จากข่าว แองเจลินา โจลี นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดังวัย 37 ปี เมื่อเธอเปิดเผยว่าได้เข้ารับการผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้างทิ้ง เนื่องจากในตัวเธอมีโครโมโซมผิดปกติที่เรียกว่า BRCA1 gene
เรามีคำตอบมาอธิบายว่ามันคืออะไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับโอกาสเกิดมะเร็ง
ผ่าตัดเต้านมไปทำไม?
รายงานระบุว่า แองเจลินา โจลี ได้เขียนบทความ "My Medical Choice" ลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส เพื่ออธิบายถึงการตัดสินใจครั้งสำคัญของเธอ ว่า การตัดเต้านมทิ้งทั้งสองข้าง เป็นมาตรการป้องกันไว้ก่อน หลังจากที่แพทย์พบความผิดปกติในยีน BRCA1 และวินิจฉัยว่าเธอเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 87 และมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่อีกร้อยละ 50 อีกทั้ง แม่ของเธอเองก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุ 56 ปี
รายงานระบุว่า แองเจลินา โจลี ได้เขียนบทความ "My Medical Choice" ลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส เพื่ออธิบายถึงการตัดสินใจครั้งสำคัญของเธอ ว่า การตัดเต้านมทิ้งทั้งสองข้าง เป็นมาตรการป้องกันไว้ก่อน หลังจากที่แพทย์พบความผิดปกติในยีน BRCA1 และวินิจฉัยว่าเธอเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 87 และมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่อีกร้อยละ 50 อีกทั้ง แม่ของเธอเองก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุ 56 ปี
BRCA คืออะไร
โลกหมุนไป เร็วมากในปัจจุบันมีการศึกษามากมายเกี่ยวกับวิธีการใหม่ ๆ เกี่ยวกับการตรวจ การรักษา และการป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มนี้ รวมทั้งมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมและผลที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในยีนที่รายงานกล่าวถึง คือ Tumor suppressor genes มีอยู่หลายตัวด้วยกัน เช่น P53, BRCA1, BRCA2,APC และ RB1 มากมาย
Tumor suppressor gene ที่ว่านี้ ทำหน้าที่ในร่างกายเราเปรียบเหมือนกับเบรกของรถยนต์ โดยมันทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เซลล์
แบ่งตัวเร็วมากเกินไป เหมือนกับที่เราเบรกรถยนต์ ไม่ให้รถยนต์วิ่งเร็วเกินไปนั่นเอง
เมื่อไรก็ตาม หากเราเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นกับยีนตัวนี้ จะก่อให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์เกินที่จะควบคุมได้ เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งขึ้นตามมาได้ในที่สุด
ชื่อ BRCA นั้น ย่อมาจาก Breast cancer susceptibility gene เป็นกลุ่มยีนของมนุษย์ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (tumor suppressor gene) ในคนเราปกติจะมียีนส์ที่เรียกว่า BRCA1 และ BRCA2 ยีนเหล่านี้จะทำให้เกิดกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่ที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้
การผ่าเหล่าของยีน BRCA1 และ BRCA2 เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอย่างไร?
การผ่าเหล่าของยีน BRCA1 และ BRCA2 เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอย่างไร?
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ขาดหาย หรือผ่าเหล่าของยีน บางครั้งอาจทำให้เกิดประโยชน์หรืออาจไม่มีผลใด ๆ แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้
เกิดผลเสียได้เช่นกัน เช่นเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคมะเร็ง ขอย้ำว่าเป็นแค่ความน่าจะเป็น ไม่ใช่ว่าจะเกิดมะเร็งได้ทุกคนไป เพราะจะมีปัจจัยอีกหลายอย่างมาเสริมหรือป้องกันการเกิดมะเร็งได้ จึงอยากให้ทุกท่านอย่าได้ตกใจ เพียงแต่เรียนรู้อย่างเข้าใจ เพื่อจะได้ไปปกป้องตนเองให้ได้รู้และป้องกันไว้ก่อน
- ในเพศหญิงกลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอดยีน BRCA1 และ BRCA2 โอกาสที่จะเกิดเป็นกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่จะเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยมักจะเป็นเมื่ออายุน้อย (ก่อนหมดประจำเดือน) และมักจะมีญาติใกล้ชิดที่เป็นโรคเดียวกัน
- การผ่าเหล่าของยีน BRCA1 ก็อาจจะเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งปากมดลูก, มดลูก, ตับอ่อน และลำไส้ใหญ่ ในขณะที่การผ่าเหล่าของยีน BRCA2 ก็อาจจะเพิ่มโอกาสของการเกิด มะเร็งตับอ่อน, กระเพาะอาหาร, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี และมะเร็งของเซลล์ผลิตเม็ดสี (Melanoma)
ส่วนในเพศชายการผ่าเหล่าของยีน BRCA1 อาจจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อน, อัณฑะ และต่อมลูกหมาก ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ก็มีความเกี่ยวข้องกับยีน BRCA2 ด้วยเช่นกัน
เราควรตรวจยีนของเราไหม?
