นยัคคะ (Yucca) :เป็นพืชสมุนไพรที่พบในแถบอเมริกา อาจช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยในมนุษย์ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ มีการอาการปวดหัว คลื่นไส้ แม้จะใช้ในปริมาณน้อยในระยะเวลาสั้นๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ที่แน่ชัด จึงไม่แนะนำให้ใช้สารสกัดจากต้นยัคคะและแอล-ซิทรูลินในหญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างการใช้นมบุตร
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่พบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อหวังผลลดน้ำหนัก ได้แก่สารสกัดจากเปลือกต้นควิลเลย์ (Quillay)และสารสกัดจากใบสะเดาอินเดียที่นำมาใช้เพื่อช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ทั้งสองส่วนประกอบนี้มีอันตรายและผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้มากมาย เช่น ทำให้ตับถูกทำลาย ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ปวดท้อง ท้องเสีย หมดสติ และมีผลต่อการบีบตัวของมดลูกซึ่งอาจทำให้คนที่ตั้งครรภ์แท้งได้นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจากส้มแขกคือ ไฮดรอกซีซิตริกแอซิด (Hydroxycitric acid) ซึ่งยังไม่มีการศึกษาที่พบว่ามีฤทธิ์ช่วยลดน้ำหนักได้ในคนในทางตรงกันข้ามอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและพิษต่อตับได้
เมื่อพิจารณาแต่ละส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาหรือเป็นที่รู้จักในชื่อ “วิตามินขาเรียว”จะพบว่ามีอันตรายจากผลข้างเคียงและอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆมากมายจากการใช้ทั้งเดี่ยวๆ และใช้ร่วมกัน ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำไมจึงเห็นว่าหลายคนใช้ไม่ได้ผลและได้รับผลข้างเคียงมากมายโดยที่บางรายนั้นถึงกับเสียชีวิต ดังนั้นคุ้มค่าแล้วหรือที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นหนทางไปสู่การมีรูปร่างสวยและสุขภาพดี ???
หากมองในแง่กฎหมายของการนำเข้าและโฆษณาอ้างอิงสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ดังกล่าว ผศ.ภก.ยงยุทธ เรือนทา อาจารย์ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นว่า“ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องมีฉลากแปลเป็นภาษาไทยเพื่อบอกส่วนประกอบและข้อบ่งใช้แก่ผู้บริโภคอย่างครบถ้วน อีกทั้งการโฆษณาขายและโอ้อวดสรรพคุณยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เนื่องจาก อย. ไม่อนุญาตให้กระทำการดังกล่าว มีผู้ผลิตหลายรายที่พยายามหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายโดยขึ้นทะเบียนสินค้าของตนเป็นอาหารหรือเครื่องสำอางค์ เพื่อให้สามารถทำการขายและโฆษณาได้โดยง่ายและแพร่หลาย สินค้าบางอย่างอาจมีเครื่องหมาย อย. ก็จริง แต่ต้องตรวจสอบต่อไปว่าเครื่องหมายและเลขที่แจ้งนั้นเป็นเลขจริงหรือไม่ ซึ่งพบสินค้าในลักษณะนี้ได้มากเช่นกันในหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์สุขภาพ”
เราทุกคนในฐานะผู้บริโภคจึงควรมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้องและรู้เท่าทันถึงผลเสียและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งพอจะสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้
- - ควรบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้เหมาะกับเพศ วัย และสภาวะของร่างกาย
- ปรึกษาแพทย์ควบคู่ไปกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในกรณีที่คุณจะเปลี่ยนจากการใช้ยาเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแทน หรือการที่จะใช้ควบคู่ไปกับยา เพราะอาจมีความไม่เข้ากันและก่อให้เกิดอันตรายได้
- ควรอ่านฉลากอย่างละเอียด และมองหาหลักฐานหรือการรับรองคุณภาพทางวิทยาศาสตร์หรือเครื่องหมายมาตรฐานต่างๆที่แสดงถึงความปลอดภัยของสินค้า ตลอดจนไม่หลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณที่เกินจริง
- จำเป็นต้องรู้คือขนาดที่เหมาะสมของการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในแต่ละครั้ง เพราะจะสามารถลดความเสี่ยงจากการใช้เกินขนาด
(Grapeseed): มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ในประเทศไทยใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อใช้ในการรักษาฝ้า และได้มีการนำมาใช้ลดอาการปวดขา ภาวะขาไม่มีแรง และภาวะบวมน้ำ โดยไม่มีการศึกษายืนยันประสิทธิภาพที่แน่ชัดนอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวและอาหารไม่ย่อยเป็นต้น
แอล-ซิทรูลิน (L-citrulline):เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบในแตงโม ช่วยให้พลังงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อแต่ผู้ขายนำมาใช้แก้อาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อขา
สารสกัดจากต้นยัคคะ (Yucca) :เป็นพืชสมุนไพรที่พบในแถบอเมริกา อาจช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยในมนุษย์ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ มีการอาการปวดหัว คลื่นไส้ แม้จะใช้ในปริมาณน้อยในระยะเวลาสั้นๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ที่แน่ชัด จึงไม่แนะนำให้ใช้สารสกัดจากต้นยัคคะและแอล-ซิทรูลินในหญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างการใช้นมบุตร
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่พบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อหวังผลลดน้ำหนัก ได้แก่สารสกัดจากเปลือกต้นควิลเลย์ (Quillay)และสารสกัดจากใบสะเดาอินเดียที่นำมาใช้เพื่อช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ทั้งสองส่วนประกอบนี้มีอันตรายและผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้มากมาย เช่น ทำให้ตับถูกทำลาย ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ปวดท้อง ท้องเสีย หมดสติ และมีผลต่อการบีบตัวของมดลูกซึ่งอาจทำให้คนที่ตั้งครรภ์แท้งได้นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจากส้มแขกคือ ไฮดรอกซีซิตริกแอซิด (Hydroxycitric acid) ซึ่งยังไม่มีการศึกษาที่พบว่ามีฤทธิ์ช่วยลดน้ำหนักได้ในคนในทางตรงกันข้ามอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและพิษต่อตับได้
เมื่อพิจารณาแต่ละส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดต้นขาหรือเป็นที่รู้จักในชื่อ “วิตามินขาเรียว”จะพบว่ามีอันตรายจากผลข้างเคียงและอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆมากมายจากการใช้ทั้งเดี่ยวๆ และใช้ร่วมกัน ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำไมจึงเห็นว่าหลายคนใช้ไม่ได้ผลและได้รับผลข้างเคียงมากมายโดยที่บางรายนั้นถึงกับเสียชีวิต ดังนั้นคุ้มค่าแล้วหรือที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นหนทางไปสู่การมีรูปร่างสวยและสุขภาพดี ???
