วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นอนไม่หลับทำไงดี?: อย่างไรที่เรียกว่าหลับสนิท โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ใครที่เคยนอนไม่หลับ ซักคืนนึงก้อยังไม่เท่าไหร่เนอะ แต่ถ้าต่อเนื่องไปเป็นคืนที่สอง.. สาม... สี่... และถ้ายาวกว่านั้นจะรู้ได้เลยว่ามันทรมารเพียงไร อย่ากระนั้นเลย มาค้นหาคำตอบของการนอนหลับสนิทกันดีกว่า

ทำไมเราจึงต้องนอนด้วย? 
การนอนหลับเป็นสภาวะหนึ่งที่ร่างกายเราจะหยุดการเคลื่อนไหวต่างๆ เสมือนเป็นการปิดสวิทช์ ต่อการรับรู้ต่อโลกภายนอกจนเกือบจะหมด แต่เราก็ยังเดินทางตื่นกลับมารู้ตัวได้อย่างง่ายภายใน 1-2 นาทีเท่านั้น การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสำหรับอย่างยิ่งสำหรับชีวิตเรา เพราะพอตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น มีพลังสมองสดใสหลังจากได้นอนเต็มอิ่ม

วงจรการนอนหลับมีด้วยหรือ
วงจรการนอนหลับแบ่งออกได้เป็น 2 วงจรด้วยกัน เกิดขึ้นสลับกันไปในแต่ละคืน
·         วงจรแรกเรียกว่า NREM Sleep (non-rapid eye movement sleep) เป็นวงจรที่เกี่ยวกับการหลับที่จะลึกลงไปเรื่อยๆ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่หลับตื้นไปจนถึงหลับลึก

·         วงจรที่สอง เรียกว่า REM Sleep (rapid eye movement sleep) เป็นวงจรที่กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด ยกเว้นระบบการทำงานที่ยังชีพได้แก่ หัวใจ กระบังลมเพื่อการหายใจ กล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อเรียบ เช่น หลอดเลือดและสำไส้
วงจรการนอนหลับจะเริ่มด้วย NREM ก่อนแล้วจึงเกิด REM สลับกันไปเรื่อยๆ โดยในครึ่งคืนแรกมักจะเป็นวงจร NREM เป็นส่วนใหญ่ ส่วนครึ่งคืนหลังมักจะเป็น REM ความฝันที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องเป็นราวจะเกิดในวงจร REM ดังนั้นเราจึงมักจะพบว่าเราฝันบ่อย ฝันเป็นเรื่องเป็นราวในตอนเช้ามืดให้แอบมาตีความฝันเพื่อหาตัวเลขไว้แทงหวยกันประจำ

ถ้าไม่หลับเลยหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อยามเราง่วง แล้วไม่หลับได้ไหม ได้เคยมีการทดลองในหนู พบว่าถ้าเราทำให้หนูอดนอนต่อเนื่องกันตลอดเวลา หนูจะเสียชีวิตภายใน 1-2 สัปดาห์

นาฬิกาชีวิตในร่างกายของเรา
เชื่อกันว่า การนอนจะถูกกำหนดจากระบบการทำงานของร่างกายระบบหนึ่ง ที่เปรียบเทียบได้เหมือนว่ามีนาฬิกาชีวิตที่ฝังอยู่ในร่างคุณที่จะเดินติ่กต้อกๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะเป็นตัวบอกเวลาตื่น และเวลาหลับ
ปัจจัยหลักที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิตเรือนนี้ก้อคือ แสงสว่างจากแสงแดด ที่แสงสว่างยามกลางวันทำให้ตื่นมามีกิจกรรมต่างๆ และเมื่อสิ้นแสงในตอนกลางคืนเข็มนาฬิกาดังกล่าวก้อจะเตือนเราให้เรากลับไปเดินทางสู่นิทราอีกครา
ปัญหาที่น่าเบื่อก็คือถ้าเมื่อใดที่นาฬิกาในร่างกายเรา ดันไปทำงานสวนทางกับแสงสว่างบนโลก เราจะต้องใช้เวลาอยู่หลายวันในการปรับตัวให้หลับได้ ตัวอย่างเช่น อยู่บ้านเราเมืองไทยอันสันติสุข เราเข้านอนตอนเที่ยงคืนสบายดีหลับปุ๋ย หากเราเดินทางไปสู่นครนิวยอร์กที่อเมริกา สมมุติว่าเป็นเวลาเที่ยงของที่โน่น ความจริงแล้วนาฬิกาชีวิตเราจะยังบอกว่าเป็นกลางคืน ก้อเราเคยชินกับการนอนในยามนี้นี่นา ทั้งๆ ที่แสงแดดแจ้งจางปางในมหานครนิวยอร์ก ผลที่ตามมาจะทำรู้สึกเพลีย ง่วงนอนในเวลามีแสงขึ้น และพอถึงเวลาขึ้นเตียง ต่อให้เหนื่อยมาทั้งวัน เราก้อยังนอนไม่หลับ จะนับแกะที่กระโดดข้ามรั้ว ก้อได้ถึงหนึ่งล้านสองแสนสามหมื่นสี่พันหกสิบแปดตัว พอดีเช้าแล้ว คุณจะง่วงและเพลียอย่างมาก อาการนี้เราเรียกกันว่า Jet lag ซึ่งมักเกิดกับการเดินทางข้ามเส้นรุ้งแวงของนาฬิกาโลก
เรื่องจิ้บๆ นี้แก้ไขได้โดยเรียนเชิญให้ท่านพบคำตอบตอนต่อไปใน Series นอนไม่หลับทำไงดีในตอนหน้า เราอยากรู้ว่านอนหลับยาวแค่ไหนถึงไม่กินบ้านกินเมือง หรือเราที่นอนน้อย ไม่หลับเลยควรหันไปเอาดีสมัครงานเป็นยามซะเลยจะรุ่งกว่าไหม
·         เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 11 ธค. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address http://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         นอนไม่หลับทำไงดี: การนอนหลับคืออะไร ทำไมเราจึงต้องนอนด้วย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/05/entry-2

·         นอนไม่หลับทำไงดี: นอนหลับแค่ไหนถึงจะเรียกว่าพอดี โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล ,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/07/entry-1

·         คุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/08/entry-2

·         นอนไม่หลับทำไงดี: ตอนทำไมนอนไม่หลับนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/28/entry-1

·         เมลาโทนินช่วยให้นอนหลับได้ตามธรรมชาติ ได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/28/entry-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น