คุณแม่คุณพ่อมือใหม่ที่มีลูกน้อย จะกังวลใจทุกครั้งเมื่อเจ้าตัวเล็กมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย
และไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมกระเป๋าหยูกยาฉุกเฉินอย่างไร เรามาดูกันว่าในฐานะเภสัชกรร้านยา
หากแนะนำให้มียาอะไร เตรียมไว้ให้อุ่นใจในบ้านแห่งความรัก เพื่อปกป้องลูกรักให้มีสุขภาพดี
ต้องมีอะไรบ้างน้า?
เริ่มด้วย อย่าเกรงใจหมอหรือเภสัชกร?
ถ้าหากจำเป็นจัดเตรียมยาให้ลูกหลานของเรา
สิ่งใดที่ไม่รู้ อย่าได้เกรงกลัวหมอที่ให้การดูแลรักษาหรือเภสัชกรที่จ่ายยาให้
คุณแม่คุณพ่อควรไต่ถามให้ละเอียด ถึงชื่อยา ชื่อยาสามัญ วิธีการใช้ ผลการรักษาที่ดีขึ้นจะเป็นเช่นไร
ในระยะเวลาประมาณเท่าใด รวมไปถึงข้อควรระวังและผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
และโดยเฉพาะหากหลังจากน้องน้อยได้รับยาไปแล้ว มีอาการผิดปกติอะไรที่เกิดขึ้น แล้วเราต้องรีบไปหาหมอหรือมาที่ร้านยาทันทีเพื่อรับคำปรึกษาและการแก้ไข
ดังนั้นโรงพยาบาล
คลีนิคหรือร้านยาไหน ไม่เตรียมการให้เราได้ทราบเช่นนี้
ถือว่าไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพของเราอย่างแท้จริง
สุดท้ายอย่าลืมขอเบอร์โทร หรือช่องทางติดต่อเร่งด่วน
ในยามที่เราต้องการคำแนะนำในเวลาจำเป็น ทำได้เช่นนี้ คุณแม่คุณพ่อเองก้อจะเป็นหมอประจำบ้านที่พร้อมดูแลลูกน้อยของเราเองได้อย่างมั่นใจ
ยาสำหรับเด็กที่ควรมีไว้ประจำบ้าน มีอะไรบ้างนะ?
ในฐานะเภสัชกร
ไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ซื้อยา ตุนไว้ให้ลูกน้อยกินเอง อย่างไม่จำเป็น
คอยหมั่นสังเกตุว่าเขามีอาการโรคอะไรที่เป็นได้ และเป็นบ่อย
แล้วไปขอคำปรึกษาจากหมอหรือเภสักรเป็นทางเลือกแรกๆ
แต่ถ้าหากเป็นอาการโรคที่ลูกรักได้รับการวินิจฉัย ดูแลแล้วว่า
ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง หรือเป็นอาการโรคเบื้องต้น ที่เราสามารถดูแลได้เองแล้ว
เราก็ควรสำรองยาเหล่านี้ ตามอาการที่อาจเกิดขึ้นดังนี้
1. เมื่อลูกน้อยมีไข้
ตัวร้อนหรือปวดหัว
ควรเลือกใช้ยาชนิดที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกรัก
ยาลดไข้ที่ดี มักให้รับประทานยาทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ถ้าอาการไข้ไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน
ควรรีบไปโรงพยาบาล ยาที่แนะนำควรเลือกพาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน ขณะให้ยาลดไข้ควรให้ดื่มน้ำตามมากๆด้วย
น้ำนอกจากจะช่วยให้ยากระจายตัวได้ดี ช่วยให้ตัวยาละลายและออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น
น้ำยังไปช่วยให้มีการระบายความร้อนจากภายในร่างกายได้มากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญควบคู่ไปกับการใช้ยา
คือการเช็ดตัว จะช่วยให้ไข้ลดเร็วยิ่งขึ้นด้วย ถ้าลูกรักตัวร้อนจัด ให้ใช้ผ้าขนหนูหนาๆ
ชุบน้ำเช็ดให้ทั่วตัว และเช็ดมากๆ ตามตำแหน่ง คอ รักแร้ และข้อพับต่างๆ
และอย่าไปห่มผ้า หรือสวมเสื้อหนาๆ จนกว่าไข้จะลดลงแล้ว ในกรณีเด็กหนาวอยู่แล้ว ให้เริ่มใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเล็กน้อย
เริ่มเช็ดไปก่อนแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน้ำเย็น เช็ดจนไข้ลด จึงห่มผ้าให้
ข้อควรระวังของยาไอบูโปรเฟนคือ
ห้ามใช้ยาตัวนี้ลดไข้ ในเด็กที่สงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้เลือดออก จะรู้ได้อย่างไร?
