วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เปิดร้านยาอย่างไรจึงจะไม่ติดคุก? ตอน "โฆษณาแฝง" ของยาคุมยักษ์ใหญ่


เชื่อไหมว่าสำหรับร้านยา เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะละเมิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว เช่นเรารับเอาหนังสือส่งเสริมการขายเล่มเล็กๆมาจากบริษัทยา แล้วเราก้อโดนจับกุม เพราะมีสื่อที่เป็นหนังสือที่ไม่มีที่มา  แต่เนื้อหาข้างในตั้งใจมาขายยาเม็ดคุมกำเนิด อยากรู้มั้ยว่าทำไมเภสัชกรอาจต้องติดคุกเพราะโฆษณาแฝงที่ผิดกฎหมาย คำตอบอยู่ที่บทความนี้ครับ

ยาทุกตัวจะโฆษณาก้อได้ แต่ต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาเสียก่อน
และยาอันตรายดังเช่นยาคุมกำเนิดในรูป ตามกฎหมายแล้วก้อห้ามโฆษณาโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะยาคุมกำเนิดต้องใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละราย อาจจะมีผลข้างเคียงตั้งแต่ บวมน้ำ น้ำหนักตัวเพิ่ม จนไปถึงการสะสมไขมันทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ยิ่งไปกว่านั้นในคุณผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง หากไม่ได้รับการดูแลจากผู้ชำนาญ ก้อจะมีความเสี่ยงต่อเนื้องอกหรือเกิดมะเร็งขึ้นมาได้
"โฆษณาแฝง" ประสงค์จะขายยา แต่ไม่ประสงค์จะบอกว่าใครทำ
ที่ผ่านมายากลุ่มนี้จะมีแผนการตลาด “ทางอ้อม” หรือที่เรียกว่าโฆษณาแฝง โดยไม่พยายามผ่านการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่  โฆษณาดังกล่าวจะมาในหลายรูปแบบ เช่น ใบปลิวแผ่นพับ sticker spot วิทยุ advertorail ในนิตยสาร โดยจะแทรกเข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อหาของรายการ โดยความตั้งใจของผู้ผลิตและเจ้าของสินค้า โดยมีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อหวังผลทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภค “คุ้นชิน” และไปเรียกหาซื้อยาคุมชนิดนั้นๆเอง จากช่องทางการจำหน่ายต่างๆ รวมทั้งร้านยาด้วย ทั้งๆที่กฎหมายกำหนดแล้วว่ากลุ่มยาอันตรายหรือยาคุมนั้น ต้องขายผ่านช่องทางร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรควบคุมเท่านั้น แต่หากเราลอง serch “ยาคุม” ใน google ก้อยังมีอีกหลายร้อย websites ที่ขายยาโดยละเมิดกฎหมายอยู่

"โฆษณาแฝง" นับเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งข้อมูลอย่างแนบเนียนของสินค้าไปสู่ผู้บริโภคผ่านสื่อในรูปแบบและวิธีการต่างๆ วิธีการหนึ่งที่นิยมมากคือการทำสื่อหรือตั้งเป็นชมรมดูแลสุขภาพเพศหญิง แล้วก้อมีเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณท์ของตนเอง แม้นไม่มีชื่อการค้าหรือผลิตภัณท์ แต่ฝ่ายออกแบบสื่อก้อจะ ทำให้สื่อของตนมี “รูปลักษณ์” ที่ผู้บริโภคจะสามารถตามไปนึกถึงยาคุมยี่ห้อนั้นๆได้ เช่น สี สัญลักษณ์ต่างๆ keyword หรือ จุดขายของยาคุมตัวนั้นๆ เพื่อให้ผู้บริโภค “คุ้นชิน” และไปเรียกหายาคุมแบบนั้นๆ ที่จำได้ จากร้านยา

ร้านยาควรทำอย่างไร จึงจะไม่ติดคุก
สำหรับเภสัชกรอย่างข้าพเจ้าที่ได้สัมผัสลูกค้าเหล่านี้ เราจะ “ล้างสมอง” เค้าก่อนเสมอว่า ยาคุม ไม่ใช่ ลูกอม ที่จะหยิบใส่ปากตามแรงโคดสะหนา เพราะการเลือกใช้ยาคุมมีหลายปัจจัยมากมาย (สามารถติดตามไปอ่านได้ในแหล่งข้อมูล ข้างล่างครับ)

มาถึงตอนนี้ก้อเพื่อมาบอกว่ามียาคุมยี่ห้อหนึ่ง จากบริษัทใหญ่ในโลก มีการทำโฆษณาแฝงดังมาในหลายรูปแบบ ทั้งป้ายไฟแปะตามถนนทั่ว กทม.  จัดงานเปิดตัวในโรงแรมดังกลางเมือง และในงานก้อมีการบอกวัตถุประสงค์ว่าจะมี magazine ให้ความรู้ ดูดีที่เดียว แต่ทราบไหมครับว่า จาก magazine เล่มใหญ่โต ตอนนี้ตัดตอนย่อยย่อมาเป็น สมุดเล่มเล็กที่นำมาลงเป็นรูปประกอบดังกล่าว  เป็นหนังสือ "โฆษณาแฝง" เต็มๆ และที่สำคัญ ไม่มีชื่อผู้พิมพ์ ผู้แจกจำหน่าย โดยเกิดจากความตั้งใจของผู้ผลิตและเจ้าของสินค้า  เพื่อหวังผลทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภค “คุ้นชิน” และไปเรียกหาซื้อยาคุมยี่ห้อนั้นเอง

ในฐานะเภสัชกรร้านยา บอกได้คำเดียวว่า “เสื่อม”



แหล่งข้อมูล
ปญหาการโฆษณา อาหาร ยา และผลิตภัณฑเพื่อสุขภาพ,
ชุติมา ไตรโกมุท,
รักษาการ ผูอํานวยการ กลุมงานรับเรื่องรองเรยี นและคุมครองผูบริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน,
http://www.fda.moph.go.th/news55/Fdameeting/2-1.pdf

รู้เท่าทันโฆษณาแฝง,
ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ , โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor),
โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitior),
แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), http://info.thaihealth.or.th/library/hot/12407


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น