วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคมือเท้าปาก ป้องกันโรคนี้จากลูกรักได้อย่างไร? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


จากข่าวกัมพูชาพบโรคประหลาดคร่าเด็กเสียชีวิตหลายราย จากการตรวจสอบของทางกระทรวงสาธารณสุขของกัมพูชาร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกได้ยืนยันแล้วว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กตายนั้นเกิดจากการติดเชื้อโรคที่เรียกว่า เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 หรือโรคมือ เท้า ปาก นั่นเอง ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขบ้านเราได้ติดตามข่าว และเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องว่า มีการติดเชื้อดังกล่าวในประเทศไทยหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งขณะนี้พบว่า ยังไม่เกิดการกระจายของโรคมากนัก แต่เพื่อความปลอดภัยของลูกรักของเราทุกๆคน เรามาฟังเภสัชกรเล่าให้ฟังถึงวิธีการป้องกันและการรับมือ ป้องกันเชื้อนี้ไม่ให้มาติดต่อในบ้านเราจะดีไหม?

ลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ อย่าได้วางใจ
 หากน้องเขาไปติดเชื้อมา  ๓-๗ วัน จะมีอาการไข้นำ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หลังจากนั้นอีก ๑-๒ วัน ก้อจะมีน้ำมูก เด็กเองจะมีอาการเจ็บปาก เจ็บคอมากๆ จนไม่ยอมดูดนม ไม่อยากกินอาหาร ในเด็กเล็กๆอาจร้องงอแง เมื่อลองตรวจดูในปากจะพบจุดนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ ขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้นๆ เจ็บมาก ในเวลาไล่เลี่ยกันก็จะมีผื่นขึ้นที่มือและเท้า (จึงเรียกว่าโรคมือ-เท้า-ปาก ยังไงหล่ะ)

แต่น้องๆบางคนที่เป็นมากบางคนผื่นจะขึ้นในฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือแก้มก้น ตอนแรกขึ้นเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆตามมา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓-๗ มิลลิเมตร มักไม่คันไม่เจ็บ ส่วนน้อยอาจมีอาการคัน ส่วนอาการไข้มักเป็นอยู่ ๓-๔ วันก็ทุเลาไปเอง ส่วนแผลในปากมักจะหายได้เองภายใน ๗ วัน และตุ่มน้ำที่มือและเท้าจะหายได้เองภายใน ๑๐ วัน ในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งพบได้น้อย อาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจจนหอบเหนื่อย

สามารถตามไปดูสรุปอาการโรคได้จาก vdo clip ที่นี่ครับ
http://www.missionvalleymedical.com/blog/hand,-foot,-and-mouth-disease-symptoms-and-signs/ 

โรคนี้จากโรคหวัดธรรมดาได้อย่างไร
·         โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
·         ถ้าน้องมีอาการไข้ก้อให้ยาพาราเซตามอลลดไข้ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
·         ในช่วงที่มีเริ่มมีอาการตุ่มและเจ็บแผลในปาก ให้กินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็กโดยเฉพาะน้องเล็กๆดูดนมหรือน้ำจากขวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บในปากครับเพราะน้องต้องใช้ปากช่วยดูดซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมให้ปวดแผลมากขึ้น  อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีม  หรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (โดยผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น ๑ แก้ว) วันละหลายๆ ครั้ง

หากอาการโรคไม่ดีขึ้น 
ควรไปรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการต่อไปนี้ครับ
·         น้องๆที่มีตุ่มน้ำใสธรรมดาเกิดขึ้น มีการติดเชื้อกลายเป็นตุ่มหนอง หรือน้องๆจะเกาทำให้พุพองมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มตามมา หมอจะเลือกสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในการรักษาต่อไปครับ
·         ลูกรักของคุณมีอาการเจ็บแผลในปากอย่างมาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้เลย ทำให้มีภาวะขาดน้ำตามมา เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกได้น้อย
·         เด็กมีอาการปวดศีรษะอย่างมาก อาเจียนรุนแรง ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
หากลูกรักได้รับการตรวจแล้วแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ และไม่พบว่ามีอาการแทรกซ้อน ก็จะให้การดูแลรักษาตามอาการ  เช่น ให้ยาลดไข้ ยาชาทาแผลในปาก ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองหรือพุพองก็จะให้ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีภาวะขาดน้ำเนื่องจากกินและดื่มไม่ได้ ก็จะให้สารอาหารที่เป็นน้ำทางหลอดเลือดดำ

ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ก็จำเป็นต้องรับเด็กไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไปครับ บางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อนซึ่งมักเป็นไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน ๑๐ วัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง ได้แก่ สมองอักเสบ คือมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดออกในปอด มีอาการ หายใจหอบเหนื่อย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย โรคเหล่านี้อาจรุนแรงถึงตายได้ มักเกิดในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71

โรคนี้จะหายได้หรือไม่
 ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน ๗-๑๐ วัน (เต็มที่ไม่เกิน ๒ สัปดาห์) โดยจะมีไข้อยู่เพียง ๓-๔ วันแรก ส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตามมา ซึ่งหากรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคนี้
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ จึงควรแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่น้องๆบ้านอื่นได้ โดยการ
·         แยกเด็กที่ป่วย ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นประมาณ ๒ สัปดาห์ หรือจนกว่าตุ่มแผลต่างๆ จะหายดี และเวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าปิดปาก อย่าไอ จาม รดใส่กัน
·         ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หรือใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำเชื้อสุ่ร่างกาย
·         หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน ได้แก่เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด  ขวดนม ช้อนชาม เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เป็นต้น  ร่วมกับเด็กอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้
·         ฝึกเด็กๆให้มีสุขนิสัยที่ดี รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใส่นิ้วมือหรือของเล่นเข้าปาก

หวังว่า คงเข้าใจดีแล้วนะครับ ถ้ามีอาการที่เล่ามาก้ออย่าได้วางใจเพราะสมัยนี้การเคลื่อนตัวของเชื้อโรคนั้นเร็วมั่กๆเลย คุณพ่อคุณแม่ที่รักทั้งหลายมีคำถามสุขภาพลูกรักอะไร ก้อส่งอีเมลล์มาถามเภสัชกรได้เลยนะครับ

แหล่งข้อมูล

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 10 กค. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·    
โรคมือเท้าปาก (Hand-Foot-and-Mouth-Disease) โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

·         นพ. อุเทน ปานดี และ นพ.ศักดา อาจองค์, โรคมือเท้าปาก (Hand-Foot-and-Mouth-Disease), งานวิชากุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี , http://ramacme.ra.mahidol.ac.th/?q=node/45
·         Pamela L Dyne et al., MD, Professor of Clinical Medicine/Emergency Medicine, David Geffen School of Medicine at UCLA; Attending Physician, Department of Emergency Medicine, Olive View-UCLA Medical Center, Pediatrics, Hand-Foot-and-Mouth Disease, http://emedicine.medscape.com/article/802260-overview
·         โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease), สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=81&Itemid=9
·         Hand-foot-and-mouth disease (HFMD), Centers for Disease Control and Prevention,  1600 Clifton Rd. Atlanta, GA 30333, USA, cdcinfo@cdc.gov, http://www.cdc.gov/ncidod/dvrd/revb/enterovirus/hfhf.htm
·         คู่มือการสอบสวนโรค ปาก มือ เท้า ภาคสนาม กระทรวงสาธารณสุข, http://epidtrang.net/bbs/viewthread.php?tid=15
·         รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 326, เดือน-ปี : 06/2549,  http://www.doctor.or.th/node/1468
·         Hand-foot-mouth disease : Coxsackievirus infection, A.D.A.M., Inc. , http://health.allrefer.com/health/hand-foot-mouth-disease-pictures-images.html
·         Hand-foot-and-mouth disease, WebMD, LLC. , http://children.webmd.com/tc/hand-foot-and-mouth-disease-topic-overview
·         Hand-foot-and-mouth disease,  Health Grades Inc., http://www.wrongdiagnosis.com/h/hand_foot_mouth_disease/intro.htm
·         Mary T. Caserta, MD, Hand-foot-and-mouth disease , Merck and The Merck Manuals, Merck Sharp & Dohme Corp., a subsidiary of Merck & Co., Inc., Whitehouse Station, N.J., U.S.A., http://www.merck.com/mmpe/sec14/ch190/ch190c.html
·         Hand-foot-and-mouth disease (HFMD), Healthcommunities.com, Inc., http://www.dermatologychannel.net/viral_infection/hand_foot.shtml

รูปประกอบจาก

http://www.americanobgyn.com/ImgUpload/editor/1(3).jpg

http://www.phac-aspc.gc.ca/amr-ram/ipcbp-pepci/gfx/cough-toux_large-eng.jpg

http://www.missionvalleymedical.com/blog/hand,-foot,-and-mouth-disease-symptoms-and-signs/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น