เราควรสังเกตุในเบื้องต้น จะเห็นว่า ลูกน้อยจะมีอาการตัวร้อนจัดตลอดเวลา
และไม่มีน้ำมูกให้เห็น เพราะจะทำให้เกิดอาการเลือดออกได้ง่ายขึ้น ให้เปลี่ยนมาใช้พาราเซตามอลแทน
ที่มักทำเป็นน้ำเชื่อม อาจเป็นชนิดหยดสำหรับเด็กเล็ก หรือชนิดไซรัปสำหรับเด็กโต
ข้อเสียของยาตัวนี้มีรสขม ให้เลือกชนิดที่มีรสชาติถูกปากน้องเขา ยานี้มีข้อดีคือ
ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แต่ถ้าใช้เกินขนาดและติดต่อกันนานเกิน 10 วัน
อาจมีผลเสียต่อตับได้
2. ถ้าลูกรักมีอาการไข้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหลด้วย
เรื่องเป็นหวัดน้ำมูกไหล คุณแม่ต้องเข้าใจว่า
อาจแยกแยะได้สอง สาเหตุ ได้แก่ หวัดจากการติดเชื้อ กับ หวัดจากการแพ้ (โรคภูมิแพ้)
ซึ่งจะมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลเหมือนๆ กัน แต่ข้อที่แตกต่างก็คือ หวัดจากการติดเชื้อนั้น
ลูกน้อยมักมีอาการตัวร้อนและเบื่ออาหาร น้ำมูกมักจะเป็นอยู่ตลอดทั้งวันและเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันก็จะแห้งไปได้เอง
การใช้ยาแก้แพ้ในโรคหวัดติดเชื้อ
ความจริงแล้วยานี้จะมีฤทธิ์ลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกแห้ง
ช่วยให้ลูกน้อยหายใจสบายโล่งขึ้นเท่านั้น
ยังไม่มียาใดที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสอันเป็นสาเหตุของหวัด
และควรใช้กรณีที่มีน้ำมูกใสเท่านั้น เมื่อน้ำมูกข้นเหนียวควรหยุดใช้ยา
มิฉะนั้นอาจทำให้น้ำมูกเหนียวข้นมากเกินไป จนอาจอุดตันในทางเดินหายใจจนเป็นอันตรายได้
ส่วนหวัดจากการแพ้อากาศหรือโรคภูมิแพ้
ก้อจะมีอาการจาม น้ำมูกใส คัดจมูก แต่ไม่มีไข้ตัวร้อน ก้อสามารถเลือกใช้ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูกได้เช่นเดียวกัน
เพราะให้ผลบรรเทาอาการแพ้อากาศ
ลดอาการจาม น้ำมูกไหล ยากลุ่มนี้ มีทั้งแบบยาแก้แพ้รุ่นเดิม เช่น คลอร์เฟนิรามีนหรือบรอมเฟนิรามีน
กินในตอนเช้าและก่อนนอน หรือเวลาใดเวลาหนึ่ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
ข้อควรระวังของยากลุ่มนี้ คือ สำหรับเด็กแรกเกิด และเด็กคลอดก่อนกำหนดห้ามใช้ยานี้เด็ดขาด
ข้อควรระวังของยากลุ่มนี้ คือ สำหรับเด็กแรกเกิด และเด็กคลอดก่อนกำหนดห้ามใช้ยานี้เด็ดขาด
ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนหรือซึมลงได้
ในเด็กเล็กๆบางราย ถ้าได้รับยามาก ๆ จะเกิดอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ ในบางราย
อาจเบื่ออาหาร ปากแห้งได้
ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า
1 ปี
ยาแก้แพ้อีกกลุ่ม
เป็นยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน ได้แก่ เซทิริซีน ลอราทาดีน และเฟกโซฟีนาดีน
เป็นยาที่ได้ผลดี และไม่ค่อยทำให้ง่วงนอน สดวกต่อการกิน เพียงแค่วันละ 1-2 ครั้ง เหมาะสำหรับลูกน้อยที่เป็นโรคแพ้อากาศ ไม่มีผลรบกวนการใช้ชีวิตที่สนุกสนานของลูกน้อย
