วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้ป่วยโรคไต ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย?


คนไข้ที่เคยมีปัญหาโรคไต หรือมีอาการไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องกินยาหลายชนิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงคนไข้ควรต้องทราบข้อบ่งใช้ หรือประโยชน์ของยาแต่ละชนิด วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง ข้อควรระวังต่าง ๆ ของการใช้ยา อาการข้างเคียงของยา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป นอกจากนี้การได้รับยาหลายชนิดร่วมกันอาจมีปฏิกริยาต่อกันของยา หรือเรียกง่ายๆว่า "ยาตีกัน" เกิดขึ้น

การทราบถึงปฏิกิริยาต่อกันของยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากยาตีกันได้ ผู้ป่วยจึงควรมีความรู้เรื่องยาที่ใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา และได้รับผลเสียจากการใช้ยาน้อยที่สุด

ยากลุ่มไหนบ้างที่ต้องระวัง?

1.กลุ่มยาลดความดันโลหิต

- ยาลดความดันโลหิตมีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาชนิดไหนเหมาะกับท่าน ดังนั้นท่านไม่ควรรับประทานยาตามผู้อื่น
- ผู้ป่วยควรวัด และบันทึกความดันโลหิตในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งวัน เพื่อให้แพทย์สามารถปรับยาให้เหมาะสมแก่สภาพความดันโลหิตได้
- การรับประทานยาความดันโลหิตควรกินให้ตรงเป็นเวลา เพื่อที่ระดับของยาความดันในกระแสเลือดจะได้คงที่ หากลืมกินยาลดความดัน ให้กินทันทีที่นึกได้ เว้นแต่เวลาล่วงเลยไป จนใกล้เวลามื้อถัดไป ก็ให้งดยามื้อที่ลืมกิน และให้กินยามื้อถัดไปในขนาดเท่าเดิม
- อาการข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต
ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตครั้งแรก หรือได้รับการเพิ่มยาหรือลดยา ควรสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น เป็นต้น และควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นนั่ง หรือ ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ หากมีอาการ หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ให้หยุดกิจกรรมต่าง ๆ นั่งพักสักครู่จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าเกิดอาการอย่างนี้บ่อย ๆ หรือรุนแรง ให้ติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อจะได้หยุดยาหรือปรับยาได้


กลุ่มยาลดความดันและผลอาการข้างเคียงที่ต้องระวัง

ตัวอย่างยาอาการไม่พึงประสงค์ของยาที่พบได้บ่อย
แคปโตพริล(คาร์โปเทน)
อินาลาพริล(อินาริล,แอนนาพริล)
-ไอแห้ง ๆ
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง
โลร์ซาร์แทน(โคซาร์)-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง
เมโทรโปรอล(เบต้าลอค)
อะทีโนลอล(พรีโนลอล,ทีโลลอล)
-มีอาการอ่อนเพลีย
-หัวใจเต้นช้าลง
-การหยุดยาทันทีทันใดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงอย่างมาก
ฟูโรเซไมด์(ลาซิก)-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดต่ำ
-การควบคุมน้ำตาลในเลือดทำได้ยากขึ้น
-ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง
-ภาวะไขมันในเลือดสูง
-เป็นพิษต่อหู ทำให้การได้ยินลดลง
นิฟิดิปีน(อะดาแลต,นิลาปีน)
แอมโลดิปีน(นอร์วาส,แอมโลปีน)
เฟโลดิปีน(เพลนดิล)
-ใจสั่น
-ข้อเท้าบวม
-เหงือกโต
เวอราพามีน(ไอซอฟติล)
ดิลไทอะเซม(เฮอร์เบสเซอร์)
-ท้องผูก
-ข้อเท้าบวม
-หัวใจเต้นช้าลง
ด๊อกซาโซซิน(คาร์ดูล่า)
พราโซซิน(มินิเพรส)
เทอราโซซิน(ไฮทริล)
-หน้ามืด ในช่วงที่ได้รับยาช่วงแรก ๆ
-เวียนศรีษะ
-ใจสั่น
ไฮดราราซีน(อะเพรสโซลีน)-เวียนศรีษะ
-ใจสั่น
ไมน๊อกซิดิล(โลนิเทน)-ใจสั่น
-ขนขึ้นตามตัว ใบหน้า