สังคมไทยเมื่อตื่นตกใจกับข่าวอะไรแล้ว ไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ จะเกิดการตื่นตูมกันไปใหญ่ การตรวจว่าเรามีโอกาสเสี่ยงเป็นเป็นมะเร็งเต้านม หรือรังไข่ หรือไม่ อยากให้ไปหาหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาในกรณีที่เราอาจมีโอกาสเสี่ยง
หรือสงสัยว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 แพทย์จะให้คำแนะนำหรือส่งต่อการตรวจ ก็ต่อเมื่อ
- มีประวัติทางครอบครัวหรือญาติที่ใกล้ชิดหลายคนเป็นโรคเดียวกันนี้มาก่อน
- เป็นผู้ป่วยที่เป็นทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
- มีญาติในครอบครัวเป็นมะเร็งตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
- มีเชื้อสายยิว
สุดท้ายแล้ว หากทุกท่านยังกังวลใจ เรามีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งมาแนะนำ คือ www.chulacancer.net เป็นเว็บไซด์เพื่อการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา (การฉายรังสี,การฉายแสง) อุปกรณ์และเครื่องมือทางรังสีรักษา ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่รวบรวมข้อมูล โดยอาศัยหลักฐานทางวิชาการและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมะเร็งใช้เป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจการรักษาได้
ในฐานะเภสัชกรขอย้ำอีกว่า การตรวจพบยีนดังกล่าวเป็นแค่ความน่าจะเป็น ไม่ใช่ว่าจะเกิดมะเร็งได้ทุกคนไป เพราะจะมีปัจจัยอีกหลายอย่างมาเสริมหรือป้องกันการเกิดมะเร็งได้ จึงอยากให้ทุกท่านอย่าได้ตกใจ เพียงแต่เรียนรู้อย่างเข้าใจ เพื่อจะได้ไปปกป้องตนเองให้ได้รู้และป้องกันไว้ก่อน หากมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ท่านวางใจ หรือส่ง e-mail มาที่ utaisuk@gmail.com จะตอบให้ เพื่อให้ท่านได้ดูแลสุขภาพตนเองอย่างปลอดภัย จะได้ไม่กังวลมากต่อไปครับ
แหล่งข้อมูล
BRCA1 and BRCA2: Cancer Risk and Genetic Testing, National Cancer Institute, http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Risk/BRCA
BRCA1 gene, Genetics Home Reference.,
BRCA gene test for breast cancer, Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER), http://www.mayoclinic.com/health/brca-gene-test/MY00322
MALINEE PONGSAVEE
, GENETIC CHANGES RESULTING IN BREAST AND OVARIAN CANCERS IN BRCA1/2 NEGATIVE FAMILIES IN THAILAND, http://www.li.mahidol.ac.th/thesis/2549/cd423/4336818.pdf
ยีน BRCA1 และ BRCA2: โอกาสเกิดมะเร็งและการตรวจทางพันธุกรรม, สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,
http://www.chulacancer.net/newpage/question/genetic.html
http://www.chulacancer.net/newpage/question/genetic.html
นพ. มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์,
Tumor suppressor genes : Inherited & Acquired,
What Nobody's Telling You About Angelina Jolie's Mastectomy
By Charlotte Andersen, Shape.com is part of The American Media, Inc. Fitness & Health Network,
http://www.shape.com/blogs/fit-famous/what-nobodys-telling-you-about-angelina-jolies-mastectomy
http://www.shape.com/blogs/fit-famous/what-nobodys-telling-you-about-angelina-jolies-mastectomy
ภาพประกอบมาจาก “แองเจลินา โจลี ตัด 'เต้านม' ทิ้งเพื่อป้องกันมะเร็ง”, VOICE TV CO.,LTD,
http://news.voicetv.co.th/global/69860.html
http://news.voicetv.co.th/global/69860.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น