หากมองในแง่กฎหมายของการนำเข้าและโฆษณาอ้างอิงสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ดังกล่าว ผศ.ภก.ยงยุทธ เรือนทา อาจารย์ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นว่า“ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องมีฉลากแปลเป็นภาษาไทยเพื่อบอกส่วนประกอบและข้อบ่งใช้แก่ผู้บริโภคอย่างครบถ้วน อีกทั้งการโฆษณาขายและโอ้อวดสรรพคุณยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เนื่องจาก อย. ไม่อนุญาตให้กระทำการดังกล่าว มีผู้ผลิตหลายรายที่พยายามหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายโดยขึ้นทะเบียนสินค้าของตนเป็นอาหารหรือเครื่องสำอางค์ เพื่อให้สามารถทำการขายและโฆษณาได้โดยง่ายและแพร่หลาย สินค้าบางอย่างอาจมีเครื่องหมาย อย. ก็จริง แต่ต้องตรวจสอบต่อไปว่าเครื่องหมายและเลขที่แจ้งนั้นเป็นเลขจริงหรือไม่ ซึ่งพบสินค้าในลักษณะนี้ได้มากเช่นกันในหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์สุขภาพ”
เราทุกคนในฐานะผู้บริโภคจึงควรมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้องและรู้เท่าทันถึงผลเสียและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งพอจะสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้
- - ควรบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้เหมาะกับเพศ วัย และสภาวะของร่างกาย
- ปรึกษาแพทย์ควบคู่ไปกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในกรณีที่คุณจะเปลี่ยนจากการใช้ยาเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแทน หรือการที่จะใช้ควบคู่ไปกับยา เพราะอาจมีความไม่เข้ากันและก่อให้เกิดอันตรายได้
- ควรอ่านฉลากอย่างละเอียด และมองหาหลักฐานหรือการรับรองคุณภาพทางวิทยาศาสตร์หรือเครื่องหมายมาตรฐานต่างๆที่แสดงถึงความปลอดภัยของสินค้า ตลอดจนไม่หลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณที่เกินจริง
- จำเป็นต้องรู้คือขนาดที่เหมาะสมของการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในแต่ละครั้ง เพราะจะสามารถลดความเสี่ยงจากการใช้เกินขนาด
ท้ายที่สุดนี้ ควรนึกไว้เสมอว่า ถึงแม้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะมีที่มาจากธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธรรมชาตินั้นจะปลอดภัยเสมอไป เพราะอาจมีความเป็นพิษและมีสิ่งปนเปื้อนก็เป็นได้ และส่วนประกอบที่ระบุลงในฉลากอาจไม่ตรงกับที่มีอยู่จริง ทั้งในด้านชนิดและปริมาณ ที่สำคัญคือ ก่อนเลือกใช้ควรศึกษาข้อมูลยาที่ใช้อยู่ให้รอบคอบ เพราะอาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยานั้นร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ และหากพบปัญหาหรือข้อร้องเรียนให้มีการตรวจสอบ สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร 1556 ซึ่งให้บริการข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ หรือร้องเรียนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพราะแม้ผลิตภัณฑ์จะดีแค่ไหน แต่หากไม่มีความปลอดภัยก็ไม่สามารถจะผ่านด่านการตรวจสอบไปได้เช่นกัน
“สุขภาพของคุณ คุณเลือกเองได้” ตามแบบฉบับของผู้บริโภคยุคใหม่ที่รู้เท่าทัน
บทความโดย
นายพีรสุต แสงประเสริฐ
นางสาวรมย์นลิน กิจภิญโญ
นางสาวสมัชชา แก้วบุญธรรม
นายอธิษฐ์ ทะหล้า
นางสาวอลิสา แป้นมงคล
“สุขภาพของคุณ คุณเลือกเองได้” ตามแบบฉบับของผู้บริโภคยุคใหม่ที่รู้เท่าทัน
บทความโดย
นายพีรสุต แสงประเสริฐ
นางสาวรมย์นลิน กิจภิญโญ
นางสาวสมัชชา แก้วบุญธรรม
นายอธิษฐ์ ทะหล้า
นางสาวอลิสา แป้นมงคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น