-การรับประทานยาในวันฟอกเลือด
ถ้าในขณะฟอกเลือดหรือชั่วโมงท้าย ๆ ของการฟอกเลือด ความดันของผู้ป่วยลดลงมาก แพทย์ก็อาจจะสั่งให้งดรับประทานยาความดันก่อนฟอกเลือด หรือให้งดยาความดันบางตัวก็ได้



2.ยาแก้ไขภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยไตวาย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการขาดสารกระตุ้นเม็ดเลือด การแก้ไขทำโดยฉีดฮอร์โมนอิริโทโปอิตินเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ซึ่งต้องกินยาเสริมธาตุเหล็กควบคู่กันไป นอกจากนั้นยังต้องกินวิตามินและโฟลิคแอซิด
-ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก(เฟอรัสซัลเฟต,เอฟบีซี)
วิธีใช้ : เพื่อการดูดซึมที่ดีให้รับประทานยาก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง หรือรับประทานหลังอาหารหนึ่งชั่วโมง
อาการข้างเคียง- อาการไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- อาการท้องผูก

ข้อควรระวัง
- ไม่ทานยานี้พร้อมโซดามิ้นท์ ยาลดกรด หรือ แคลเซียม เพราะจะไปจับตัวกับยาเสริมธาตุเหล็กจนไม่อาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้
- เหล็กมีปฏิกิริยาต่อยาอื่น ๆ ได้หลายชนิด โดยมีผลลดการดูดซึมยา เช่น ยาฆ่าเชื้อเตตราซัยคลิน นอร์ฟลอกซาซิน เป็นต้น ควรเว้นระยะห่าง ระหว่างยาเสริมธาตุเหล็กกับยาอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง




3.ยาจับฟอสเฟต(แก้ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง)

-แคลเซียม เช่น ชอล์กแคป
ให้เคี้ยวพร้อมอาหารทันทีเพื่อช่วยให้ยาแตกตัวได้ดี และสามารถจับฟอสเฟตในอาหารได้ก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
อาการข้างเคียง - ท้องอืด ท้องผูก และอาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงควรรับประทานยานี้พร้อมอาหารเพื่อลดปัญหานี้
-ยาเม็ดอะลูมิเนียม เช่น แอ๊คตาล
ให้เคี้ยวพร้อมอาหารทันทีเพื่อช่วยให้ยาแตกตัวได้ดี และสามารถจับฟอสเฟตในอาหารได้ก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
อาการข้างเคียง - ท้องอืด ท้องผูก และหากใช้ยานี้ในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สารอะลูมิเนียมสะสมในร่างกายจนเป็นพิษได้ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุก
*ข้อควรระวัง
ไม่ทานยาจับฟอสเฟตนี้พร้อมธาตุเหล็ก เพราะจะไปจับตัวกับธาตุเหล็กจนไม่สามารถไปจับตัวกับฟอสเฟตได้



4.ยาที่ใช้แก้ไขภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูง

-วิตามินดี(วันอัลฟ่า)
เพื่อลดการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์
วิธีใช้ : โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานก่อนนอนซึ่งเป็นช่วงท้องว่าง แพทย์จะเป็นผู้กำหนดระดับยาตามระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์
อาการข้างเคียง
: ยานี้อาจเพิ่มระดับฟอสเฟต และแคลเซียมในเลือด ผู้ป่วยจึงควรรับประทานยาตามแพทย์แนะนำโดยเคร่งครัด แพทย์จะดูผลเลือดและปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายในช่วงเวลาต่าง ๆ