หรือการเรียนหนังสือ ส่วนข้อจำกัดของยาแก้แพ้รุ่นใหม่ คือ ยาจะออกฤทธิ์ช้า แต่มีฤทธิ์อยู่ได้นาน
ดังนั้นอาจต้องกินยานี้ต่อเนื่องหลายวันจึงเห็นผล
อีกทั้งยาแก้แพ้รุ่นใหม่จะลดน้ำมูกและอาการคัดจมูกได้ไม่ดีเท่ายาแก้แพ้รุ่นเดิมๆ
3. เมื่อลูกน้อยเป็นหวัดลงคอ คือมีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเขียว
หรือเหลือง เจ็บคอ
ไม่แนะนำให้ซื้อยากินเองครับ
เรื่องการใช้ยาฆ่าเชื้อ หรือที่เราเคยชินปากว่ายาแก้อักเสบ เป็นเรื่องใหญ่สำหรับบ้านเรา
เพราะมีการใช้กับเด็กเล็ก อย่างไม่ถูกต้อง และตามมาด้วยปัญหาอีกมากมาย ขอกลับมาเล่าให้ฟังเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งครับในเรื่องการติดเชื้อในเด็กและการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้องและปลอดภัยครับ
4. ถ้าเด็กมีอาการไอ
ยาแก้ไอที่ได้ผล
หยุดไอได้จริงๆ ในเด็กก้อเป็นเรื่องใหญ่
พ่อแม่มักคาดหวังอยากได้ยาที่ทำให้ลูกเงียบ หายไอ
ทั้งๆที่ต้นเหตุของการไอมีได้หลายสาเหตุ
เราต้องรู้ก่อน ว่าอะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้น้องน้อยไอไม่หยุด
ถ้าทราบสาเหตุแท้ๆ เราก้อช่วยหยุดไอให้ลูกน้อยได้
ขอกลับมาเล่าให้ฟังเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในตอนยาแก้ไอเพื่อลูกรักครับ
5. เมื่อเด็กน้อยมีอาการท้องอืดแน่นท้อง
ควรใช้มหาหิงคุ์ ใช้ได้ผลดีและปลอดภัย
โดยใช้ทาบางๆ บริเวณหน้าท้องมีอาการ หรือถ้าเป็นเด็กโตอาจเลือกใช้ยาธาตุน้ำแดงใช้กินแก้อาการจุกเสียด
แน่นท้อง
6. เมื่อเด็กมีอาการท้องเสีย
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อยที่ท้องเสีย
คือ การให้น้ำและเกลือแร่ชดเชย เพราะเด็กมักจะขาดน้ำ
และเสียชีวิตได้จากการท้องเสียมาก ๆ ได้ โดยสังเกตุได้จาก อาการขาดน้ำคือ
กระหม่อมบุ๋ม นอนซึม หายใจหอบ ตัวเย็น
น้ำเกลือแร่นั้นอาจเตรียมขึ้นเองหรือผงเกลือแร่สำหรับเด็ก
ให้เด็กดื่มแทนน้ำได้โดยปลอดภัย แต่ในกรณีที่ท้องเสียรุนแรง ควรส่งต่อแพทย์โดยเร็ว
ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ท้องเดินที่แรง ๆ ในเด็กเล็ก เพราะยาอาจกดการหายใจได้
7. ถ้าลูกรักมีอาการเป็นลมพิษ ผื่นคัน
ในเด็กที่มีอาการผด
ผื่นคัน ขึ้นมากตามตัว ไม่ว่าจะเป็นผื่นลมพิษ ยุงกัดแผลมีน้ำเหลือง ตุ่มคันจากอีสุกอีใส
หัด ควรทายาแก้ผด ผื่นคันหรือคาลาไมน์โลชั่น หรือยาทาแก้แพ้แบบแอนตี้ฮิสตามีน จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
ไม่แนะนำให้ไปซื้อยาทาในกลุ่มสเตียรอยด์ใช้เองครับ
สุดท้าย ยาไม่ใช่ขนมที่จะให้เด็กได้ง่ายๆ
ก่อนให้ยากับลูกรักของเราก้อต้องยิ่งใส่ใจ จึงต้องมาย้ำอีกครั้งว่า ปรึกษาหมอหรือเภสัชกรใจดี เพื่อเลือกยาที่มีความปลอดภัยและได้ผลตามอาการ
เสียก่อนที่จะซื้อยาเข้าบ้านครับ
รูปประกอบจาก
http://www.phukieo.net/rx_blog/wp-content/uploads/2011/01/doctor.bmp
http://static.truelife.com/blog/files/members/19/93043/170261/c9e99c5.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น