วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เปิดร้านยาอย่างไรจึงจะไม่ติดคุก ? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ระยะนี้มีข่าวร้านยา เภสัชกร โดนจับกุมหลายเรื่อง หลายข้อหาเหลือเกิน ใครที่ไม่รุ้ก้อคิดว่าเปิดร้านยาเป็นงานสบายๆ ไม่ไปมีเรื่องอะไรกับใคร ในฐานะเภสัชกรร้านยาขอแนะนำแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมเขียนโดยผู้ชำนาญในข้อกฎหมายที่จะมาสรุปให้เราทราบว่า “เปิดร้านยาอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ค้าขายสบายใจ ไม่โดนปรับ ไม่ติดคุก”

ทำไมต้องมีกฎหมายยา ครอบคลุมหัวข้อสำคัญทั้งหมด โดย ภก.นฤป ถาวรทวีวงษ์
ยารักษาโรคยังนับเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่เป็นความ ต้องการพื้นฐานและความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกเหนือจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ความต้องการยารักษาโรคของมนุษย์มีการพัฒนา ค้นคว้า และวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อต้านและต่อสู้กับวิวัฒนาการของโรคร้ายที่เกิดขึ้นใหม่ๆ บนโลกใบนี้แทบทุกปี เมื่อยาและโรค มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการยกร่างและจัดทำกฎหมายออกมาควบคุมกำกับดูแลเพื่อให้ทันและสอดคล้องกับวิวัฒนาการ ดังกล่าว

ในประเทศไทยมีกฎหมายเรียกว่า พระราชบัญญัติยา บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 และในปีนี้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข กำลังเตรียมยกร่างพระราชบัญญัติ ยาฉบับใหม่ขึ้นมา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจทานในข้อกฎหมาย จากคณะกรรมการกฤษฎีกา

สาระสำคัญหลักๆ ของร่างกฎหมายดังกล่าวก็คือ การปรับปรุงคณะกรรมการ ยาแห่งชาติใหม่ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านยา เพื่อให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นในส่วนของคณะกรรมการยาแห่งชาติ ตามมาตรา 7 ของร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายเป็นประธานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานคนที่ 2 กรรมการอื่นๆ ประกอบด้วยภาคราชการต่างๆ

ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังมีการกำหนดมาตรการทางการปกครอง โดยเฉพาะการกำหนดบทลงโทษตามมาตรา 99/24 ที่กำหนดว่า ผู้ใดผลิต หรือ นำเข้ายาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82(1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 3 แสนบาทถึง 5 ล้านบาท

ผู้ใดผลิตหรือนำเข้ายาปลอมที่เป็นอาหารสัตว์ผสมยา อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 82(1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1 แสนบาทถึง 5 แสนบาท การผลิตหรือนำเข้ายาปลอมที่มีลักษณะตามมาตรา 83(2) (3) (3/1) (3/2) หรือ (4) อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82(1) ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า สามารถพิสูจน์ได้ว่ายานั้น ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ยา หรือกรณีที่เป็นยาสำหรับสัตว์ ผู้ผลิตหรือนำเข้าสามารถ พิสูจน์ได้ว่า ยานั้นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่มนุษย์และสัตว์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 5 แสนบาท......และในมาตรา 99/25 ก็เช่นเดียวกันกำหนดว่า..ผู้ใดขายยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 82(1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 1 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท ผู้ใดขายยาปลอมที่เป็นอาหารสัตว์ผสมยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82(1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 1 แสนบาทถึง 3 แสนบาท

การขายยาปลอมที่มีลักษณะตามมาตรา 83(2) (3) (3/1) (3/2) หรือ (4) อันเป็น การฝ่าฝืนมาตรา 82(1) ถ้าผู้ขายสามารถพิสูจน์ได้ว่า ยานั้นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่ ผู้ใช้ยา หรือกรณีที่เป็นยาสำหรับสัตว์ ผู้ขายสามารถพิสูจน์ได้ว่า ยานั้นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่มนุษย์และสัตว์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท...

มากมายเกินไปกว่าจะเข้าใจได้ใช่ไหมครับ ภก.นฤป ถาวรทวีวงษ์ เภสัชกรมังกรซ่อนตัวอยุ่ในหุบเขาซอยอโศก ได้นำมาสรุปเป็นแต่ละหัวข้อตามแนวทางปฎิบัติที่ร้านยาพึงสังวรไว้ ขอความกรุณาตามไปดูได้ที่

ทุกท่านสามารถไปค้นดู กฎหมายแต่ละฉบับได้ที่นี่

กฎหมายยาและแนวทางปฎิบัติตามกฎหมาย โดย"สำนักยา”
สำหรับเภสัชกรมือใหม่ ไม่แน่ใจเรื่องอะไร โดยเฉพาะแนวทางปฎิบัติต่างๆ สามารถไปดูรายละเอียด การทำงาน แบบฟอร์ม ขบวนการทำงาน รวมถึงข้อมูล

1. พระราชบัญญัติยา (พรบ.ยา)
         - ข้อมูลพระราชบัญญัติยาจาก web อย.
         - Down load พระราชบัญญัติยา จาก กฤษฎีกา

   2. กฎกระทรวง

   3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

   4. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   5. ประกาศสำนักยา

   6. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข
         - คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แก้ไขทะเบียนตำรับยา
         - คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา
   7. คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   8. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข

   9. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   10. ระเบียบสำนักยา

   11. ระเบียบคณะกรรมการยา

ขอความกรุณาตามไปดูได้ที่

สรุปย่อประเด็นการเปิดร้านขายยา ตามร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ 
โดยภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
กฎหมายยาปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และร่างกฎหมายใหม่ คือ ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา และฉบับประชาชน
ที่กำลังๆ ว่าจะเข้ามาหลายทีแล้ว อยากรุ้มั้ยว่าหากกฏหมายใหม่มีผลบังคับ ร้านยาของเราต้องเตรียมตัวอย่างไร เรามีบทสรุปย่อประเด็นวิชาชีพด้านสุขภาพกับการเปิดร้านขายยา ตามร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ โดยเภสัชกรหนุ่มหล่อสุภาพ มีชาติสกุล ภก. ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ ขอความกรุณาตามไปดูได้ที่ http://rparun.blogspot.com/2011/09/draftdrugact02.html

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคกับร้านยา
โดยคุณ ปริญญา อัครจันทโชติ
ช่วงที่ผ่านมาได้มีกฎหมายออกใหม่ที่เกี่ยวข้องกับร้านขายยา แม้ว่าจะไม่เกี่ยวโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบ ทั้งในฐานะผู้ประกอบการร้านขายยา และในฐานะของประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคสินค้าอื่นๆ มีอยู่สองฉบับที่ เราต้องรุ้ ขอแนะนำให้ตามไปอ่านบทสรุปโดยคุณ ปริญญา อัครจันทโชติ จะมาสรุปเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๑ ถ้าเราไม่รุ้ เขียนฉลากยาไม่ถูกต้อง ไม่ดูแลการเก็บรักษายาให้ดี คนไข้บริโภคเข้าไปแล้วเกิดอันตราย ความย่อยยับจะมาเคาะประตูธุรกิจท่านทันที ขอความกรุณาตามไปดูได้ที่


รูปประกอบจาก
http://news.hatyaiok.com/?p=150569 และ http://www.thairath.co.th/content/region/266779

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น