5.ยาที่ใช้แก้ไขภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง

ยาคาลิเมต
เพื่อลดระดับโพแตสเซียมในเลือด โดยลดการดูดซึมจากทางเดินอาหาร
วิธีใช้ - ละลายยา 1 ซอง ในน้ำเปล่า 50 ซีซี คนแล้วดื่มทันที หรือจะผสมกับน้ำหวานก็ได้
*ข้อควรระวัง
-ไม่ละลายยากับน้ำผลไม้ เพราะยาจะจับกับโพแตสเซียมในน้ำผลไม้จนหมดฤทธิ์



6.ยาที่ใช้แก้ไขภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
โซดามิ้นต์
เพื่อแก้ภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
อาการข้างเคียง
-ท้องอืด ภาวะเลือดเป็นด่างและภาวะโซเดียมสูงถ้าใช้ยาเกินขนาด
*ข้อควรระวัง
-โซดามิ้นต์มีผลต่อยาชนิดอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นควรทานให้ห่างจากยาชนิดอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง



7.ยากลุ่มวิตามิน

-วิตามินที่ให้ทดแทนส่วนใหญ่จะเป็นวิตามินที่ละลายน้ำเช่น วิตามิน บี1 บี2 บี6 บี12 และโฟลิก เป็นต้น ซึ่งวิตามินเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการทำงานหลายระบบในร่างกาย เช่น สร้างเม็ดเลือด บำรุงปลายประสาทช่วยบรรเทาอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ในวันฟอกเลือดให้รับประทานหลังฟอกเลือดเพื่อชดเชยการสูญเสียวิตามินระหว่างฟอกเลือด ผู้ป่วยไม่ควรซื้อวิตามินรับประทานเอง เพราะการได้รับวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ อาจเกิดสะสมในร่างกายจนเกิดอันตรายได้






  • - ผู้ป่วยควรจดชื่อยา หรือจำชื่อตัวยา ที่ต้องกินประจำ หรือ ยาที่เราแพ้ ไม่ควรจำจากรูปร่างลักษณะเพียงอย่างเดียว เพราะยาชนิดเดียวกันอาจมีหลายสี หลายแบบ หรือ ยาที่มีสี หรือ ลักษณะเหมือนกัน แต่เป็นยาคนละชนิดกัน
  • - ศึกษาข้อบ่งใช้ให้ดี เช่น กินเท่าไหร่? กินเมื่อใด? ก่อนหรือหลังอาหาร? เช่น ยาก่อนอาหารดูดซึมได้ดีเมื่อท้องว่าง ยาหลังอาหารจะดูดซึมได้ดี เมื่อมีอาหารอยู่ในกระเพาะ หรือ อาการข้างเคียงจะน้อยกว่าตอนท้องว่าง
  • - เมื่อแพทย์สั่งยาชนิดใหม่ให้เรา ให้สอบถามแพทย์นั้นหรือเภสัชกร ถึงอาการค้างเคียงของยาตัวนั้นที่อาจเกิดขึ้นได้ และให้สังเกตุตนเอง หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ให้หยุดยานั้นทันที และรีบไปหาแพทย์โดยเร็ว
  • - หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาในขนาดยาที่แพทย์สั่งได้เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม ควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเสมอ ไม่ควรปรับเปลี่ยนขนาดยาเองเพื่อป้องกันการสับสนในการประเมินผลการใช้ยา

แหล่งข้อมูล
Safer use of Pain Medicines,  National Kidney Foundation, Inc

http://www.kidney.org/email_templates/KidneyCare/winter09/SaferMedicines.cfm

การใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต, ชมรมเพื่อนโรคไต มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค , http://www.thaikidneyclub.org/home/index.php?option=com_content&view=article&id=117:2011-07-09-09-28-04&catid=39:2009-06-27-16-43-06&Itemid=50

ภก วิรัตน์ ทองรอด, การใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต, 

1 ความคิดเห็น: