ภาพลักษณะอาการของโรค จาก http://toxicbeautyblog.com/wp-content/uploads/2012/03/mild_medium_severe_eczema_copy.jpg
สาเหตุสำคัญของโรคผิวหนังอักเสบ อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกร่างกาย หรือ อาจเกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย สาเหตุภายนอกร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของผิวหนังอักเสบ ได้แก่ การสัมผัสกับสารที่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนังหรือการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สารสัมผัสที่ผิวหนัง ส่วนสาเหตุภายใน เช่น โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง
โรคผิวหนังอักเสบ ต้องทำการวินิจฉัยแยกโรค จากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยการนำขุยบริเวณรอย โรคไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ และตรวจภาวะผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากการแพ้สารสัมผัสภายนอก โดยทำการทดสอบผื่นแพ้สัมผัสที่ผิวหนัง (แพทช์ เทสท์) เมื่อ ทราบว่าแพ้สารใดสารหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้น
ลักษณะทางคลินิกของโรคผิวหนังอักเสบ จะมีอาการคัน เป็นผื่นแดง มีขุย และกลุ่มตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยจะแบ่งออกตามระยะของโรคได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะเฉียบพลัน จะมีลักษณะผื่นแดง บวม หรือมีตุ่มน้ำใส น้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือเกิดเป็นสะเก็ด
2. ระยะกึ่งเฉียบพลัน จะมีผื่นแดงน้อยกว่าระยะเฉียบพลัน ประกอบด้วยตุ่มแดง ผิวหนังจะมีลักษณะหนาขึ้นเล็กน้อย ทำให้เห็นร่องลายของ ผิวหนังชัดขึ้น เกิดรอยแกะเกา มีขุย และสะเก็ดน้ำเหลืองที่แห้งกรัง
3. ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะผิวหนังหนาตัวมาก เห็นร่องลายของผิวหนังชัดขึ้น มีผื่นสีแดงคล้ำ เป็นรอยดำหรือรอยขาว
การรักษาโดยทั่วไป จะแบ่งการรักษาตามระยะ ของโรค ดังนี้
ระยะเฉียบพลัน (ระยะแอคคิวท์) ให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขสาเหตุของการเกิดโรค ถ้าทราบ หากผื่นผิวหนังอักเสบเกิดเป็นเรื้อรังและสงสัยว่าจะเกิดจากการแพ้สารที่สัมผัส ให้มาพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการทดสอบผื่นแพ้สัมผัสที่ผิวหนัง ที่สำคัญคือเมื่อทราบว่าแพ้สารใดสารหนึ่ง ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้น
ระยะเฉียบพลันนี้ มีการรักษาเฉพาะที่ ตัวอย่างเช่น
1) ถ้ารอยโรคมีตุ่มน้ำใส มีน้ำเหลืองเยิ้ม และแฉะ ให้ทำการประคบด้วยน้ำเกลือ
2) การใช้ยาทาคอร์ติโคสตีรอยด์ จะช่วยเร่งการหายของรอยโรค โดยโรคผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่รักษาด้วยยาทาคอร์ติโคสตีรอยด์แล้วได้ผลดี แต่การทาคอร์ติโคสตีรอยด์ที่มีฤทธิ์แรงเกินไปหรือทาเป็นระยะเวลานานเกินไป จะส่งผลข้างเคียงได้ จึงควรใช้ยาทาคอร์ติโคสตีรอยด์เมื่อมีผื่นเท่านั้นและควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
3) รับประทานยาต้านฮีสตามีนเพื่อบรรเทาอาการคัน
4) ถ้าผื่นผิวหนังอักเสบ มีการติดเชื้อแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับชนิดของการ ติดเชื้อ
ระยะกึ่งเฉียบพลัน ระยะเรื้อรัง (ระยะซับแอคคิวท์และระยะโครนิค) ให้พยายามแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ผื่นเป็นมากขึ้นเช่น การถู ขูด เกาผิวหนัง การเกิดการแพ้ต่อยาทาเฉพาะที่ การติดเชื้อแทรกซ้อน ให้หลีกเลี่ยงการก่อการระคายเคืองต่าง ๆ เช่น การล้างมือบ่อยเกินไป การสัมผัสสบู่และผงซักฟอก
นอกจากนี้ ยังพิจารณาให้ใช้ยาทาคอร์ติโคสตีรอยด์เมื่อมีอาการผิวหนังอักเสบ ส่วนรายที่ผื่นหนามากและดื้อต่อยาทา แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาฉีดคอร์ติ โคสตีรอยด์ ได้ อีกทั้งยังมีการให้ทาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นบ่อย ๆ ยาทาอนุพันธ์ของน้ำมันดิบที่มีฤทธิ์แก้คัน ลดการอักเสบ รวมถึงอาจมีการรักษาโดยการรับประทานยาต้านฮีสตามีนเมื่อมีอาการคัน หากมีปัญหาซ้ำซ้อน เจ็บ คันมากขึ้น ติดเชื้อ อย่าวางใจ สามารถไปขอคำปรึกษาเบื้องต้นจากร้านยาที่มีเภสัชกรใจดี คอยดูแลทุกท่านนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น