วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ต่อมอะดีนอยด์โตคืออะไร ทำไมจึงต้องผ่าตัด


ที่ร้านยามีคุณแม่คนสวยสามคนมาขอคำปรึกษาเรื่องลูกรักที่มีปัญหาแบบเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย คือเริ่มต้นลูกน้อยมักจะมีปัญหาทางเดินหายใจมาก่อนเป็นหวัดง่ายมาก แล้วก้อตามมาด้วยเป็นโรคภูมิแพ้ถาวร แล้วพอเป็นหวัดจะคัดจมูก ไอ น้ำมูกไหล หอบหืด ถ้าติดเชื้อตามมาก้อเกมส์ยาวเลย เวลานอน ของเค้า ลูกน้อยก้อมักนอนกรน หายใจดังมาก ยิ่งช่วงใหนที่เป็นหวัดจะหายใจแบบจมูกแน่น เสียงดังมาก จนต้องหายใจทางปาก จนท้ายที่สุดหมอตรวจพบว่าต่อมอดีนอยด์โตและเบียดทางเดินหายใจ หายใจลำบากมว้ากกก 
และแนะนำให้ผ่าตัด เภสัชกรหนุ่มหล่อเห็นใจคนงามและเด็กน้อย จึงมาเฉลยคำตอบแรกว่าต่อมที่ว่าคืออะไร? ทำไมจึงโต? มีการรักษาอย่างไร? ทำไมจึงต้องผ่าตัด?

รูปต่อมอดีนอยด์ ว่าอยู่ตำแหน่งใด เวลาโตแล้วจะมีปัญหาอย่างไร รูปจาก http://driscollchildrens.kramesonline.com/HealthSheets/3,S,82425

ต่อมอะดีนอยด์คืออะไร ทำไมจึงโต
ต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid หรือ Pharyngeal tonsil หรือ Nasopharyngeal tonsil) เป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่เหนือต่อมทอนซิลขึ้นไปในช่องคอด้านบน โดยอยู่ในส่วนของโพรงหลังจมูก มีทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

ต่อมอะดีนอยด์ มีหน้าที่ช่วยร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ทั้งนี้ต่อมอะดีนอยด์ปกติจะพบเฉพาะในเด็กเท่านั้น โดยจะยุบหายไปเพราะร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคได้อย่างเพียงพอแล้วจากเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆ เช่น ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลืองในส่วนอื่นๆของร่างกาย โดยมักยุบหายไปในช่วงอายุประมาณ 3-5 ปี แต่บางคนอาจยุบหายไปในช่วงเป็นวัยรุ่น

ต่อมอะดีนอยด์สามารถเกิดโรคได้เช่นเดียวกับต่อมน้ำเหลืองทั่วไป และต่อมทอนซิล ที่พบบ่อย คือ การอักเสบ และถ้าเกิดอักเสบเรื้อรัง และ/หรือไม่ยุบหายไป จะเกิดเป็นก้อนเนื้อโตขึ้น ซึ่งสามารถอุดกั้นทางเดินลมหายใจในส่วนลำคอ ก่อให้เกิดอาการนอนกรน และ/หรือโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจได้

ต่อมอะดีนอยด์โตได้อย่างไร 
ต่อมอะดีนอยด์สามารถเกิดโรคได้เช่นเดียวกับต่อมน้ำเหลืองทั่วไป และต่อมทอนซิล ที่พบบ่อย คือ การอักเสบ และถ้าเกิดอักเสบเรื้อรัง และ/หรือไม่ยุบหายไป จะเกิดเป็นก้อนเนื้อโตขึ้น ซึ่งสามารถอุดกั้นทางเดินลมหายใจในส่วนลำคอ ก่อให้เกิดอาการนอนกรน และ/หรือโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจได้

สาเหตุที่ทำให้ต่อมอะดีนอยด์โต ได้แก่
1. การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
2. โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ของเยื้อบุโพรงจมูก หรือ โรคแพ้อากาศ
3. การติดเชื้อเรื้อรังของต่อมอะดีนอยด์ โดยส่วนใหญ่จะพบต่อมทอนซิลโตร่วมกับต่อมอะดีนอยด์โต เนื่องจากต่อมทอลซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับต่อมอะดีนอยด์

