ในการรักษาโรคหอบหืด ยาที่ใช้ในการรักษา นอกเหนือจากยาขยายหลอดลมในรูปแบบต่างๆแล้ว ยังมียาที่ใช้ร่วมกัน
เพื่อผลการรักษาร่วมกัน เพื่อผลในการคุมอาการและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของคนไข้ มีกลายกลุ่ม ได้แก่
เพื่อผลการรักษาร่วมกัน เพื่อผลในการคุมอาการและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของคนไข้ มีกลายกลุ่ม ได้แก่
1. ยาแก้แพ้หรือยาแอนติฮิสตามีน
- ใช้บรรเทา หรือป้องกันอาการเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคภูมิแพ้อื่นๆ แอนติฮิสตามีนออกฤทธิ์โดยขัดขวางการออกฤทธิ์ของฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ผลิตในร่างกาย ขณะที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้เกิดขึ้น
- ยาแอนติฮิสตามีนมีหลายรูปแบบ เป็นยาเม็ด แคปซูล ยาน้ำ หรือยาฉีด ในปัจจุบันมีรูปแบบผสมร่วมกับยาแก้คัดจมูก มีจำหน่ายในร้านขายยา และโดยคำแนะนำของแพทย์
- ยาแอนติฮิสตามีนส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการง่วง มึน ซึม แต่แอนติฮิสตามีนรุ่นใหม่ๆ (Loratadine, Fexofenadine, Cetirizine) ไม่ทำให้ง่วง อาการข้างเคียงโดยทั่วไปแล้วจะพบว่ามีปากแห้ง ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก และสับสน เด็กบางคนมีอาการฝันร้าย ตื่นเต้น กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หรือหงุดหงิด
- ใช้รักษาอาการเลือดคั่งที่จมูก และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหวัด และภูมิแพ้ ยาในกลุ่มนี้ทำให้หลอดเลือดหดตัว และการสร้างน้ำมูกลดลง ยาลดอาการคัดจมูก มีทั้งในร้านขายยา และโดยคำแนะนำของแพทย์
- รูปแบบธรรมดาของยาที่ใช้มีชนิดยาน้ำ และยาเม็ด ส่วนชนิดที่เป็นยาพ่นจมูก หรือหยอดจมูก ใช้สำหรับอาการเฉียบพลัน แต่ใช้ได้ไม่เกิน 2-3 วัน ตามหลักหรือตามคำแนะนำของแพทย์
- ยาพ่นจมูกที่มีจำหน่าย ถ้าใช้เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน จะทำให้เกิดการอักเสบในโพงจมูก และทำให้มีอาการคัดจมูกซ้ำอีกได้
- ยาแก้คัดจมูก อาจทำให้กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ถ้าใช้ในรูปแบบพ่นจมูกนานเกินไป จะทำให้มีอาการคดัจมูกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
3. ยาต้านการอักเสบ
- Cromolyn, Nedocromil และcorticosteroids (สเตียรอยด์) ลดอาการอักเสบในทางเดินหายใจ อาการอักเสบเป็นเหตุให้ทางเดินหายใจไวต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคหืด เช่น การออกกำลังกาย อากาศเย็น การสูบบุหรี่ เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของหวัด และสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
- ยาต่อต้านการอักเสบที่แพทย์แนะนำ ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดสูดดม ในบางกรณีอาจแนะนำให้ใช้สเตียรอยด์ ชนิดรับประทาน
- การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน โดยเฉพาะสเตียรอยด์ชนิดรับประทานไม่แนะนำให้ใช้ ยกเว้นในกรณีเป็นโรคหืดที่ควบคุมไม่ได้ การใช้สเตียรอยด์ชนิดรับประทานนานๆ ทำให้มีผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร น้ำหนักตัวเพิ่ม ต้อกระจก กระดูกผุ ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นแผลง่าย
- อาการข้างเคียงจากยาต่อต้านการอักเสบชนิดสูดดม ทำให้ไอ และเสียงแหบ คนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับยารักษาหืด และภูมิแพ้ ควรปรึกษากับแพทย์
- แจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณได้รับยาต่อไปนี้อยู่ด้วย ได้แก่ แอสไพริน ยารักษาโรคข้ออักเสบ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น คูมาดิน ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยากันชักเฟนิลโทอีน ไรแฟมปิน และฟีโนบาร์บิทาล
- ไม่ควรจะรับวัคซีน การทำให้เกิดการคุ้มกันโรค หรือการทดสอบทางผิวหนัง ต่างๆ ขณะที่ได้รับยานี้อยู่ ยกเว้นว่า แพทย์จะบอกให้คุณโดยเฉพาะว่าคุณสามารถรับได้
- ก่อนหน้าที่จะได้รับยานี้ ควรบอกแพทย์ด้วยถ้าคุณตั้งครรภ์ คาดว่าจะตั้งครรภ์ ต้องการที่จะตั้งครรภ์ หรือ คุณเป็นหญิงให้นมบุตร โดยถ้าคุณกำลังจะตั้งครรภ์ คุณควรพบแพทย์ เพราะยาอาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กที่อยู่ในครรภ์ หรือ เด็กที่ดื่มนมมารดา
- ก่อนที่จะรับยานี้ ควรบอกแพทย์ถึงประวัติการใช้ยาของคุณก่อน โดยถ้าคุณเป็นโรคตับ โรคไต โรคลำไส้ หรือ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคมัยแอสทีเนีย โรคกระดูกพรุน, ติดเชื้อไวรัสเริมที่ตา หรือ การติดเชื้ออื่นๆ หรือ มีประวัติการเป็นวัณโรค โรคลมชัก แผลในกระเพาะ หรือ โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
- ถ้ามีประวัติเป็นแผลในกระเพาะ หรือได้รับขนาดยาของแอสไพรินที่มาก หรือได้รับยารักษาโรคข้ออักเสบ ให้จำกัดปริมาณการดื่มของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่ใช้ยานี้ เพราะยานี้สามารถทำให้กระเพาะ และลำไส้ ไวต่ดการเกิดระคายเคืองจากการใช้แอลกอฮอล์ แอสไพริน และยารักษาไขข้ออักเสบ และจะเพิ่มอัตราเสียง ของการเกิดแผลในกระเพาะ
- รายงานการเกิดภยันตราย หรืออาการติดเชื้อ ไข้ เจ็บคอ เจ็บระหว่างการถ่ายปัสสาวะ และปวดกล้ามเนื้อ โดยเกิดขึ้นระหว่างการรักษา และภายใน 12 เดือน หลังจากการรักษา โดยต้องการปรับขนาดยา
- ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน ยาบางชนิดอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ โดยถ้าคุณควบคุมน้ำตาล ในเลือดของคุณที่บ้าน ให้ทดสอบน้ำตาลในเลือด และในปัสสาวะ บ่อยกว่าปกติ และพบแพทย์ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือ ถ้ามีน้ำตาลในปัสสาวะ โดยขนาดยาของยาเบาหวาน และอาหารของคุณ
http://www.bangkokhealth.com/index.php/drug/3583--bronchodilators.html
ภาพประกอบ
http://pirun.ku.ac.th/~b5310100334/page0503.html
http://www.asthmasymptoms86.com/asthmainhaler.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น