ยาขยายหลอดลดใช้บรรเทาอาการไอ จาม หายใจสั้น และหายใจลำบาก ออกฤทธิ์โดยการขยายหลอดลม ทำให้อากาศผ่านเข้าไปในปอด อากาศจึงสามารถผ่านเข้าไปได้มากขึ้น ตัวอย่างยาขยายหลอดลมกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ยากระตุ้นเบต้า Beta Agonist, ยาในกลุ่มธีโอฟิลลีน Theophylline และยาต้านโคลิเนอจิก Anticholinergics ซึ่งมีทั้งชนิดสูดดม ยาเม็ด แคปซูล ยาน้ำ หรือยาฉีด อาการข้างเคียงที่พบของยาขยายหลอดลม ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ใจสั่น มือสั่น กระวนกระวาย และนอนไม่หลับ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และเด็ก ซึ่งไวมากต่อผลของยาพวกนี้
- ยาขยายหลอดลมจะช่วยขยาย หรือคลายกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมที่หดเกร็งตัว
- ยากระตุ้นเบต้า Beta Agonist ที่ใช้แพร่หลายคือ ยาพ่นแบบน้ำ และแบบผง อีกทั้งยังมียาเม็ด และยาน้ำในรูปแบบรับประทาน รวมทั้งรูปแบบที่ใช้กับเครื่องปั๊ม ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการขยายหลอดลมสูง นิยมใช้ในคนไข้ที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง เพราะไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรคหอบหืด
- ยาในกลุ่มธีโอฟิลลีน Theophylline มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และขยายหลอดลม สำหรับใช้ในคนไข้หอบหืดเรื้อรัง ในปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีดยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา และออกฤทธิ์เนิ่นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทาน ผลข้างเคียงพบได้น้อย มีความปลอดภัยสูง
- ยาต้านระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ที่มีใช้กันในปัจจุบันเป็นอนุพันธ์ของอะโทรพีน มีชื่อทางการแพทย์ว่า ไอพราโทรเพียม โบรไมด์ นิยมใช้ในรูปสูดดม เพราะทำให้เกิดอาการข้างเคียงน้อย ในขณะที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ดี สามารถใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่นได้ โดยอาจเสริมฤทธิ์กันได้ดี อาการข้างเคียงของยาชนิดนี้ คือ คอแห้ง เสมหะข้นเหนียว ซึ่งพบน้อยมากในคนที่ใช้ชนิดสูดดม
การเก็บรักษายา
- เก็บยาให้พ้นจากความร้อน และแสงสว่างโดยตรง ห้ามเก็บยาในลิ้นชักที่ร้อน หรือชื้น จะทำให้ยาเสื่อมง่าย
- ห้ามเก็บยาที่เป็นของเหลว ไว้ในช่องแช่แข็ง
- ห้ามเก็บยาที่หมดอายุไว้ และหรือยาที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน ให้ทิ้งยาที่เป็นของเหลว และแคปซูลลงในชักโครก เว้นแต่ภาชนะบรรจุจะระบุให้ทิ้งโดยวิธีอื่น
- เก็บยาทุกชนิดให้พ้นจากมือเด็ก
- อาการหอบหืดเกิดจากการหดตัว หรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลม คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลม การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม และเสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม
- การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมแท้จริงแล้วเป็นผลจากอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรังเกิดจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ
- โรคนี้ต่างกับโรคอื่นๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก อาจเสียชีวิตได้
- ภาวะที่กระตุ้นให้โรคกำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะ หรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่างๆ และภาวะเครียด
- ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือ ความเข้าในที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป โรคนี้คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วประมาณ 10-13% ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
ภาพประกอบ
http://life.familyeducation.com/images/ChildAsthma_H.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น