เด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์โตจะมีอาการอย่างไร
เด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์โตจะมีอาการของทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น เช่น หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง นอนอ้าปาก เนื่องจากมีการหายใจทางปาก นอนกรน สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือมีภาวะหยุดหายใจ เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงตอนกลางคืนขณะที่เด็กมีการหลับสนิท


รูปจำลองผลจากการผ่าตัด ที่จะไปช่วยให้แก้ปัญหาจากต่อมอดีนอยด์โต รูปมาจาก
http://www.entcenterslc.com/practice/adenoidectomy-and-recovery-from-adenoid-surgery


ทำไมจึงต้องผ่าตัด
เด็กวัยก่อนวัยเรียนที่มีอายุระหว่าง 2-6 ปี ที่มีอาการหวัดเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งจะมีอยู่ จำนวนหนึ่งที่อาจเกิดภาวะของการติดเชื้อเรื้อรังในทางเดินหายใจส่วนบน จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่โดยปกติจะ โตกว่าเด็กโตเกิดการอักเสบเรื้อรังและโตผิดปกติจนก่อให้เกิดอาการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน จะพบว่าเด็กจะมี อาการน้ำมูกเรื้อรัง อ้าปากหายใจทั้งตอนตื่นและตอนหลับมีอาการหายใจเสียงดังทั้งในขณะตื่นและในขณะนอนหลับ ที่เรียกว่านอนกรน อาการนอนกรนนี้จะมีอาการตั้งแต่เสียงดังพอควรจนดังมากได้ยินแม้กระทั่งอยู่นอกห้องนอน ถ้าสังเกตการหายใจของเด็กระหว่างการนอนจะตรวจพบว่า ผนังหน้าอกและผนังหน้าท้องจะมีการเคลื่อนไหวในทิศ ตรงข้ามกัน มีหน้าอกบุ๋มมาก เด็กจะนอนกระสับกระส่ายมากร่วมกับอาจมีการหยุดหายใจเป็นพักๆ ซึ่งถ้ามีอาการ รุนแรงมากขึ้นอาจพบว่ามีอาการเขียวได้เรียกว่า “มีภาวะหยุดหายใจจากการอุดกั้นทางเดินหายใจระหว่าง การนอน (obstructive sleep apnea)”

การรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต
นอกจากการรักษาโรคที่พบร่วมด้วยแล้ว แนวทางการรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธี
1.การรับประทานนาปฏิชีวนะ ร่วมกับการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ผ่านจมูก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามเด็กอาจมีอาการกลับเป็นซ้ำได้หากมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีการกำเริบของโรคแพ้อากาศ
2.การผ่าตัดรักษา ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือ
- กรณีที่เด็กไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการรับประทานยา และยาสเตียรอยด์
- กรณีที่เด็กมีภาวะหยุดหายใจ
- กรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังร่วมกับมีน้ำคั่ง หรือโรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

ตอนหน้า ข้อแนะนำก่อนผ่าตัดก่อนการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ จะเกิดผลเสียต่อเด็กหรือไม่ ถ้าผ่าไปจริงๆ

แหล่งข้อมูล

ผศ.นพ.วิชญ์  บรรณหิรัญ, การผ่าตัดต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอะดีนอยด์
(Tonsillectomy / Adenoidectomy),

ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=898

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์ พบ.
วว. รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์, ต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid)
, http://haamor.com/knowledge/เกร็ดสุขภาพ/article/ต่อมอะดีนอยด์

นพ. กรีฑา ม่วงทอง  ,
การผ่าตัดต่อมทอนซิลเพื่อรักษา ภาวะนอนกรนในเด็ก,
http://www.vichaiyut.co.th/html/journal/20-2552/chapter07.asp

รูปประกอบจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น