วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ยาขับเสมหะกับยาละลายเสมหะ คุณสมบัติเหมือนกันไหม?

ไปเจอคำถามและคำตอบในพันธ์ทิพ ที่ชัดเจนดี เลยขออนุญาต ปันมาขยายความนะครับ 

มีคุณแม่ที่ถามมาว่าเวลาลูกรักเกิดอาการไอ  บางทีคุณหมอก็จ่ายยาแก้ไขขับเสมหะมาให้  หรือบางทีก็แก้ไอละลายเสมหะ มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ  แล้วสำหรับเด็กเลือกทานตัวไหนดีกว่ากันคะ?

ทำไมจึงไอ ทำไมยาสองกลุ่มนี้จึงแก้ไอได้? 


การกำจัดเสมหะ
โดยปกติทางเดินหายใจมีการสร้างมูกตลอดเวลาอยู่แล้วเพื่อให้ความชุ่มชื้นและป้องกันกำจัดเชื้อโรค มูกที่ขับออกมาทางปากเรียกว่า เสมหะ นั่นเอง (ปกติเรากลืนลงท้อง) เมื่อมีการอักเสบหรือติดเชื้อจะมีการหลั่งสารต่างๆออกมามากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มโปรตีนทำให้เหนียวข้นมากขึ้น การขับออกจึงยากขึ้น 



ยาขับเสมหะแก้ไอได้อย่างไร?
เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ที่สร้างสารคัดหลั่งบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจ ลดความตึงผิวขอเสมหะทำให้ปริมาณสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจมากขึ้น มีความเหนียวน้อยลง ถูกกำจัดออกจากทางเดินหายใจง่ายขึ้นอาการไอจึงลดลง ยาขับเสมหะสามารถใช้รักษาทั้งไอแห้งและไอมีเสมหะยากลุ่มนี้มักจะผสมอยู่ในตำรับยาแก้ไอต่างๆ ทั้งที่กดศูนย์ไอและกลุ่มยาละลายเสมหะ ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่
-Guaifenesinหรือglyceryl guaiacolate
-terpin hydrate
-ammonium chloride
นอกจากตัวยาข้างต้นแล้วยาขับเสมหะยังรวมถึงน้ำมันหอมระเหยต่างๆเช่นน้ำมันนยูคาร์ลิปตัส ชะเอม น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เพราะสมุนไพรเหล่านี้รวมถึงการดื่มน้ำมากๆมีคุณสมบัติในการขับเสมหะโดยเพิ่มสารคัดหลั่งทำให้เสมหะถูกขับออกมาง่ายขึ้นและลดอาการไอ



ยาละลายเสมหะ
เป็นยาที่ทำให้โมเลกุลของเสมหะสลาย หรือแตกออก มีผลทำให้เสมหะใสขึ้น ความเหนียวลดลง และถูกขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้
-Bromhexine
-carbocysteine
-ambroxol



ทำไมบางทีคุณหมอจ่ายยาขับเสมหะบางทีจ่ายยาละลายเสมหะ?
ยาทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติหรือเป้าหมายในการออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันคือทำให้เสมหะออกมาเพื่อให้ทางเดินหายใจเป็นปกติแตกต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์.

-ยาประเภทไหนดีกว่ากัน?
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของคนไข้ประเภทของการไอ ไอแห้ง/มีเสมหะ มาก/น้อย ซึ่งแพทย์เป็นผู้พิจารณา
เพราะยาที่ดีสำหรับบางอาการ ใช้กับอีกอาการก็ไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆก็มีผลต่อการเลือกยา เช่น อายุ น้ำหนักตัว โรคประจำตัว แพ้ยา....ฯลฯ(ไม่แนะนำให้คุณแม่เลือกยาให้ลูกทานเอง)

ในเด็กเล็กไม่ควรให้ทานยากลุ่มที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ไอ ยาส่วนใหญ่ที่เลือกใช้จึงเป็นยาขับเสมหะและละลายเสมหะ


แหล่งข้อมูล
http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2012/04/L11925742/L11925742.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น