วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นอนไม่หลับทำไงดี?: นอนไม่หลับแบบไหน ที่คุณเป็นอยู่? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ใครที่เคยมีอาการนอนไม่หลับ (Insommia) จะรู้ได้เลยว่า เป็นทุกข์ทรมารเสียจริงๆ อย่าแปลกใจเลยว่าอาการนี้เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในสังคมไทยเรายุคปัจจุบันนี้ ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้และแข่งขันกันอย่างมากมาย มาฟังเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อใจดี้ใจดี มาเล่าเรื่องง่ายๆให้คุณได้เข้าใจเรื่องทำไมถึงนอนไม่หลับกันดีกว่าไหม จะได้แก้ไขให้หลับอุตุกันต่อไปอย่างมีความสุข

ชนิดของการนอนไม่หลับ
แบ่งได้ด้วยเหรอ? ได้ซิครับ เราต้องรู้ว่าเป็นแบบไหน จะได้ช่วยให้รักษาได้ง่ายขึ้นต่อไป
ในทางการแพทย์ เราแบ่งการนอนไม่หลับเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. เมื่อเข้านอนแล้วหลับได้ยาก
หมายถึงคุณแต่งชุดนอนพร้อมแล้ว พอถึงเตียงตอนเริ่มเข้านอน กว่าจะนอนหลับยากต้องใช้เวลานานๆ กว่าจะหลับ โดยทั่วๆ ไป เมื่อเข้านอนแล้ว ถ้าใช้เวลา 45-60 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถหลับได้จะจัดว่าเป็นคนที่นอนหลับยาก

2. หลังจากที่นอนหลับไปแล้ว เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วนอนต่อไม่ได้
ถ้าโชคดีหลับปุ๋ยไปแล้วอย่างเร็วรวด แต่ในกรณีนี้จะไม่มีปัญหาตอนเข้านอนเลย แต่เมื่อนอนหลับไปสักระยะหนึ่ง จะมีเหตุทำให้ต้องตื่นมากลางดึกเสมอๆ และเมื่อจะเข้านอนอีกครั้งก็ไม่สามารถนอนต่อได้ แย่จัง ทำให้ระยะเวลาในการพักผ่อนลดลงจากปกติ หรือน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน (ซึ่งถือว่าในแต่ละวันควรได้รับการพักผ่อนนอนหลับวันละ 6-8 ชั่วโมงในคนทั่วไป)

3. ประเภทตื่นบ่อย
ประเภทนี้น่าสงสารที่สุด เพราะโดยมากมักจะตื่นบ่อยๆ คืนหนึ่งหลายๆ ครั้ง การที่ตื่นบ่อยๆ จะทำให้การนอนหลับสนิทหรือหลับลึกได้น้อยเป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอถ้าคืนหนึ่งตื่นมากกว่า 5 ครั้งก็จะถือว่าเป็นปัญหาการนอนไม่หลับชนิดนี้

ผลกระทบจากการนอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับทั้ง 3 ชนิดที่ว่ามานี้ ล้วนทำให้ช่วงระยะเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อนหรือเวลาหลับสนิทลดน้อยลงกว่าปกติ ส่งผลต่อความพร้อมและความสดชื่นของสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกาย คุณเองจะรู้สึกได้เลยว่าไม่สดชื่นเลย ง่วงเหงาหาวนอน ต้องแอบงีบหลับก้อมี ขาดสมาธิในการทำงานอย่างมาก บางครั้งเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานยังเอาไปล้อเล่น จะยิ่งทำให้เครียดและส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตตนเองและอนาคตคุณภาพการทำงานได้ น่าเบื่อจริงๆเลย ใช่ไหมครับ

มาติดตามตอนหน้าว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้เราไม่สบายยามหลับ กังวลยามตื่น สัปหงกยามทำงานและปัญหาอื่นๆอีกเยอะ

ทุกท่านที่มีคำถามเรื่องการนอนหลับ สามารถติดต่อมาทางอีเมลล์ได้เลยครับ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆควรแวะร้านยาข้างบ้านหรือโรงพยาบาล สอบถามเภสัชกรใจดีได้เลยครับ เภสัชกรพวกเราพร้อมเสมอให้คำแนะนำในการใช้ยาให้กับคุณๆเสมอ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 13 ธค. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         นอนไม่หลับทำไงดี: การนอนหลับคืออะไร ทำไมเราจึงต้องนอนด้วย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/05/entry-2


·         นอนไม่หลับทำไงดี: นอนหลับแค่ไหนถึงจะเรียกว่าพอดี โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/07/entry-1



·  นอนไม่หลับทำไงดี: สาเหตุของการนอนไม่หลับ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

·         นอนไม่หลับทำไงดี: ตอนทำไมนอนไม่หลับนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/28/entry-1


รูปประกอบจาก
http://www.sleepdisordersv.com/wp-content/uploads/sleep-disorders-2.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น